สื่อโฆษณาดวงรุ่งต้องเกาะติดไลฟ์สไตล์

บทสรุปของงบโฆษณาของสื่อต่างๆ ในเดือนแรกของปี 2008 ที่เก็บรวบรวมโดยบริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด อาจจะไม่สามารถสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่แท้จริงของปีนี้ได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเป็นช่วงเดือนที่คนไทยทั้งประเทศอยู่ในช่วงถวายความไว้อาลัยต่อการเสด็จสู่สวรรคาลัยของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ

แต่จากตัวเลขของเดือนมกราคมปีนี้ กลับสะท้อนทิศทางของสื่อโฆษณาที่มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างชัดเจน เพราะไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร ก็ยังมีแนวโน้มเติบโตให้เห็น โดยสื่อที่เติบโตล้วนเป็นสื่อที่สะท้อนถึงการใช้ชีวิตของกลุ่มผู้บริโภคนั่นเอง ที่เห็นชัดคือสื่อโฆษณานอกบ้านในรูปแบบต่างๆ กับสื่อที่มีการปรับตัวเพื่อนำเสนอโฆษณาในรูปแบบใหม่ๆ

กลุ่มสื่อที่มีการใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม 2008* (ในวงเล็บเดือนมกราคม 2007)
สื่อวิทยุ มูลค่า 439 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.14% (388 ล้านบาท)
สื่อโรงหนัง มูลค่า 352 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.46% (313 ล้านบาท)
สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 74 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.85% (65 ล้านบาท)
สื่ออินสโตร์ มูลค่า 36 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.88% (34 ล้านบาท)
*งบโฆษณาที่ใช้รวม 6,067 ล้านบาท เทียบกับเดือนมกราคม 2007 จำนวน 6,523 ล้านบาท ลดลง 6.99%

สำหรับสื่อเคลื่อนที่ ส่วนนี้ที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้น ต้องบอกว่าเป็นผลมาจากการลงทุนของบริษัท เฮลโล่บางกอก ที่ลงทุนรถบรรทุกสำหรับสื่อเคลื่อนที่ครั้งเดียว 600 คัน ซึ่งผลการเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งจึงมาจากการลงทุนครั้งนี้โดยตรง ขณะที่สื่อวิทยุเติบโตได้เพราะมีรูปแบบการทำตลาดที่แตกต่างไปจากเดิม เช่นการซื้อเหมาทั้งคลื่น เมื่อคำนวณเป็นตัวเลขโฆษณาต่อสัดส่วนรายการจึงมีตัวเลขสูงขึ้นอย่างที่เห็น

กลุ่มสื่อที่มีการใช้งบโฆษณาลดลงในเดือนมกราคม 2008 (ในวงเล็บเดือนมกราคม 2007)
สื่อทีวี มูลค่า 3,470 ล้านบาท ลดลง 10.13% (3,861 ล้านบาท)
สื่อหนังสือพิมพ์ มูลค่า 1,043 ล้านบาท ลดลง 2.34% (1,068 ล้านบาท)
สื่อนิตยสาร มูลค่า 286 ล้านบาท ลดลง 31.74% (419 ล้านบาท)
สื่อกลางแจ้ง มูลค่า 367 ล้านบาท ลดลง 1.87% (374 ล้านบาท)

สื่อทีวี หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ลดลงเนื่องจากสินค้าหลายตัวชะลอการเปิดตัวสินค้าในช่วงต้นปี หรือไม่ก็ลดดีกรีของการลง ขณะที่สื่อกลางแจ้งซึ่งเอเยนซี่ตีความเป็นให้เป็นสื่อนอกบ้านเช่นเดียวกับอินสโตร์ เริ่มมีการพัฒนารูปแบบแปลกใหม่มากขึ้นโดยเฉพาะในอินสโตร์ทำให้งบโฆษณาในส่วนของสื่อนี้กระจายไปยังสื่อนอกบ้านกลุ่มอื่นๆ

