“DA+PP” ลุยธุรกิจชุดยูนิฟอร์ม เมื่อตลาดแฟชั่นไม่สดใส

ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ค่อยสู้ดีนัก ทำให้ส่งผลกระทบต่อหลายๆ ธุรกิจ ซึ่งเสื้อผ้าแฟชั่นก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน ในปีที่ผ่านมาไม่มีการเติบโตเท่าที่ควร ทำให้แบรนด์ต่างๆ ต้องปรับตัวกันยกใหญ่ ทั้งการปรับกลยุทธ์เรื่องแบรนด์ และการลดราคา

แบรนด์ DA+PP (ดีเอพีพี) ที่เป็นแบรนด์ลูกภายใต้แบรนด์ DAPPER (แดพเพอร์) ก็ได้ทำการปรับตัวครั้งใหญ่เช่นกัน ในการขยายธุรกิจสู่ B2B กับการออกแบบชุดยูนิฟอร์มให้กับแบรนด์ต่างๆ ถือเป็นการขยับตัวครั้งใหญ่นับตั้งแต่ก่อตั้งแบรนด์มา 5 ปีเลยก็ว่าได้

01_da

ดีเอพีพีได้เริ่มธุรกิจนี้อย่างจริงจังตั้งแต่เมื่อกลางปี 2558 ได้เกิดเพราะด้วยปัจจัยทั้งบวกและลบปัจจัยลบก็คือตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นที่ไม่ค่อยมีการเติบโตเท่าไหร่นักเรียกว่านิ่งๆทรงๆไม่ได้หวือหวาแบรนด์ส่วนใหญ่ในตลาดอาจจะใช้วิธีการต่อสู้ด้วยการแตกแบรนด์เพิ่มหรือผลิตคอลเล็คชั่นสินค้าเพิ่มแต่ดีเอพีพีมองว่าไม่ได้อยากไฟท์ในจุดนี้เท่าไหร่ส่วนปัจจัยบวกก็คือแนวโน้มของตลาดยูนิฟอร์มที่องค์กรให้ความสำคัญสูงขึ้นเพราะแบรนด์ก็ต้องการให้ชุดยูนิฟอร์มเหมือนเสื้อผ้าแฟชั่น

ในตลาดที่รับทำชุดยูนิฟอร์มแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกันคือ 1.กลุ่มโรงงาน จะเป็นฝ่ายผลิตทำตามสไตล์ที่ต้องการได้ และได้ในราคาถูก 2.กลุ่มดีไซเนอร์ รับออกแบบอย่างเดียว แต่ทางลูกค้าต้องไปหาโรงงานผลิตเอง ทำให้เกิดช่องว่างที่ดีเอพีพีมองเห็นโอกาสที่การรุกตลาดด้วยการรวม 2 กลุ่มเข้าด้วยกัน ใช้จุดแข็งที่บริการแบบ One Stop Service ที่เริ่มต้นตั้งแต่ออกแบบ ติดต่อโรงงาน รวมไปถึงการจัดส่ง ซึ่งจะสามารถควบคุมต้นทุนได้ถูกกว่าการออกแบบโดยดีไซเนอร์ทั่วไปได้ราว 40%

ศิริทิพย์ ศรีไพศาล ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการผลิตภัณฑ์แบรนด์ DA+PP (ดีเอพีพี) กล่าวว่าต้องบอกว่าวงจรของแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นจะคล้ายๆ กัน เมื่อครบ 5-7 ปีจะเริ่มนิ่ง ทำให้ต้องหาสิ่งใหม่ๆ ทำต่อ แต่ตอนนี้จะออกแบรนด์ใหม่ก็ยาก จึงมองที่ขยายธุรกิจดีกว่า และตอนนี้เทรนด์ขององค์กรให้ความสำคัญกับชุดยูนิฟอร์มมากขึ้น เพราะเขามองว่าพนักงานเป็นคนที่ใกล้ชิดลูกค้ามากที่สุด จำเป็นต้องมีรูปลักษณ์ที่ดีที่สุด ชุดยูนิฟอร์มที่ใส่ต้องเป็นชุดที่เขาอยากใส่ ใส่แล้วรู้สึกภูมิใจ ชุดยูนิฟอร์มทำให้แบรนด์มีจุดร่วมเดียวกัน และก็มีเรื่องแฟชั่นเข้ามาประกอบด้วย ตอบโจทย์เรื่องรสนิยมของคนใส่

