สวรรค์คนรักหนังสือ 22 หอสมุดที่ดังที่สุดในโลก

แห่งทั่วโลก ที่บางแห่งออกแบบอย่างวิจิตรตระการตา บางแห่งร่วมสมัยและสะท้อนช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลง ส่วนหอสมุดบางแห่งก็ยังเน้นหน้าที่ของการเป็นห้องสมุดอย่างแท้จริง ด้วยการเก็บรักษาหนังสือที่สำคัญ 

แม้เทคโนโลยีจะทำให้คนใช้เวลากับหน้าจอมากยิ่งขึ้น แต่หนังสือก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตต่อไป คนจำนวนไม่น้อยยังคงยืนยันที่จะ “อ่าน” จากหน้ากระดาษเท่านั้น 

ซึ่งสำหรับคนเหล่านี้ห้องสมุดยังคงเป็นสถานที่สำคัญ และห้องสมุด 22 แห่งทั่วโลกเหล่านี้ ก็น่าจะเป็นดินแดนที่คนรักการอ่านทุกคน ได้ลองไปเยือนดูสักครั้งในชีวิต

“หอสมุดสตราฮาฟ” ปราก ประเทศเช็กเกีย

Maciej Bledowski/Shutterstock.com

หอสมุดที่ว่ากันว่าสวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตั้งที่อยู่ปราก ณ ปราสาทคลีเมนเทียม ซึ่งห้องสมุดประกอบไปด้วย 2 ห้องโถงใหญ่ ทั้งในส่วนของหอสมุดศาสนศาสตร์ และปรัชญา เป็นอาคารที่สร้างอย่างสวยงามมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18  ซึ่งนอกจากหนังสือมากมายแล้ว สตราฮาฟ ยังมีทั้งเอกสารเก่าแก่, จิตรกรรมฝาผนังที่เลอค่า, ลูกโลกโบราณ และสถาบัตยกรรมมากมาย เรียกว่านอกจากหนังสือกับเอกสารต่างๆ ตัวห้องสมุดเองก็สะสมความรู้ และประวัติศาสตร์เอาไว้ไม่น้อย

“หอสมุดนครสตุ๊ตการ์ท” เยอรมัน

Flickr/jwltr freiburg

อาคารทรงลูกบาศก์ ที่ออกแบบโดยได้รับอิทธิพลจากวิหารแพนธีออนของโรมัน ส่วนด้านในก็ออกแบบด้วยแนวคิดเดียวกัน ทั้งห้องจึงเป็นสีขาวล้วนที่ดูสว่างเจิดจ้า จนสีอื่นที่แทรกเข้ามาก็คือสีของหนังสือในหอสมุดนั่นเอง

“ห้องทรงพระอักษรพระราชวงศ์โปรตุเกส” ริโอ เดอ จาเนโร บราซิล

Photo by Mario Tama/Getty Images

หอสมุดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยที่บราซิลยังอยู่ใต้การปกครองของโปรตุเกส มีหนังสือเก่าแก่เก็บเอาไว้ถึง 350,000 เล่ม นับว่าเป็นหอสมุดที่เก็บหนังสือภาษาโปรตุเกสมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยการออกแบบสไตล์ “นีโอ-มานูเอลไลน์” ที่ว่ากันว่าเป็นต้นแบบของศิลปะ และสถาปัตยกรรมสไตล์ “โกธิค-เรเนซองส์” ที่เกิดขึ้นในช่วงรุ่งเรืองของโปรตุเกสนั่นเอง สำหรับหนังสือในหอสมุดส่วนใหญ่เป็นหนังสือเก่าแก่ และหายาก หลายเล่มจัดทำขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16

“ห้องสมุด จอร์จ พี บอดี” บัลติมอร์ แมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา

Via Wikimedia Commons

มหาเศรษฐี “จอร์จ พี บอดี” ได้ชื่อว่าเป็น “บิดา” แห่งการทำงานการกุศลของสังคมอเมริกาในยุค 1800s ซึ่งก็รวมถึงการสร้างหอสมุดใหญ่ให้กับชาวบัลติมอร์เพื่อเป็นการตอบแทน “น้ำจิตน้ำใจ” ที่ พี บอดี รู้สึกว่าเขาได้รับจากคนที่นี่ด้วย หอสมุดใหญ่แห่งนี้ออกแบบโดยเน้นโถงใหญ่ ที่มีเพดาลสูง หนังสือบรรจุอยู่ในชั้นบนระเบียงเหล็ก 5 ชั้น ดูสวยงามยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางวันที่หอสมุดสว่างไปด้วยแสงแดดจากธรรมชาติ

