“ตามทันวัยรุ่น” เทคนิคของ “ยีนส์ไม่แก่”

ใช้ชีวิตแบบไร้ขีดจำกัด ปลดปล่อยพลังและใช้ชีวิตในแบบที่ชอบ เป็นคุณลักษณะของวัยรุ่นทุกยุค วัยที่เอ็นโดฟินส์หลั่งมาไม่จำกัด ถ้าแบรนด์ไหนสอดแทรกเข้าไปอยู่ในใจ เป็นแรงบันดาลใจให้กับการใช้ชีวิตของพวกเขาได้ นอกจากจะทำให้แบรนด์ที่มีตำนานยาวนานไม่กลายเป็นแค่แบรนด์ในประวัติศาสตร์ แต่รับประกันว่าคุณจะได้ Very Long Life Time Customer อยู่กับแบรนด์ไปนานแสนนาน และนี่คือหัวใจที่ลีวายส์ (LEVI’S) และลี (LEE) ต่างพยายามช่วงชิง

 

ลีวายส์…พลิกตำนาน

ที่ผ่านมาลีวายส์แบรนด์ยีนส์ระดับตำนาน พยายามเปลี่ยน “ความเก๋า” ให้เป็น “ความเก๋” เอาใจคนรุ่นใหม่มาโดยตลอด เพื่อหวังให้ตำนานลีวายส์ไม่จางหายไปจากใจคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีทางเลือกมากขึ้นจากทั้งแบรนด์เก่าและแบรนด์แฟชั่นใหม่ๆ ที่เข้ามาในตลาดยีนส์เมืองไทยที่มีมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท 

แคมเปญ Go Forth เป็นแคมเปญล่าสุดของลีวายส์ระดับโลกที่ใช้ใน 24 ประเทศ เปิดตัวในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ 2 ปีเศษที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การสร้าง Engagement กับผู้บริโภคที่เป็น Young Generation และต้องการขยายฐานกลุ่มเป้าหมายหลักอายุ 18-25 ปี ให้กว้างยิ่งขึ้น ขณะที่กลุ่มเป้าหมายรองคือ อายุ 25 ปีขึ้นไป ที่เป็นYoung at Heart 

เควิน คอร์นิ่ง ผู้จัดการทั่วไป และ พรศีล บุทกัสกา ผู้จัดการฝ่ายการตลาดกลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่น บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด ให้สัมภาษณ์พิเศษ POSITIONING ว่า การที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ได้นั้นจะต้องเน้นที่องค์ประกอบ 2 ด้านที่สำคัญ คือ Product Innovation และ Retail Experience ไปด้วยกัน

เควินบอกว่า “สำคัญที่สุดคือสินค้า เพราะทุกอย่างเริ่มต้นที่สินค้า และต้องเป็นสินค้าใส่ความเป็นนวัตกรรม เช่น การWater<Less™ ที่ลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิต และ Curve ID ยีนส์สำหรับผู้หญิง รวมถึงการตลาดและมีการอัพเกรดการตกแต่งสโตร์ให้พรีเมียมและทันสมัยมากขึ้น และทั่วโลกมีการเปิด Flagship Store มากขึ้นโดยเฉพาะเมืองหลวงแฟชั่นโลกอย่างลอนดอน ปารีส ขณะที่ในไทยก็มีการขยายดิสทริบิวชั่นให้ครอบคลุม”

ปัจจุบันมีจุดขาย 140 กว่าจุดทั่วประเทศ ครอบคลุมทั้งย่านธุรกิจกลางเมือง หัวเมืองใหญ่ เมืองท่องเที่ยวและต่างจังหวัดบางพื้นที่

 

เลือกพรีเซ็นเตอร์ต่างสุดขั้ว

GO FORTH เป็นแคมเปญที่มุ่งเรื่องของ “การสร้างแรงบันดาลใจ” ให้กับคนรุ่นใหม่ ลุกขึ้นมา อย่าแค่นั่งรออยู่เฉยๆ ให้ก้าวออกมาทำอะไรก็ได้ ที่เป็นสิ่งดีๆ อย่างมีความหวัง มีอิสระในการใช้ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง  

ถ้าจะว่าไปแล้วแคมเปญลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นที่นิยมสำหรับแบรนด์สินค้าที่ต้องการให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจคนรุ่นใหม่นิยมใช้กันแพร่หลาย โดยครั้งนี้ลีลายส์เลือก นานา ไรบีนา และ สมศักดิ์ เหมรัญ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ 

