แท็บเล็ต 7 นิ้ว เล็กเกินไปหรือใหญ่พอจะบี้ไอแพด

41% ของคนไทยมีแผนจะซื้อแท็บเล็ตในอีกประมาณ 9 เดือนข้างหน้า นี่คือผลสำรวจจากนีลเส่น ที่บ่งบอกว่าแท็บเล็ตกลายเป็น Gadget ดาวรุ่งพุ่งแรงไปแล้ว และในเทรนด์นี้มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจนี้คือภาพการแข่งขันที่ชัดเจนว่าจอขนาด “7 นิ้ว” คือคู่ต่อสู้ที่แท้จริงของ “ไอแพด” จนเคลียร์สนามแท็บเล็ตให้เห็นว่าถ้าแบรนด์ไหนไม่มีจอ 7 นิ้ว ก็ยากที่จะหาที่ยืนในตลาดนี้

จอแท็บเล็ตขนาด 7 นิ้ว ในสูตรทางการตลาดแล้ว จัดเป็นคุณสมบัติในเรื่อง “ความต่าง” ระหว่างผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งในตลาด โดยเฉพาะไอแพด ที่มาไซส์เดียวที่ 9.7 นิ้ว โดยต้นตำรับของจอ 7 นิ้วในวงการนี้คือ “ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ” ที่เปิดตัวเมื่อปี 2554 จนล่าสุดมีแบรนด์ต่างๆ ส่ง 7 นิ้วพาเหรดลงตลาดกันอย่างคึกคัก และหลายแบรนด์ให้ความสำคัญกับแคมเปญเปิดตัวรุ่น 7 นิ้วมากกว่ารุ่นอื่นๆ 

กลายเป็นตัวเลือกที่ไม่ใช่แค่ทำให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจเลือกแบรนด์เท่านั้น แต่ลงลึกในรายละเอียดว่าเหตุผลที่คนไม่ซื้อไอแพด ก็เพราะอยากได้แท็บเล็ตที่เล็กกว่า และคำตอบมาอยู่ที่จอ 7 นิ้วมากที่สุด

การฝ่าคลื่นไอแพดของแท็บเล็ตจอ 7 นิ้วนี้ทำให้สำนักข่าวต่างประเทศต่างกำลังจับตาดูว่า จะแรงถึงขั้นเป็น iPad Killer ได้หรือไม่ โดยมีการให้เหตุผล เช่น แท็บเล็ตจอ 7 นิ้ว เล็กกว่า ถูกกว่า พกง่ายกว่า เมื่อเล็กกว่า ราคาจึงถูก จอ 7 นิ้วเฉลี่ยอยู่ในระดับหมื่นต้นๆ ขณะที่ประมาณ 10 นิ้วอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่นบาท ทำให้จอ 7 นิ้วเข้าถึงลูกค้าทั่วไปได้มากขึ้น 

ราคาของแท็บเล็ตขนาดจอ 7 นิ้วเฉลี่ยประมาณ 15,000 บาท ซึ่งราคาที่ต่างกันเกิน 5,000 บาทเมื่อเทียบกับรุ่นแพงกว่า จึงทำให้ตัดสินใจซื้อไม่ยาก

 

กาแล็คซี่แท็บ บทเรียนที่แบรนด์อื่นอยากตาม

“สิทธิโชค นพชินบุตร” ผู้จัดการตลาดอาวุโส ธุรกิจโทรคมนาคม ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด บอกว่า แท็บเล็ตของซัมซุงสามารถดึงความสนใจของผู้บริโภคได้ จากการเริ่มต้นทำตลาดจอขนาด 7 นิ้วเป็นตัวแรก ซึ่งเป็นไปตามสูตรคือเปิดตัวด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคนอยากได้ แต่ผู้เล่นเดิมในตลาดยังไม่ได้สนองตอบความต้องการผู้บริโภค (Untapped market) เช่นกลุ่มผู้หญิง หรือกลุ่มที่ต้องการพกพา กลุ่มเดินทาง ที่ไม่ต้องการถือของหนัก 

เมื่อซัมซุงตอบโจทย์ได้ก็ทำให้ผู้บริโภคจดจำ ประกอบกับคุณสมบัติการใช้งานง่าย จากระบบปฏิบัติการที่เป็นระบบเปิดอย่างแอนดรอยด์ มีแอพพลิเคชั่นจำนวนมาก นอกเหนือจากการคุณสมบัติตัวเครื่องที่ไอแพดไม่มีอย่างเช่นการใช้โทรศัพท์ได้ 