“หอสมุดประชาชน นิวยอร์ก” นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

cla78/iStock

บรรจุหนังสือ และเอกสารถึง 53 ล้านเล่ม นี่คือหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ตัวอาคารสไตล์สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ของหอสมุดแห่งนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างด้วยหินอ่อนที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาด้วย หอสมุดประชาชนแห่งมหานครนิวยอร์ก มีความใหญ่โตขนาดเมืองย่อมๆ ด้วยความกว้าง 297 x 87 ฟุต ที่กินพื้นที่ประมาณ 2 บล็อกเลยทีเดียว และมีโต๊ะไม้โอ๊กยาวเหยียดถึง 42 ตัวไว้รับรองผู้ใช้บริการ

“หอสมุดพระราชวงศ์แห่งโคเปนเฮเกน” เดนมาร์ก

gameover2012/iStock

หอสมุดใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อปี 1999 ที่ผ่านมา และมีฉายาว่า “เพชรสีดำ” จากการใช้หินแกรนิตสีดำเป็นส่วนประกอบหลัก กับการออกแบบให้มีเหลี่ยมมุมแบบเพชร อาคารออกแบบเป็นโถงขนาดใหญ่ เน้นกระจกเป็นส่วนประกอบสำคัญ จนกลายเป็นการจัดแสงที่สวยงาม ทำให้สภาพแวดล้อมของหอสมุดแห่งนี้ดูน่าชมเป็นอย่างยิ่ง

“หอสมุดประชาชนบอสตัน” แมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

Julien Hautcoeur/Shutterstock

หอสมุดใหญ่ที่มีหนังสือ และเอกสารถึง 23 ล้านเล่ม จนกลายเป็นหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา สำหรับการออกแบบนั้น หอสมุดประชาชนบอสตัน โดดเด่นที่ลานกว้าง ที่ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอิตาลี ทางเข้าเป็นโถงขนาดใหญ่ และมีห้องอ่านหนังสือที่ชื่อว่า “เบตส์ ฮอลล์” เอาไว้รองรับผู้ใช้บริการด้วย โดย โจชัว เบตส์ คือคนที่บริจาคเงินก้อนใหญ่เพื่อสร้างหอสมุดแห่งนี้ แบบแทบไม่มีข้อเรียกร้องข้อกำหนดอะไรเลย จนทำให้เกิดหอสมุดสำหรับประชาชนอย่างแท้จริง ที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้งานได้แบบไม่ต้องเสียเงินอะไรเลย

“หอสมุดประชาชน แคนซัส ซิตี้” มิสซูรี สหรัฐอเมริกา

Kashif Pathan/Flickr

ที่แคนซัส หอสมุดประชาชนของที่นี่เลือกที่จะเน้นความคลาสสิก และยังเชื่อมโยงกับชุมชน ด้วยการนำเสนอหนังสือแนะนำจากคนแคนซัส ที่มีทั้ง นิยายไซไฟ “Fahrenheit 451” ของ เรย์ แบรบิวรีย์ และ “To Kill a Mockingbird” วรรณกรรมประจำชาติผลงานของ ฮาร์เปอร์ ลี

“หอสมุด ดังแคน ไรซ์” อเบอร์ดีน สหราชอาณาจักร

douglasmack/Shutterstock

หอสมุดแห่งใหม่ของมหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน เป็นหอสมุดที่ต้องการเน้นความเป็นศตวรรษที่ 21 อย่างเต็มตัว จึงเน้นโถงกลางขนาดใหญ่ และมีการออกแบบดีไซน์ที่เน้นความทันสมัยมากมาย รวมถึงการใช้เพดานโฟโตวอลเทอิก เพื่อเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังสำหรับเก็บสะสมเอาไว้ด้วย

“หอสมุดโฮเซ วาสคอนเซลอส” เม็กซิโกซิตี้

Fickr/LWYang

งานออกแบบของ อัลเบอร์โต กาลัค ให้ความสำเร็จกับโครงสร้างกระจก หนังสือราวกับลอยอยู่บนอากาศ และมีกระดูกของวาฬลอยเด่นเป็นสง่าอยู่ โดย วาสคอนเซลอส เป็นนักกิจกรรมชาวเม็กซิโก ที่ต่อสู้เพื่อความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมของประเทศ และสนับสนุนวัฒนธรรมการอ่านหนังสือในเม็กซิโกมาตลอด