พรศีล อธิบายว่า นานาและสมศักดิ์ เป็นตัวแทนสะท้อนถึงความเป็น “Pioneer” โดยนานา เป็นนักแข่งรถหญิงของไทยและทำการกุศลด้วยการบริจาคยอดรายได้จากเอสเอ็มเอสในรายการของเธอให้กับมูลนิธิเมาไม่ขับ ขณะที่สมศักดิ์แม้จะมีแขนข้างเดียวแต่ก็มีความสามารถในการเล่นกีตาร์และร้องเพลง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับตูน บอดี้สแลม พรีเซ็นเตอร์ของแชปส์ซึ่งเป็นระดับซูเปอร์สตาร์แล้ว การจดจำและความน่าสนใจย่อมมีมากกว่าเป็นธรรมดา

“เราใส่ใจในเรื่องราวของพรีเซ็นเตอร์ โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นซูเปอร์สตาร์ และเรื่องราวของทั้งสองคนก็น่าสนใจและมีคนพูดถึงมาก”

อย่างไรก็ตาม จุดด้อยของลีวายส์คือชื่อแคมเปญซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการสื่อสารสำหรับคนไทยไม่น้อย และต้องอธิบายขยายความอีกพอสมควร

 

ผู้หญิงชอบแล้วไม่เปลี่ยนใจ 

นอกจากนี้ลีวายส์รู้ดีว่าจุดแข็งคือเป็นแบรนด์ที่เก่าแก่มีประวัติศาสตร์กว่า 150 ปี แต่การที่จะเข้าหาคนรุ่นใหม่ได้ต้องไม่ใช่วิธีการแบบเดิมๆ ลีวายส์ 501 อาจไม่ได้มีมนต์ขลังสำหรับคนรุ่นนี้เท่ากับยีนส์ขาเดฟ สกินนี่ (510 และ 511) สำหรับผู้ชายเทรนดี้ และแบบที่เซ็กซี่ ฟิตกับรูปร่าง (Curve ID) สำหรับผู้หญิง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าลีวายส์ได้ผลิตและจำหน่ายกางเกงยีนส์ที่นอกเหนือจากจะมีรูปทรงที่หลากหลายตามสมัยนิยมแล้ว ยังมีสีสัน และลวดลายมากขึ้น ตามสไตล์เฟมินีน แต่ก็ไม่ได้หวือหวา จัดจ้านจนหลุดคาแร็กเตอร์ที่เคยมีมา เพราะไม่ใช่ Fast fashion brand 

เควินบอกว่าหลังจากจับกลุ่มผู้หญิงมาอย่างจริงจังในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ยีนส์สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะของลีวายส์เกิดขึ้นเมื่อ 75 ปีที่แล้ว) ตั้งแต่ลีวายส์เริ่มต้นผลิตรุ่นซูเปอร์โลว์ หรือยีนส์เอวต่ำเป็นแบรนด์แรก ทำให้ปัจจุบันนี้สัดส่วนยอดขายของลีวายส์มาจากผู้ชายและผู้หญิงเท่าๆ กัน โดยรุ่นขายดีคือ Curve ID เนื่องจากสามารถตอบสนอง Consumer Insight ได้ขณะที่ตลาดรวมผู้ชายจะมีสัดส่วน 60% และผู้หญิง 40%

“ต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าผู้หญิง ปกติแล้วผู้หญิงไม่ค่อยมี Loyalty ในสินค้าเสื้อผ้าจะเปลี่ยนไปเรื่อย แต่ถ้าเป็นกางเกงยีนส์ที่ใส่แล้วพอดี จะมั่นใจ และไม่เกิด Brand Switching เช่นเดียวกับชุดชั้นในและชุดว่ายน้ำ”

ผลจากการศึกษาและสำรวจของลีวายส์กับผู้หญิงมากกว่า 60,000 คนทั่วโลก พบว่ามากกว่าครึ่ง (54%) ลองสวมใส่ยีนส์อย่างต่ำ 10 ตัว เพื่อหายีนส์ที่พอใจเพียงตัวเดียว 87% คาดหวังว่าจะสามารถหายีนส์ที่ใส่แล้วเข้ากับรูปร่างอย่างเหมาะเจาะได้มากกว่าตัวที่มีอยู่ในปัจจุบัน จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ลีวายส์ได้ออกแบบยีนส์สำหรับผู้หญิงที่มีรูปร่างแตกต่างกัน  ทำให้ผู้หญิงสามารถสวมใส่ยีนส์ได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้นและเซ็กซี่”