ยูนิลีเวอร์กลับมาเป็นแชมป์ใช้งบสูงสุด
10 อันดับบริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดเดือนมกราคม 2551 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2550 ได้แก่
1. ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 346 ล้านบาท ลดลงจาก 347 ล้านบาท
2. พีแอนด์จี ใช้งบ 152 ล้านบาท เพิ่มจาก 134 ล้านบาท
3. โอสถสภา ใช้งบ 133 ล้านบาท เพิ่มจาก 59 ล้านบาท
4. โตโยต้า ใช้งบ 118 ล้านบาท เพิ่มจาก 67 ล้านบาท
5. เอไอเอส ใช้งบ 90 ล้านบาท ลดลงจาก 102 ล้านบาท
6. ลอรีอัล ใช้งบ 83 ล้านบาท เพิ่มจาก 55 ล้านบาท
7. โคคาโคลา ใช้งบ 81 ล้านบาท ลดลงจาก 89 ล้านบาท
8. อสมท. ใช้งบ 80 ล้านบาท เพิ่มจาก 23 ล้านบาท
9. ไบเออร์สดร๊อฟ ใช้งบ 72 ล้านบาท ลดลงจาก 90 ล้านบาท
10. โทเทิ่ลแอคเซส ใช้งบ 65 ล้านบาท ลดลงจาก 118 ล้านบาท

แบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุด 10 แบรนด์แรก ของเดือนมกราคมปี 2551 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2550 ได้แก่
1. พอนด์ส ใช้งบ 99 ล้านบาท เพิ่มจากเดิม 49 ล้านบาท
2. เครื่องดื่มชูกำลังตระกูลเอ็ม ใช้งบ 71 ล้านบาท เพิ่มจากเดิม 20 ล้านบาท
3. โค้ก ใช้งบ 55 ล้านบาท ลดจากเดิม 88 ล้านบาท
4. ไทยประกันชีวิต ใช้งบ 46 ล้านบาท ลดจากเดิม 73 ล้านบาท
5. ออยออฟโอเลย์ ใช้งบ 44 ล้านบาท ลดจากเดิม 54 ล้านบาท
6. โตโยต้าปิกอัพ ใช้งบ 42 ล้านบาท เพิ่มจากเดิม 22 ล้านบาท
7. มิสทิน ใช้งบ 41 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ไม่ได้ใช้
8. คลีนิค แอนตี้แดนดรั๊ฟฟ์ ใช้งบ 35 ล้านบาท เพิ่มจากเดิม 21 ล้านบาท
9. โตโยต้าพาสเซนเจอร์คาร์ ใช้งบ 33 ล้านบาท เพิ่มจากเดิม 17 ล้านบาท
10. เคทีซี เครดิตการ์ด ใช้งบ 32 ล้านบาท เพิ่มจากเดิม 3 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้เอซีนีลเส็นจะยังไม่มีการเก็บตัวเลขของสื่อโฆษณาออนไลน์ แต่ก็พบว่ามีเม็ดเงินในสื่อโฆษณาบนออนไลน์ในปี 2007 ที่ผ่านมา ประมาณ 1,500 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะมีอัตราเติบโตไม่ต่ำกว่า 25% (ที่มา : คาราท) โดยแบรนด์ที่เริ่มใช้งบในสื่อออนไลน์ส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในช่วงอายุ 12-24 ปี และมีพฤติกรรมบริโภคสื่อผ่าน 3 จอหลักๆ ในชีวิตได้แก่
-จอทีวี
-จอคอมพิวเตอร์
-จอโทรศัพท์มือถือ

3 จอที่กล่าวถึงนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์วัยรุ่นไทยในยุคนี้ไปแล้ว และ 2 ใน 3 จอ คือคอมพิวเตอร์ และมือถือ ก็ยังเป็นช่องทางที่สามารถใช้ในการเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ตได้สะดวกอีกด้วย คอมพิวเตอร์สำหรับเข้าอินเทอร์เน็ตเมื่ออยู่ในบ้าน ขณะที่มือถือให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลาแม้ในขณะเดินทาง

