ผ่อนบ้านหมดไว รีไฟแนนซ์อย่างไรคุ้มค่าที่สุด

สำหรับคนที่เริ่มต้นผ่อนบ้าน ช่วง 1-3 ปีแรก จะเป็นช่วงที่เรียกว่า “โปรโมชั่นดอกเบี้ย” ที่หลายธนาคารจะกำหนดดอกเบี้ยในช่วงนี้ไว้ต่ำ ทำให้เราผ่อนเงินต้นได้มาก แต่พอหมดโปรฯ เข้าสู่ช่วงอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเท่านั้นแหละ เราจะเห็นบิลค่างวดของเรามีเงินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าเงินต้นเสียด้วยซ้ำ ทำให้คนผ่อนบ้านต้องการรีไฟแนนซ์กับแหล่งเงินกู้ใหม่ๆ ที่มีดอกเบี้ยที่จูงใจมากกว่าเดิม แต่เราจะรีไฟแนนซ์บ้านอย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุดมาดูกันดีกว่า

ศึกษาค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์

การรีไฟแนนซ์บ้านเราจะต้องรู้ค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้งหมดเสียก่อน ควรคำนวณตัวเลขในอนาคตล่วงหน้าก่อนรีไฟแนนซ์ทุกครั้ง ยิ่งทำละเอียดมากเท่าไรก็ยิ่งดีต่อเรามากเท่านั้น แต่สิ่งที่เรามองข้ามไม่ได้เลย ก็คือ การศึกษาค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านดังต่อไปนี้

  1. กรณีที่เรารีไฟแนนซ์บ้าน กับธนาคารเดิมโดยยังไม่ครบกำหนด 3 ปี จะมีค่าปรับราวๆ 0-3% ของวงเงินกู้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร ดังนั้นเราไม่ควรรีบรีไฟแนนซ์ก่อนครบ 3 ปี จะช่วยลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ลงไปได้มากทีเดียว อย่าลืมว่า 3% ของเงินหลักล้านนั้นมันไม่ใช่น้อยๆ เลยนะ
  2. ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เกิน 7-8% ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจกับ MLR- หรือตัวลบ ที่ต่อท้ายอัตราดอกเบี้ยให้ดี ยิ่งลบมากยิ่งดี
  3. ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาสินทรัพย์ใหม่ของแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากัน โดยปกติแล้วจะอยู่ราวๆ 0.25-2% ของราคาสินทรัพย์ที่นำมาประเมิน แต่ในกรณีที่เราสามารถรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อาจไม่มี ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทาง
  4. ค่าธรรมเนียมในการปล่อยกู้ใหม่ ธนาคารส่วนใหญ่จะคิดประมาณ 0-3% ของวงเงินกู้ และเช่นเดียวกันหากเรา
    รีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจไม่นำมาคิด
  5. ค่าอากรแสตมป์ คิดเท่ากันทุกธนาคารที่ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่
  6. ค่าจดจำนองที่ดิน คิดเป็น 1% ของวงเงินที่ขอกู้เท่ากันทุกธนาคาร โดยค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะจ่ายให้กับกรมที่ดิน แต่ไม่ต้องจ่ายหากเรารีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม เนื่องจากไม่ต้องไปจดจำนองใหม่นั่นเอง
  7. ค่าทำประกัน หรือค่าบริการอื่นๆ แล้วแต่นโยบายของแต่ละธนาคาร ส่วนใหญ่จะเป็นค่าประกันอัคคีภัย

สรุปง่ายๆ ว่า ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านใหม่ทั้งหมดจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ราวๆ 2-3% ของวงเงินกู้ โดยค่าเฉลี่ยนี้อาจสูงได้ถึง 4.3% ของวงเงินรีไฟแนนซ์ ในบางกรณีเราสามารถประหยัดค่าธรรมเนียมในการจดจำนองใหม่ (1%) ได้ถ้าเราเลือกที่จะรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม ค่าใช้จ่ายบางข้อเป็นค่าคงที่สำหรับทุกธนาคาร และบางข้อคิดเป็นมูลค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับวงเงินกู้ เราไม่ควรเอามาใช้เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจรีไฟแนนซ์

สำหรับผู้ที่สนใจจะรีไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อสำหรับที่อยู่อาศัย สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมตามลิงค์ด้านล่าง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2sEtQkS
LINE : http://bit.ly/ธนาคารออมสิน
Inbox : m.me/GSBSociety
Website : www.gsb.or.th
โทร. 1115