โดยเควินคาดว่าแคมเปญ GO FORTH จะสามารถเพิ่มสัดส่วนลูกค้าผู้หญิงจากปัจจุบัน 50% เป็น 60% ได้

 

สร้างความเป็น Heritage Brand 

Price Point ที่ขายดีที่สุดของลีวายส์คือรคา 2,500 บาท และมากกว่า ขณะที่คู่แข่งส่วนใหญ่แล้วจะขายดีในราคาที่ต่ำกว่าตัวละ 2,000 บาท 

นอกจากนี้ด้วยความเป็น Heritage Brand ทำให้ลีวายส์มีนักสะสมอยู่จำนวนมาก ในไทยเองก็มีไม่น้อย ราว 50% เป็น Loyalty Consumer และสนใจในเรื่องราวของแบรนด์ลีวายส์ จะซื้อลีวายส์ทุก 2 เดือน ขณะที่พฤติกรรมลูกค้าทั่วไปจะซื้อยีนส์เฉลี่ย 2-3 ตัวต่อปี

“มีแฟนพันธุ์แท้คนหนึ่งที่มีลีวายส์อยู่ 200 กว่าตัว ส่วนใหญ่เป็นรุ่นหายาก เขาไม่ได้หาสินค้าที่ดีไซน์สวยอย่างเดียว แต่หลงใหลในตำนาน”

ทั้งนี้ในไทยลีวายส์ มีคู่แข่งใกล้เคียงที่เป็นอินเตอร์แบรนด์ คือ ลี ที่แม้จะมีราคาต่ำกว่า แต่ถ้าเทียบในแง่ของไอเดียแคมเปญแล้วก็นับว่ามีธีมที่ใกล้เคียงและทำออกมาได้สูสี  

 

Lee ขี่ฟิกซ์ เกียร์…ไล่ล่าไลฟ์สไตล์คนเมือง 

ก่อนหน้าภาพลักษณ์ของลีก็ดูเก่า คร่ำคร่าไม่แพ้ลีวายส์ ด้วยตำนานกว่า 120 ปี ถึงจะเป็นแบรนด์ระดับตำนาน มีอายุ 120 ปี ในอีกด้านหนึ่งภาพลักษณ์ของแบรนด์ดูเฉิ่ม ล้าสมัยอย่างไม่ตั้งใจ ทางแก้คือ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ่านดีไซน์ นวัตกรรม ที่เชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์ ตลอดจนแคมเปญที่มีแนวคิดทันสมัยสอดรับกับเทรนด์โลก ที่ส่งผลทำให้แบรนด์ดูพรีเมียมและเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคมากขึ้น

ปัจจุบันลีแบรนด์ยีนส์จากสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าวเพื่อเชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์คนเมืองซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก มีไลน์สินค้าพรีเมียม นำเข้าจากต่างประเทศช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของลี ล่าสุดได้ออกแคมเปญ The City is Mine เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายอายุ 18- 25 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักเช่นเดียวกับลีวายส์ มุ่งหวังกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวได้ปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระท่ามกลางสีสันของเมือง โดยต้องการเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่มีไลฟ์สไตล์และความชื่นชอบที่ชัดเจน ผ่านจักรยาน “ฟิกซ์ เกียร์” ซึ่งถูกจัดเป็น Urban Lifestyle แห่งยุค ทั้งยังได้กระแสกรีนอีกด้วยโดยมีคอลเลกชั่นเด่นที่เรียกว่า Urban Riders โดยไม่ใช้พรีเซ็นเตอร์ เพราะมองว่า ฟิกซ์ เกียร์ เป็นวัฒนธรรมที่ชัดเจนในตัวมันเองอยู่แล้ว 

คาร์เมน ชาง กรรมการผู้จัดการ และผู้อำนวยการใหญ่ ยีนส์ลีแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประจำฮ่องกง บริษัท วีเอฟ เอเชีย จำกัด บอกถึงที่มาของแคมเปญนี้ว่า ต้องการย้อนรอยความสำเร็จของลีเมื่อต้นศตวรรษที่ 30 ซึ่งได้ออกคอลเลกชั่น Lee Riders เกี่ยวกับวัฒนธรรมคาวบอย มีเรื่องราวอยู่เบื้องหลังคอนเซ็ปต์ เป็นการนำเทรนด์แห่งยุคสมัยกลับมาอีกครั้ง เพียงแต่ครั้งนี้ไม่ได้ขี่ม้า แต่มาในรูปแบบของการปั่นจักรยานฟิกซ์ เกียร์ ที่มีให้เห็นในทุกซอกทุกมุมของเมืองใหญ่ รวมถึงกรุงเทพฯ ด้วย