2_da

ตอนนี้ดีเอพีพีมีลูกค้าที่ใช้บริการแล้ว ได้แก่ เคเอฟซี, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ไลน์ วิลเลจ แบงค็อก และกาแฟดอยตุง โดยที่โจทย์หลักๆ ที่ลูกค้ามอบให้ก็คือต้องการให้พนักงานใส่นอกเวลาได้อย่างไม่เขินอายเป็นการทำให้ยูนิฟอร์มเหมือนใส่เสื้อผ้าแฟชั่น ซึ่งโปรเจ็คต์ของเคเอฟซี และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ทำการผลิตชุดไปกว่า 50,000 ชิ้น มูลค่า 20 ล้านบาท

3_da

แต่ในส่วนของไลน์ วิลเลจ แบงค็อกจะไม่ใช่ชุดยูนิฟอร์ม แต่จะเป็นในลักษณะของการการออกแบบพรีเมี่ยมต่างๆ เช่น เสื้อ กางเกง กระเป๋า หมวก โดยผู้บริหารไลน์ วิลเลจในประเทศไทยได้รับลิขสิทธิ์ในตัวคาแรคเตอร์จากทางเกาหลี เป็นอีกโมเดลหนึ่งที่นอกเหนือจากการออกแบบชุดยูนิฟอร์มที่ดีเอพีพีต้องการสร้างรายได้เพิ่มเช่นกัน

ปัญญาที่ลูกค้าพบกับชุดยูนิฟอร์มมากที่สุดก็คือความเชย เราได้รับโจทย์จากแบรนด์หนึ่งมาซึ่งเค้าได้รับเสื้อยูนิฟอร์มมาทุกปี แต่ไม่มีใครอยากใส่เลย ดีไซน์ไม่สวย ผ้าใส่แล้วร้อน เขาจึงให้เราช่วยออกแบบให้ใหม่ ทางเราก็ไม่ใช่แค่ออกแบบเพื่อความสวยงามอย่างเดียว แต่ต้องวิเคราะห์ไปถึงวิสัยทัศน์ขององค์กร โทนสีของโลโก้ของแบรนด์ ผ้าที่ต้องการเป็นอย่างไรด้วย

4_da

ในปีนี้จะมีลูกค้าเพิ่มอีก 5 โปรเจ็คต์ที่อยู่ในหลากหลายธุรกิจ แต่มองที่จะเข้าธุรกิจโรงแรมและสายการบินด้วย ในเบื้องต้นก็อาศัยการบอกต่อปากต่อปากของกลุ่มลูกค้า

สำหรับธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นที่เป็นธุรกิจหลักก็ยังคงทำตลาดอยู่ แต่เน้นทำกลยุทธ์ Co-brand ที่นำสินค้าที่ออกแบบร่วมกับดีไซเนอร์ชาวต่างประเทศอย่างนาฬิกาจากประเทศญี่ปุ่น เคสโทรศัพท์ไอโฟนจากประเทศอิตาลี และกระเป๋าจากประเทศฮ่องกง เพื่อสร้างความตื่นเต้น แปลกใหม่ให้กับแบรนด์ ในปีนี้ก็ได้ทำการต่อยอดกับดีไซเนอร์ไทยด้วยการเปิดโปรเจคต์ “DA+PP Snack Project”

ในปี 2558 ดีเอพีพีมีรายได้รวม 150 ล้านบาท เติบโต 7% ในปีนี้ตั้งเป้าสัดส่วนรายได้จากธุรกิจยูนิฟอร์มมีสัดส่วน 20% ของรายได้ และตั้งเป้าภาพรวมเติบโต 15%

5_da