“หอสมุดลี่หยาง” ปักกิ่ง จีนแผ่นดินใหญ่

Flickr/Forgemind ArchiMedia

หอสมุดเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านชานเมืองกรุงปักกิ่ง หอสมุดลี่หยางมีเพียงชั้นเดียว แต่ไม่เหมือนใครด้วยการแทรกตัวอยู่ในป่า ตัวอาคารสร้างจากไม้ และใช้แสงสว่างจากแดดที่ลอดซี่ไม้บนหลังคา ที่ก่อเอาไว้แบบไม่ได้แนบสนิท จนกลายเป็นความสวยงามตามธรรมชาติ พร้อมอากาศที่เย็นสบาย จากความชื้นของทะเลสาบที่อยู่ใกล้เคียง จนทำให้หอสมุดแห่งนี้โด่งดังไปทั่วโลก แม้ความหรูหรายิ่งใหญ่จะสู้ใครไม่ได้ แต่หอสมุดลี่หยางก็เป็นที่สำหรับอ่านหนังสือที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้ที่ใด

“หอสมุด และศูนย์วัฒนธรรมเวนเนสลา” เวนเนสลา นอร์เวย์

Getty Images/View Pictures

หอสมุด และศูนย์วัฒนธรรมเวนเนสลา โดดเด่นด้วยการออกแบบที่สร้างให้มี “ซี่โครง” เพื่อพยุงหลังคา โดยเลียนแบบมาจากโครงกระดูกของวาฬ … “ในโครงการนี้ เราพยายามพัฒนาแนวคิดของซี่โครง เพื่อสร้างสรรค์โรงสร้างใช้สอย ที่ผสมงานไม้ กับอุปกรณ์ต่างๆ และการออกแบบภายใน”  Helen & Hard ผู้ออกแบบกล่าว

“หอสมุดประชาชนวอร์เรนซ์” เคนซัส สหรัฐอเมริกา

Tim Griffith

หอสมุดประชาชนวอร์เรนซ์เคยเป็นที่จดจำจากตึกคอนกรีตขนาดใหญ่ แต่ในปี 2014 ได้มีการปรับปรุงให้อาคารมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ตอนนี้หอสมุดประชาชนวอร์เรนซ์ กลายเป็นเหมือนศูนย์รวมของชุมชนไปแล้ว ด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สามารถแบ่งให้ประชาชนเข้ามาทำกิจกรรมต่างๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านใน หรือด้านนอกตัวอาคาร

“หอสมุดหนังสือหายากเบเนค” นิว ฮาเวน คอนเนคติคัต สหรัฐอเมริกา

Flickr/Lauren Manning

หอสมุดที่รวบรวมหนังสือหายาก และเป็นเหมือนหอจดหมายเหตุของหอสมุดประจำมหาวิทยาลัยเยล อาคารขนาดใหญ่แห่งนี้อุทิศพื้นที่ทั้งหมดให้กับการเก็บรักษาหนังสือหายาก และเอกสารสำคัญที่เก่าแก่ ตัวของอาคารก็เน้นความคลาสสิก ปลูกสร้างด้วยแกรนนิต, หินอ่อน และกระจก ที่ผู้ออกแบบคำนวณมาเป็นอย่างดี เพื่อให้แสงผ่านเข้ามาได้ในปริมาณที่พอเหมาะ และจะไม่ทำลายเอกสารต่างๆ ที่เก็บรักษาเอาไว้

“หอสมุดบริติช” ลอนดอน สหราชอาณาจักร

kenny1/Shutterstock

หอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยหนังสือ และเอกสารต่างๆ ถึง 170 ล้านเล่ม เรียกว่ามีหนังสือทุกเล่มที่เคยออกในสหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ก็ว่าได้ แม้หอสมุดบริติชจะไม่ได้มีตัวอาคารที่โดดเด่น และน่าสนใจ แต่สิ่งที่หอสมุดเก็บรักษาเอาไว้ต่างหาก คือหัวใจสำคัญของที่นี่

“หอสมุดคองเกรซ” วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา

Library of Congress

แรกเริ่มเดิมทีหอสมุดแห่งนี้คือที่เก็บหนังสือส่วนตัวของอดีตประธานาธิบดี โทมัส เจฟเฟอร์สัน แต่หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงให้กลายเป็นหอสมุดแห่งชาติของสหรัฐฯ ด้วยอาคารก่อสร้างในแบบอิตาเลียนเรเนซองส์คลาสสิก เช่นเดียวกับสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ในวอชิงตัน ดีซี หอสมุดคองเกรซ ได้ชื่อว่าเป็นหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก หนังสือนับล้านๆ เล่ม, แผ่นที่, สื่อบันทึกเสียง, ภาพถ่าย และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์มากมายถูกเก็บรักษาอยู่ที่นี่