วราวุธ มัทนพจนารถ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์ ยีนส์ลี บริษัทในกลุ่มเซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป (ซีเอ็มจี) ประเมินว่า มีนักปั่นฟิกซ์ เกียร์ในกรุงเทพฯ ราว 2,000 คน นอกจากนี้ยังมีชมรมฟิกซ์ เกียร์ในเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่และภูเก็ตอีกด้วย ทำให้ทั่วประเทศมีนักปั่นฟิกซ์ เกียร์ราว 3,000-4,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนมากพอที่จะสร้างกระแสได้

“คนปั่นฟิกซ์ เกียร์เป็น Trend Setter มีความรู้ดี และใส่ใจในแฟชั่น มันคือภาพลักษณ์ในองค์รวม ไม่ใช่แค่การออกมาปั่นจักรยานเพียงอย่างเดียว”

เขาบอกว่าลี ไม่ได้ต้องการนำเสนอเทรนด์แฟชั่น แต่ยังตอบโจทย์การใช้งานตามไลฟ์สไตล์ด้วย โดย Urban Riders เน้นออกแบบเรียบง่าย แห้งเร็ว มีซิปกันน้ำป้องกันกระเป๋าเปียก สวมใส่ได้คล่องตัว มียางสีส้มสะท้อนแสงไว้สำหรับรัดข้อขา ไม่ให้กางเกงตกลงมาเกะกะระหว่างปั่นจักรยาน ขณะที่เมื่อพับขากางเกงขึ้นมาจะเห็นเป็นแถบสีส้ม เพื่อความปลอดภัยในการปั่นตอนกลางคืน และด้วยความเป็นคอลเลกชั่นพรีเมียม จึงมีระดับราคา 3,500-4,000 บาท ขณะที่ระดับราคาสินค้ารุ่นทั่วไปของลีไม่เกิน 2,500 บาท โดยมีราคาเฉลี่ย 1,850 บาท 

“คนปั่นฟิกซ์ เกียร์ ส่วนใหญ่ก็รวมกลุ่มกันปั่นตอนกลางคืน แถบสะท้อนแสงจึงมีประโยชน์มาก และเราเล็งเห็นถึงไลฟ์สไตล์และความต้องการที่ยังไม่มีใครเติมเต็มนี้ ไม่ใช่แค่ตามเทรนด์แฟชั่นอย่างเดียว แต่ต้องลงลึกถึงรายละเอียดในการใช้งานด้วย”

อย่างไรก็ตาม Urban Riders ไม่ได้ต้องการเอาใจคอฟิกซ์ เกียร์เท่านั้น หากแต่รวมถึงกลุ่มลูกค้าที่รักแฟชั่น และเป็น Stylish Consumer ที่ชอบสินค้าล้ำๆ ด้วย  

ปัจจุบันลีแข็งแรงในเอเชียแปซิฟิกทั้งเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย รวมถึงไทย มีสาขารวมกันมากกว่า 1,000 แห่ง และทำยอดขายให้กับลีโดยรวมคิดเป็นสัดส่วน 10%  

จากการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของสินค้าและเมอร์ชันไดซิ่งในช็อปอย่างต่อเนื่อง แนะนำสไตล์การแต่งตัวแบบมิกซ์แอนด์แมตช์ที่ไม่ได้เน้นแต่ยีนส์เพียงอย่างเดียว เน้น Color Coordination ระหว่างท่อนบนกับท่อนล่าง ทำให้ลีได้ลูกค้าหน้าใหม่ซึ่งเป็นวัยรุ่นมากขึ้นราว 30-40%  

“5 ปีที่แล้ว วัยรุ่นเดินเข้าช็อปลีแล้วอาจจะเดินหนี แต่หลังจากปรับโฉมใหม่ มีสินค้าใหม่ทุกสัปดาห์ ก็พบว่าลูกค้าวัยรุ่นกว่า 50% ที่เปลี่ยนใจมาจากแบรนด์อื่น”

