กินเจสะพัด 4.4 หมื่นล้านบาท เพิ่ม 4.2% ใช้จ่ายเฉลี่ย 9,700 บาท/คน

หอการค้าไทย คาดกินเจปีนี้เงินสะพัดเฉียด 4.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี ระบุ คนไทยกินเจมากขึ้น เพราะอยากทำบุญ และเทรนด์รักษาสุขภาพมาแรง คาดใช้จ่าย 9,700 บาท/คน

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดเผยถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจปี 2559 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,206 ราย ระหว่าง วันที่ 19-27 ก.ย. 2559 พบว่า เทศกาลกินเจปีนี้จะมีเงินสะพัดประมาณ 43,981 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.2% เป็นอัตราขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2557 ที่ขยายตัว 2.1% ปี 2558 ขยายตัว 2.9%

คนกิจเจมากกว่าไม่กิน

ปีนี้คนนิยมกินเจมากขึ้น จะมีสัดส่วน 64.5% ไม่กินเจ 35.5% เนื่องจากกลุ่มที่ไม่กินอาหารเจจะหันมากินอาหารเจมากขึ้น ประกอบกับมีความตั้งใจที่จะทำบุญ และมีเทรนด์ในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยการลดบริโภคเนื้อสัตว์และกินผักมากขึ้นเข้ามา

 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่าเคยกินเจและกินต่อเนื่องทุกปี ส่วนผู้ที่ไม่เคยกินเจมีบางรายที่จะเริ่มหันมากินเจในปีนี้ โดยผู้ที่กินเจจะกินตลอดเทศกาลตั้งแต่วันที่ 1-9 ต.ค. 2559 และบางส่วนจะกินบางมื้อ เพราะหาซื้อยาก และอาหารเจมีราคาแพง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่าเคยกินเจและกินต่อเนื่องทุกปี ส่วนผู้ที่ไม่เคยกินเจมีบางรายที่จะเริ่มหันมากินเจในปีนี้ โดยผู้ที่กินเจจะกินตลอดเทศกาลตั้งแต่วันที่ 1-9 ต.ค. 2559 และบางส่วนจะกินบางมื้อ เพราะหาซื้อยาก และอาหารเจมีราคาแพง

ราคาสินค้าเจในปีนี้  คนส่วนใหญ่กังวลว่าสินค้าจะมีราคาสูงกว่าปีก่อน โดยมีค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนสูงสุด 10% เนื่องจากมีปริมาณการซื้อต่อครั้งเพิ่มขึ้น ประกอบกับผักและผลไม้ค่อนข้างสูง เพราะบางส่วนได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด

คาดใช้จ่าย 9,700 บาท/คน

ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ค่าใช้จ่ายที่ใช้ช่วงเทศกาลกินเจ เช่น ค่าอาหาร เงินสำหรับทำบุญ และค่าเดินทางไปทำบุญต่างจังหวัด เฉลี่ยคนละ 9,700 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ที่อยู่ที่คนละ 9,669 บาท
สำหรับการบริโภคอาหารเจมีทั้งซื้อมาทำกินเอง และซื้อที่ปรุงสำเร็จแล้ว โดยจะซื้อที่ตลาด ร้านค้าทั่วไป ซูเปอร์มาร์เกต ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ห้างสรรพสินค้า สื่อออนไลน์ที่มีการจัดส่ง และซื้อผ่านคอลเซ็นเตอร์

ส่วนใหญ่ไม่มีแผนเดินทางทำบุญ

นอกจากนี้ ผลสำรวจเกี่ยวกับการเดินทางไปทำบุญตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ส่วนใหญ่ 66.8% ไม่มีแผนการเดินทาง มีเพียง 33.2% ที่ระบุว่ามีแผนเดินทาง และจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน  พื้นที่ที่จะเดินทางไปมากสุด คือ ภาคกลาง ตะวันออก และตะวันตก เช่น ชลบุรี พระรครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี รองลงมา คือ ภาคใต้ เช่น ตรัง สงขลา พังงา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อุทัยธานี ชัยภูมิ เลย ภาคเหนือ เช่น นครสวรรค์ เชียงใหม่ เชียงราย และสุดท้าย คือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล