ตำราพ้นวิกฤตอสังหาฯ ฉบับ LP

ช่วงปี 2540 เมื่อเศรษฐกิจเป็นฟองสบู่แตก มีบริษัทบาดเจ็บ ล้มหายตายจากกันไปหลายราย บางรายยังคงนั่งใช้หนี้กันจนถึงทุกวันนี้ แต่ “แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์” กลับเป็นหนึ่งในบริษัทที่สามารถพยุงตัวเองให้ปลอดภัยอยู่ได้จนปีนี้บริษัทย่างเข้าปีที่ 20 นับตั้งแต่การมีการก่อตั้งบริษัทขึ้นมา ทั้งๆ ที่เคยบาดเจ็บจากการเป็นหนี้กว่า 3,000 ล้านบาท ในขณะที่บริษัทมีรายได้ต่อปีเพียง 1,000 ล้านบาท

โอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. เปิดเผยว่า แม้ทุกวันนี้ แอล.พี.เอ็น.จะถูกผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับเลวร้ายเท่ากับปี 40 ทั้งยอดลูกค้าที่เข้าชมโครงการ ยอดการจอง ยอดการโอน แม้จะลด แต่ไม่ได้กระทบต้นทุนของบริษัทมากนัก ในช่วง 10 ปีมานี้ เขาเชื่อว่า แอล.พี.เอ็น.เติบโตและแข็งแรงขึ้นมาก บริษัทไม่เคยสร้างโครงการไม่เสร็จ สามารถส่งมอบห้องให้กับลูกค้าได้ถึงมือทันเวลาสม่ำเสมอ

“คนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างพวกเรา จะต้องรู้จักทำ Risk Management กันทั้งนั้น เพราะสิ่งนี้สำคัญมาก ยิ่งอุตสาหกรรมอสังหาฯ ด้วยแล้วผมว่าทุกคนต้องทำ” โอภาสอธิบายกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ทำให้แอล.พี.เอ็น.ยังอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในช่วงปี 40 แอล.พี.เอ็น.ได้เรียนรู้ว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจอสังหาฯ มีหลายประการ เริ่มตั้งแต่ ทำในสิ่งที่ถนัด ในขณะที่อสังหาฯ ค่ายอื่น มีทั้งบ้านเดียว ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม แต่แอล.พี.เอ็น.โฟกัสไปที่ “บริษัทรับสร้างคอนโดมิเนียมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น”

แอล.พี.เอ็น.ยึดตำราพิชัยยุทธ์ว่าด้วย “โลเคชั่น โลเคชั่น และโลเคชั่น” ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจอสังหาฯ แม้โครงการของแอล.พี.เอ็น.จะยึดทำเลติดกับแนวรถไฟฟ้า แต่จะต้องระยะห่างออกมาเกิน 1 กิโลเมตรขึ้นไป แถมยังแทรกอยู่ในกลางชุมชนเก่าแก่ ที่มีหอพัก ไม่มีตึกสูง อย่างคอนโดมิเนียมมากนัก ทำเลแบบนี้จะทำให้ต้นทุนค่าที่ดินลดลงมา

นอกจากรถไฟฟ้า ทำเลที่เดินทางสะดวก อย่างระบบเรือขนส่งคลองแสนแสบ รถไฟ รถเมล์ หรือแม้แต่รถตู้รับส่งผู้โดยสาร ที่สามารถขนถ่ายขนเข้าสู่แนวรถไฟฟ้าได้อีกทอดหนึ่ง ก็เป็นอีกทำเลของแอล.พี.เอ็น. ไม่ว่าจะเป็น

แนวทางของการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมของแอล.พี.เอ็น. ยังหมายรวมถึงการมองหาพื้นที่ว่างที่อยู่ใกล้กับห้างเทสโก้ โลตัส และคาร์ฟูร์ เรียกว่า “ที่ไหนมีเทสโก้ โลตัส คาร์ฟูร์ หรือบิ๊กซี ต้องมีแอล.พี.เอ็น.” ด้วยเหตุผลที่ว่า ห้างโมเดิร์นเทรดเหล่านี้มักจะมีที่ว่างรอบๆ เป็นจำนวนมาก และมักก่อให้เกิดชุมชนขนาดย่อมไปพร้อมๆ กัน แอล.พี.เอ็น.จึงเชื่อว่าที่ไหนมีห้าง ที่นั่นย่อมมีคนและเหมาะกับที่จะมีคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นด้วย

แม้จะให้ความสำคัญกับการเจาะกลุ่มคนซื้อที่หลากหลาย เลือกทำเลที่จะขายของได้ไม่แพงแย่งจำนวนมากๆ เข้าไว้ก่อนแล้ว

ทุกวันนี้แอล.พี.เอ็น.ยังเชื่อว่าธุรกิจอสังหาฯ จะอยู่ไม่ได้หากไม่รู้จักระมัดระวังเรื่องต้นทุนกับหนี้สินที่ตัวเองหยิบยืมมาจากธนาคารให้ดี ก็จะอยู่ได้อย่างปลอดภัย โดยทุกวันนี้ แอล.พี.เอ็น.อาศัยทีม Risk Management ที่จะคอยดูเสมอว่าจะหนี้ของบริษัทต้องไม่เกิน 0.44-0.47 ต่อ 1 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ดีกว่าหลายๆ ธุรกิจที่มักเผื่อจำนวนหนี้สินต่อต้นทุนอยู่ที่ 1 ต่อ 1

นอกเหนือจากนั้น แอล.พี.เอ็น.ยังเปิดเผยว่า ธุรกิจอสังหาฯ ต้องรักษาสภาพคล่องให้สมดุล การรักษาเงินสดเอาไว้ในมือ และนำมาหมุนเวียนใช้อย่างถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นมาก ซึ่งสิ่งเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มากลยุทธ์ทางการตลาดที่จะทำให้คนมาซื้อห้องในแต่ละโครงการทั้งสิ้น ดังนั้นในบางเวลาธุรกิจอสังหาฯ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทั้งลดแลก แจกแถม ในเวลาที่จำเป็น

เติบโตทุกปี

รายได้ของแอล.พี.เอ็น.เติบโตทุกปีตลอดระยะ 3 ปีที่ผ่านมา
ปี กำไร (ล้านบาท)
2548 588.38
2549 765.23
2550 927.74