VESPA เซเลบฯ ขอแว๊นซ์

การกลับมาสู่ตลาดเมืองไทยอีกครั้งของเวสป้า ต้องยกให้กับกระแสความนิยมรถสกูตเตอร์ที่ถูกปลุกตลาดด้วยรถจักรยานยนต์ญี่ปุ่นอย่าง ยามาฮ่า ฟีโน่ และฮอนด้า สกู๊ปปี้ ไอ ที่ทำให้รถกลุ่มนี้เป็นที่นิยม จนรถต้นแบบอย่างเวสป้าถูกถามหาและปลุกให้คนที่นิยมเวสป้าตื่นขึ้นมา

พรนฎา นิวาตวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวสปิอาริโอ (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า การนำแบรนด์เวสป้ากลับมาทำการตลาดใหม่ มีการตอบรับจากกลุ่มผู้บริโภคเป็นอย่างดี  และมียอดขายเพิ่มขึ้นจากใน 2 ปีแรกมียอดขายประมาณ 2,000 คัน  แต่ในปีนี้คาดว่าจะมียอดขายที่ 4,000 คัน

“ลูกค้าของเวสป้ามีความเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ซื้อเพื่อสะสม มาเป็นการซื้อเพื่อใช้ขับขี่จริงๆ โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ชายวัยทำงาน แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 35% และต่างจังหวัด 65%”

การที่ยอดขายส่วนใหญ่อยู่ที่ต่างจังหวัด ส่วนหนึ่งมาจากการมีตัวแทนจำหน่ายในต่างจังหวัด 24 แห่ง กรุงเทพฯ 18 แห่ง และจะขยายให้ได้ 50 แห่งภายในปีนี้

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวสป้าเติบโตก็คือ กลุ่มผู้สะสมและชอบรถเวสป้า มีการหาซื้อเปลี่ยนมือกันอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าตัวแทนจำหน่ายเดิมได้เลิกขายไปนานแล้ว ในกลุ่มนี้ก็ใช้วิธีการเสาะหาอุปกรณ์ ชิ้นส่วนกันเอง จนมีบริษัทใหม่เข้ามาแทน ทำให้มีสินค้ารถรุ่นใหม่เข้ามาให้เลือก ผู้ที่นิยมรถเวสป้าจึงกลับมาขยายตัวอีกครั้งหนึ่ง

แนวทางการตลาดของรถเวสป้า จึงมองที่กลุ่มของนักสะสม และกลุ่มคนทำงานที่เคยเห็น หรือรู้จักรถเวสป้าในอดีตและมีความชื่นชอบ รวมกับกระแสโหยหาอดีต ทำให้เวสป้ากลับมาเป็นที่สนใจ 

เวสป้ามองตลาดระดับ Mass ไม่ได้ เพราะเรื่องราคา และกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างจากรถญี่ปุ่นโดยสินเชิง  เวสป้าวางตัวเองอยู่ในตำแหน่งรถจักรยานยนต์ตลาดบน เหมาะกับการขับขี่แบบเน้นโชว์ตัว ไม่เน้นความแรง ขับไปเพื่อหาเพื่อนตามแหล่งบันเทิงต่างๆ ที่ได้รับความนิยม

ความเก่าแก่ของรถเวสป้าที่มีอายุถึง 65 ปี จึงเป็นจุดขายอีกครั้งด้วยการออกรถรุ่น

65 แอนนิเวอร์ซารี่ ลิมิเต็ด เอดิชั่น 2 รุ่น ที่ผลิตมา 265 คัน และมีจำหน่ายเฉพาะในประเทศเพียงแห่งเดียว ตั้งราคาขายที่ 117,500 บาท และ 114,000 บาท พร้อมกับจัดกิจกรรมรวบรวมคาราวานเวสป้าและพิอาจิโอที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย ในวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ ที่สนามม้านางเลิ้งด้วย 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”vertical-align: top; text-align: center;”>ยอดขายรถจักรยานยนต์
ม.ค. – ส.ค. 2554

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ยี่ห้อ

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”> จำนวน
(คัน)

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>ฮอนด้า

1,018,861

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>ยามาฮ่า

337,092

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>ซูซูกิ

53,095

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>คาวาซากิ

21,666

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>ไทเกอร์

1,580

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>แพลทตินั่ม

386

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>เจอาร์ดี

332

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>อื่นๆ

16,380

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ส่วนแบ่งตลาดรถจักรยานยนต์
ก.ค. 2554

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ยี่ห้อ

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”> จำนวน
(คัน)

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>สัดส่วน
(%)

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ฮอนด้า

119,996 68

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ยามาฮ่า

44,216 23

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ซูซูกิ

7,908 4

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>คาวาซากิ

2,916 2

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>อื่นๆ

3,014 3