ขณะที่จำนวนจุดขายไม่ใช่ปัญหาของลี เพราะมีครอบคลุมทั่วประเทศ 150 จุด  

เขาบอกเพิ่มเติมว่าตลาดยีนส์ยังคงร้อนแรง เนื่องจากเป็นตลาดที่เติบโตทุกปี ไม่เคยติดลบเลย เพราะคนหันมาใส่ยีนส์มากขึ้น ทุกวันนี้บริษัทเอกชนส่วนใหญ่อนุญาตให้พนักงานใส่ยีนส์ไปทำงานได้ 

“99% ของภาคธุรกิจ ที่ใส่ยีนส์ไปทำงาน ตอนนี้ก็คงเหลือแค่ธนาคารที่ยังต้องใส่ยูนิฟอร์มอยู่”

จากจุดกำเนิดยีนส์สำหรับคนงาน จึงกลายมาเป็นยีนส์อินเทรนด์ ที่พยายามเกาะติดไลฟ์สไตล์คนเมืองอย่างไม่ลดละ 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>ตลาดยีนส์มีมูลค่า 14,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ช่องทางจำหน่ายในโมเดิร์นเทรด 50% ช่องทางอื่นๆ
เช่น เครดิตสโตร์ (ร้านที่ซื้อยีนส์ไปขายขาด) 50%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ตลาดยีนส์ช่องทางจำหน่ายในดีพาร์ตเมนต์สโตร์

(Key account) 7,000 ล้านบาท เติบโต 15% ลีวายส์ 40% อื่นๆ (ลี
แรงเลอร์ แม็ค ฮาร่า แต่ละแบรนด์มีส่วนแบ่งการตลาดไม่เกิน 20%) 60%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

คนไทยมียีนส์คนละ
6 ตัว อายุ (ปี) 15-24 25-34 35-44 45-54 จำนวนยีนส์ในครอบครอง
(ตัว) 6.5 6.2 5.6 4.9 ที่มา :
COTTON USA,2010 Global Lifestyle Monitor

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ยีนส์ติด
TOP 3 ใยผ้าที่ผู้บริโภคไทยชื่นชอบ

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>ผู้ชาย

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>ผู้หญิง
ผ้าฝ้าย 38 % 47% ยีนส์ 20% 11% ฝ้ายผสม 7% 7% ใยสังเคาระห์ 5% 4% ลินิน 3% 3% โพลีเอสเตอร์ 3% 2% หมายเหตุ
: ยีนส์ผลิตมาจากฝ้าย

สู้กับแบรนด์ยีนส์ไทย

กระแสยีนส์ปะทุขึ้นมาอีกครั้งหลังการรับตำแหน่งของธนา เธียรอัจฉริยะ นักสร้างแบรนด์คนดัง แต่ก็เป็นช่วงระยะเวลาไม่นานที่ทำให้ชื่อของแมคยีนส์ได้รับการจดจ้อง แม้จะมีแม็ค เลดี้  ที่เป็นผลิตภัณฑ์ไลน์ใหม่ แต่ด้วยราคาที่ต่างกันมากและการเปิดช่องทางในไฮเปอร์มาร์เก็ตของแม็ค จึงเป็นการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคด้วยสถานะทางเศรษฐกิจโดยปริยาย และยิ่งธนาลาออกจากแม็คแล้ว ยิ่งน่าจับตาว่าแม็คจะสู้ศึกในปี 2555 ต่อไปอย่างไรบ้าง 

ขณะที่แชปส์ ได้เน้นไลน์ยีนส์มากขึ้น ทุ่มทุน เลือกพรีเซ็นเตอร์ทั้งทีขอเลือกศิลปินดังยอดนิยมอันดับ 1 อย่างตูน บอดี้สแลม และจำหน่ายสินค้ายีนส์รุ่นพรีเมียมในราคาตัวละใกล้เคียงกับลีวายส์

แม้แต่ยูนิโคล่และเกสส์ก็มียีนส์เป็นสินค้าเด่น และแบรนด์แฟชั่นเกือบทุกแบรนด์ต่างแหย่ขาลงมาตลาดยีนส์ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะยีนส์เป็นไอเท็มยอดนยิมที่ทุกคนต้องมีติดตู้ ซึ่งหมายถึงโอกาสในการขายที่มากขึ้นของแต่ละแบรนด์ด้วย                 

ส่วนผู้เล่นในยีนส์ระดับบนที่แข็งแกร่งซึ่งจำหน่ายยีนส์ตัวละหลักหมื่นบาท คือ ดีเซล เซเว่น ฟอร์ ออล แมนไคน์ด และอิวิสุ เป็นต้น