“หอสมุดเอ็ดมอนต์” ออสเตรีย

Getty Images/Imagno

ตั้งอยู่ในเขตตีเขาของเถือกเขาเอลป์ส หอสมุดเอ็ดมอนต์ เป็นหอสมุดในวัดที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ตัวอาคารสร้างในแบบบาโรค โดย โจเซฟ ฮูแบร์ เป็นผู้ออกแบบ ส่วนที่สวยงามและน่าสนใจไม่แพ้กันก็คือภาพฝาผนังของศิลปิน บาร์โทโลมีโอ อัลโตมอนเต ที่แสดงถึงระดับขั้นการเรียนรู้ของมนุษยชาติจนไปถึงชั้นสัจธรรมสูงสุดแห่งชีวิต

“หอสมุดอเล็กซานเดรีย” อเล็กซานเดรีย อียิปต์

GEFHunter/iStock

หอสมุดอเล็กซานเดรียของดั้งเดิม ตั้งขึ้นตั้งแต่ 300 ปี ก่อนคริสต์ศักราช และได้ชื่อว่าเป็นหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในตอนนั้น และเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่สุดท้ายกลับถูกทำลายลงในปี ค.ศ. 300 กระทั่งเมื่อปี 2002 จึงมีการสร้างหอสมุดอเล็กซานเดรีย เพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์แห่งหอสมุด และการเรียนรู้ของมนุษยชาติ โดยออกแบบในแนวทางของสถาปัติยกรรมแบบ “สเนอเฮตตา” ตัวอาคารสร้างโดยเลียนแบบนาฬิกาแดด และกระโจม

“หอสมุดกลางซีแอตเทิล” วอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

Photo by Ron Wurzer/Getty Images

เปิดเมื่อ 13 ปีก่อนนี่เอง อาคารกระจก 11 ชั้นสร้างด้วยเหล็กตั้งอยู่ในย่านเมืองของซีแอตเทิล และเป็นการนำหอสมุดดั้งเดิมมาปรับปรุงใหม่ หอสมุดกลางซีแอตเทิลยังเดินไปข้างหน้าด้วยการเน้นนำเสนอสื่ออื่นๆ ออกจากหนังสือ อย่างที่ เรม คูลฮาสส์ ผู้ออกแบบกล่าวเอาไว้ว่าเขาต้องการพัฒนาประโยชน์ใช้สอยให้กับหอสมุด”

“หอสมุดคานาซาวะ ยูมิมิราอิ” เมืองคานาซาวะ ประเทศญี่ปุ่น

Flickr/Forgemind ArchiMedia

ตึกขนาด 3 ชั้นที่มีชื่อเล่นว่า “กล่องขนมเค้ก” ตั้งอยู่ในอาคารขนาดใหญ่ที่เจาะเป็นรูสีขาว เพื่อให้แสงส่องเข้ามาในพื้นที่ ตัวอาคารสร้างเพื่อเน้นความเงียบสงบ โดยมี “ป่าหนังสือ” ล้อมอยู่รายรอบ … “นี่คือสภาพแวดล้อมที่จะทำให้ผู้ใช้ได้ดื่มด่ำกับการอ่านหนังสือ โดยมีหนังสือมากมายที่เหมือนทรัพย์สมบัติห้อมล้อมอยู่ เป็นสิ่งที่ความสะดวกสบาย และหนังสือดิจิตอลไม่มีทางให้ได้อย่างแน่นอน” ผู้ออกแบบกล่าว

“หอสมุดวิทยาลัยทรินิตี้” ดับลิน ไอร์แลนด์

VanderWolf Images/Shutterstock

หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ในไอร์แลนด์ ที่มีหนังสือมากที่สุดในประเทศ ส่วนหอสมุดก็โดดเด่นด้วยห้องใหญ่ที่มีความยาวถึง 200 ฟุต จนกลายเป็นหอสมุดแบบ “ห้องเดียว” ที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาคารสร้างด้วยหินอ่อน กับเสาอิงไม้ บรรจุหนังสือถึง 200,000 เล่ม ที่มากจนเคยต้องมีการต่อเติมหลังคากันมาแล้ว

“หอสมุดแซงต์ เจนีเว่” ปารีส ฝรั่งเศส

Wikipedia

หอสมุดสำหรับค้นข้อมูลเพื่อการวิจัย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยปารีส แห่งฝรั่งเศส หอสมุดแซงต์ เจนีเว่ สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 19  และออกแบบโดยสถาปนิกชื่อก้อง อองรี ลาบรูสต์ ที่มีเอกลักษณ์สำคัญคือชั้นเหล็ก จน MoMA (พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่) เรียกหอสมุดแห่งนี้ว่าเป็น “วิหารแห่งความรู้ และพื้นที่แห่งฌาน” กันเลยทีเดียว

ที่มา : http://www.thisisinsider.com/best-libraries-in-the-world-2016-10?utm_content=buffer25ad6&utm_medium=social&utm_source=facebook.com&utm_campaign=buffer#royal-portuguese-reading-room-in-rio-de-janeiro-brazil-3