วัยรุ่นไทยใช้อินเทอร์เน็ตวันละเกือบ 7 ชั่วโมง
บริษัท ซินโนเวท จำกัด เคยสำรวจพฤติกรรมวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน หรือกลุ่มคนอายุ 18-24 ปี ในช่วงปี 2007 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,091 ราย พบว่า ใน 1 วัน คนกลุ่มนี้ใช้เวลา
6.7 ชั่วโมง ในการใช้อินเทอร์เน็ต
5.5 ชั่วโมง ในการดูทีวี
3.0 ชั่วโมง ในการอ่านหนังสือพิมพ์ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2.1 ชั่วโมง ในการฟังวิทยุ

คนไทยใช้ MSN วันละ 1 ล้านเพจวิว
จากการเก็บตัวเลขผู้ใช้งานของเว็บไซต์ msn.co.th ซึ่งเป็นเว็บท่าที่ผู้ใช้ชาวไทยนิยมมากที่สุดเว็บหนึ่งพบว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้ MSN จำนวน 9 ล้านราย จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งประเทศกว่า 13 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วน 66% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และมีสถิติการใช้งาน msn.co.th ดังนี้ (ที่มา : Microsoft Internet Survey, ธันวาคม 2007)
3 ล้านคนต่อเดือน
3.3 แสนรายต่อวัน
1 ล้านเพจวิวต่อวัน (หรือ 30 ล้านเพจวิวต่อเดือน)

ผู้หญิง บันเทิง ฟุตบอล 3 แคทิกอรี่ท็อปฮิต
จากหน้าหลัก (Homepage) ที่มีคนเข้าชม 30 ล้านเพจวิวต่อเดือน หมวดที่ได้รับความความนิยมอันดับต้นๆ ได้แก่
Women 2.3 ล้านเพจวิวต่อเดือน
Entertainment 1.8 ล้านเพจวิวต่อเดือน
Football 1.4 ล้านเพจวิวต่อเดือน
Games Zone 1.0 ล้านเพจวิวต่อเดือน
Mobile 880,000 เพจวิวต่อเดือน
News 760,000 เพจวิวต่อเดือน
Technology 330,000 เพจวิวต่อเดือน
Money 230,000 เพจวิวต่อเดือน

58% เป็นผู้ชาย
42% เป็นผู้หญิง

39% อายุระหว่าง 25-34 ปี
28% อายุ 35-65 ปีขึ้นไป

46% อยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้สูง
38% เป็นผู้มีรายได้ปานกลาง

กลุ่มผู้ใช้ Windows Live Mail
จำนวนผู้ใช้ชาวไทย 4.7 ล้านราย
สถิติการเข้าใช้ต่อวัน 5.2 แสนราย
จำนวนเพจวิวต่อวัน 9.13 ล้านเพจวิว

52% เป็นผู้ชาย
48% เป็นผู้หญิง

35% อายุระหว่าง 25-34 ปี
22% อายุ 35-65 ปีขึ้นไป

50.6% มีรายได้ระหว่าง 10,000-20,000 บาท ต่อเดือน
49.4% มีรายได้มากกว่า 20,000 บาท ต่อเดือน

43% จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
และมากกว่าครึ่งจบการศึกษาระดับมัธยมขึ้นไป

กลุ่มผู้ใช้ Windows Live Messenger
จำนวนผู้ใช้ชาวไทย 3.3 ล้านราย
สถิติการเข้าใช้ต่อวัน 8.74 แสนราย
จำนวนผู้ Log-Ins 2.647 ล้านครั้ง
สถิติการส่งข้อความ 62 ล้านข้อความ ต่อวัน (มากกว่าการส่ง SMS 25%)

52% เป็นผู้ชาย
48% เป็นผู้หญิง

5% อายุ 20% อายุ 13-17 ปี
35% อายุ 18-24 ปี
22% อายุ 25-34 ปี
15% อายุ 35-49 ปี
1% อายุ 50-64 ปี
2% อายุ 65+ ปี