ทรูวิชั่นส์ ในวันที่ไร้ HBO เผยลูกค้าเลิก 500 ราย-มุ่งทำช่องเองลดความเสี่ยง

ต้องถือเป็นจุดเปลียน” ครั้งสำคัญของ ทรูวิชั่นส์ ภายหลังจากยุติการออกอากาศ 6 ช่องรายการของ HBO มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 หลังจากที่ออกอากาศมาถึง 25 ปีเต็ม

1_true1

พีรธน เกษมศรี อยุธยา ผู้ช่วยบริหารงานกรรมการผู้จัดการใหญ่และหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านคอนเทนต์และมีเดีย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บอกว่า ตั้งแต่ปรับเปลี่ยนช่องรายการใหม่ ด้วยการนำช่อง 7 ช่องรายการใหม่มาออกอากาศ คือ Fox Action Movies HD, Warner TV, Paramount Channel, Sony Channel, Food Network, Celestial Classic Chinese Movies และ True Film HD 2  มาแทน 6 ช่อง HBO ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นมาจนถึงวันที่ 12 มกราคม ผลปรากฏว่า มีลูกค้าที่ขอยกเลิก 500 ราย จากฐานลูกค้าแพ็กเกจ โกลด์ และแพลทตินัม 300,000 ราย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 0.166% เท่านั้น

2_true

3_true

มีลูกค้าที่โทรเข้ามาสอบถามผ่านคอลเซ็นเตอร์และผ่านทรูช็อป 5,000 รายซึ่งส่วนใหญ่สอบถามข้อมูลทั่วไปรวมทั้งมาตรการเยียวยามีส่วนน้อยที่แสดงความไม่พอใจ

word_icon

เวลานี้ ช่องรายการ Fox Action Movies HD เรตติ้งผู้ชมมากที่สุดเป็นอันดับที่แทน HBO HD ไปแล้ว สะท้อนว่าคนดูตอบรับช่องรายการใหม่ที่ทรูวิชั่นส์เอามานำเสนอ

word_icon2

พีรธนบอกว่าที่ผ่านมาช่อง HBO HD เป็นช่องยอดนิยม ที่มีเรตติ้งคนดูอยู่ในอันดับแรกๆ มาตลอด ในขณะที่อีก 5 ช่องที่เหลือ มีเรตติ้งต่ำมาก จึงต้องการซื้อลิขสิทธิ์เฉพาะช่อง HBO HD เพียงช่องเดียว แต่ HBO ต้องการขายยกแพ็กทำให้การเจรจาซึ่งมีการพูดคุยกันมาตั้งแต่กลางปีจึงไม่บรรลุผลสำเร็จ

นอกจากนี้ทรูวิชั่นส์เองมีช่องสัญญาณดาวเทียมใช้เต็มพิกัดจึงต้องเลือกรายการดีๆ มานำเสนอ ซึ่งแนวโน้มเวลานี้สตูดิโอผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหญ่มักจะทำช่องรายการของตัวเอง เพื่อนำเสนอในวินโดว์ต่างๆ ทรูวิชั่นส์เองต้องการปรับให้ทันกับกระแสเหล่านี้ จึงขอเจรจาซื้อ HBO HD เพียงช่องเดียว

เราเจรจากันมา 6 เดือนเต็ม ไม่คิดว่าจะไม่สำเร็จ เพราะไม่เคยคิดว่าจะเอาช่อง HBO ออก แต่เมื่อเจรจาไม่สำเร็จก็ต้องยุติออกอากาศ เพราะสัญญาหมดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 แต่ทรูยังเปิดโอกาสในการเจรจาตลอดเวลา ภายใต้เงื่อนไขว่า จะซื้อเพียงช่อง HBO HD ช่องเดียว

ทำช่องเองลดความเสี่ยง

ผลจากการที่ทรูวิชั่นส์ต้องประสบกับความเสี่ยงและไม่แน่นอนในการซื้อลิขสิทธิ์ทั้งจากกรณีของ HBO และฟุตบอลพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ ที่เคยหลุดมือไปอยู่กับซีทีเอช ดังนั้นทิศทางต่อไปของทรูวิชั่นส์จะหันมามุ่งเน้นการทำช่องรายการ ของตัวเอง โดยที่ทรูติดต่อซื้อเฉพาะรายการและนำมาจัดแพ็กเกจเอง เช่น ช่องทรูมูฟวี่ฮิตซึ่งมีเรตติ้งคนดูสูงมากเพราะมีความยืดหยุ่นกว่าทั้งในเรื่องเวลาและรายการที่นำเสนอได้ตรงกับรสนิยมของคนไทยได้ดีว่าซื้อยกทั้งช่อง

นอกจากนี้ ช่องรายการต่างประเทศ มักจะขอขึ้นค่าลิขสิทธิ์ทุกปี อย่างในปี 2559 ค่าลิขสิทธิ์ขึ้นมา 30% รวมแล้ว 5 ปี ที่ผ่านมา ทรูวิชั่นส์ต้องลงทุนค่าลิขสิทธิ์เพิ่ม 80% และที่สำคัญยังลดความเสี่ยงในการที่จะไม่ได้ลิขสิทธิ์มาไว้ในมือ