สำหรับการทำตลาดซัมซุงได้ทุ่มเทมาก ทั้งในออฟไลน์ ทีวีซี โลกออนไลน์ให้บล็อกเกอร์รีวิว เว็บ Gadget การสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้สัมผัสผลิตภัณฑ์ และการจับมือกับผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่อย่างเอไอเอส เป็นการ Co Branding ที่ได้ผลทั้งในแง่ภาพลักษณ์และแพ็กเกจ รวมไปถึงอีเวนต์ที่สื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมาย

 

เติมความรู้สึกใหม่ด้วยจอ 7.7 นิ้ว

จอขนาด 7 นิ้ว ที่มีคนอื่นเดินตามมาติดๆ ทำให้ซัมซุงหาลูกเล่นใหม่ ด้วยการเปิดตัวรุ่นล่าสุดขนาดจอ 7.7 นิ้ว ที่ “วิชัย พระพระตั้ง” ผู้อำนวยการธุรกิจโทรคมนาคม บริษัทไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด บอกว่า ขนาดจอ 7 หรือ 7.7 นิ้วให้ผลไม่ได้ต่างกันมากนัก เพียงแต่ในแง่การตลาดแล้ว อยากบอกผู้บริโภคว่านี่คือความพิเศษ ที่เปรียบเสมือนสั่งเมนูอาหารที่เป็นเมนูพิเศษ

แน่นอนว่าเมนูพิเศษจานนี้ ทำให้เวลาที่ซัมซุงพูดถึงผลิตภัณฑ์เด่นในปีนี้ ต้องเน้นย้ำรุ่น 7.7 นิ้วด้วยตลอดเวลา

ซัมซุงจัดอีเวนต์สำหรับเปิดตัว 7.7 นิ้วในงานไทยแลนด์โมบายเอ็กซ์โป เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2555 อย่างเต็มที่ โดยมีดึงพรีเซ็นเตอร์คนดัง “ณเดชน์ คูกิมิยะ” มาเปิดตัวและถือจอ 7.7 นิ้ว ควบคู่กับกาแล็คซี่โน้ต เพื่อให้ภาพเป็นข่าวอย่างเต็มที่ นอกเหนือจากใช้กลยุทธ์การโปรโมชั่นซื้อ 7.7 นิ้วในงานราคาถูกกว่าหลังงาน 1,000 บาท จน “วิชัย” บอกว่าได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างดี

 

“ไอแพด” ไม่ทำ แต่ “ซัมซุง” ทำ

จอขนาด 7 นิ้วเป็นตัวอย่างคุณสมบัติที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าสิ่งที่ไอแพดไม่ทำแต่ซัมซุงขอทำจนได้ตลาด  ทำให้ตลาดแท็บเล็ต เวลานี้แบ่งลูกค้าเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มที่ตั้งใจซื้อ “ไอแพด” และกลุ่มที่ไม่ได้ยึดติดว่าต้องเป็นไอแพด และมองมาที่แท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการ “แอนดรอยด์” ที่มาพร้อมกับจุดต่าง ที่มีทางเลือกหลากหลาย ตั้งแต่แบรนด์จำนวนมากที่ลงมาเล่น ขนาดของจอ และราคาตามสเปก

เมื่อมาทีหลัง ก็ต้องทำในสิ่งที่ไอแพดไม่มี คือ “ความต่าง” นั่นเอง นอกจาก 7 นิ้ว แล้วหลายแบรนด์ยังมีหลายขนาดของจอให้เหลือก ขณะที่ไอแพดมีขนาด 9.7 นิ้วไซส์เดียวเท่านั้น และที่สำคัญราคาที่สนองความต้องการทุกเซ็กเมนต์ ตั้งแต่ Mass Premium Mass Premium  หรือพูดง่ายๆ ว่าตั้งแต่ Low end ยอมจ่ายราคาไม่กี่พันบาท ไปจนถึง High end  พร้อมจ่ายแพงกว่า 2 หมื่นบาท

กรณีของ “ซัมซุง” กับกาแล็คซี่ แท็บ เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดที่เริ่มบุกตลาดแท็บเล็ตด้วยขนาด 7 นิ้ว จนส่งผลต่อแท็บเล็ตในโมเดลใหม่ๆ ตามมา ที่ออกมาหลายขนาดตั้งแต่ 8.9 10.1 และล่าสุด 7.7 นิ้ว 

“วิชัย” บอกว่า “ซัมซุงมีหลายไซส์ เพราะเชื่อว่าคนมีความต้องการหลากหลาย และต่างกัน เราไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องใช้ไซส์นี้เท่านั้น เป็นคำตอบที่ว่าเราทำอย่างที่คนอยากได้” 

ทั้งหมดขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งาน หากพกพาก็ต้องหน้าจอเล็ก จะ 7 นิ้ว หรือ 7.7 นิ้ว ก็ได้ หากนั่งที่บ้านใช้จอใหญ่ขึ้น อย่าง 8.9 หรือ 10.1 นิ้ว ส่วนรุ่นที่ขายดีคือ 7 นิ้ว

นี่คือผลที่ “วิชัย” บอกว่าทำให้แท็บเล็ต 1 ใน 2 เครื่องที่ขายในเมืองไทยเวลานี้คือ “ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ”

 

สงครามราคาของผู้มาใหม่

สำหรับผู้บริโภคทั่วไปอาจไม่เคยได้ยินชื่อของ “หัวเหว่ย” แบรนด์ขายอุปกรณ์สื่อสารจากจีน แต่สำหรับในตลาดโลก “หัวเหว่ย” เริ่มรุกสร้างแบรนด์กับลูกค้าทั่วไป และในไทยกับโลกออนไลน์ที่ได้เริ่มขั้นแรกกับการแนะนำตัวกับบล็อกเกอร์ด้วยการเปิดตัวแท็บเล็ตไปแล้ว แต่ ณ เวลานี้ถือว่ายังโนเนมสำหรับผู้บริโภคทั่วไป

“ทู หมิง” ผู้อำนวยการแผนกเครื่องลูกข่าย บริษัทหัวเหว่ย เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด รู้ดีว่าในฐานะผู้มาใหม่ โจทย์สำคัญของ “หัวเหว่ย” คือความเป็นแบรนด์จีนที่ผู้บริโภคไทยยังไม่มั่นใจในคุณภาพ แต่คือความท้าทายที่ต้องต่อสู้ หวังว่าจะเป็น Underdog ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ

ความเป็นผู้ผลิตสินค้าไอทีให้กับแบรนด์ดังทั่วโลกมาก่อน ทำให้ “หัวเหว่ย” มั่นใจในเทคโนโลยี ที่จะเป็นจุดขาย ที่มาพร้อมกับราคาที่ “ทู หมิง” บอกว่าในสเปกเดียวกันคุณจะซื้อหัวเหว่ยได้ในราคาถูกกว่า เป็นกลยุทธ์ที่เน้นว่าทุกคนสามารถซื้อใช้ได้ เป็นการเก็บผู้บริโภคที่ไม่มีเงินพอ หรือไม่ยากจ่ายราคาแพงจนเกินไป

แน่นอนว่า “หัวเหว่ย” นอกจากจุดเด่นเรื่องราคาแล้ว จะมาพร้อมกับหน้าจอหลายขนาด เหมือนอย่างที่ซัมซุงเดินในทางสายนี้มาก่อน ซึ่ง “ทู หมิง” บอกว่าสินค้าต้องหลากหลาย มีทางเลือกให้ผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคต้องการประสบการณ์ที่แตกต่างกัน 

 การมาของ “หัวเหว่ย” กลายเป็นสัญลักษณ์ของสงครามราคา ขณะที่ยังมีผู้เล่นแบรนด์ดังอีกจำนวนมากยังพยายามทำตลาด ไม่ว่าจะเป็นโซนี่ โตชิบา เดลล์ และยังมีโลคัลแบรนด์หั่นราคาลงมาเต็มที่ ทำให้ล่าสุด “เอชทีซี” ยอมถอย ไม่ทำตลาดแท็บเล็ตในไทย หลังจากเปิดตัวแท็บเล็ต Flyer ในไทยเมื่อปลายปี 2554 

“ณัฐวัชร์ วรนพกุล” ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัทเอชทีซี (ไทยแลนด์) จำกัด บอกว่าตลาดแท็บเล็ตในไทยสำหรับผู้บริโภคทั่วไป เดินทางมาถึงจุดการคิดซื้อโดยพิจารณาจากราคาเป็นหลักแล้วจากการเข้ามาทำตลาดของแบรนด์จีน ดังนั้น เอชทีซีจึงขอถอยในตลาดลูกค้าทั่วไป เพราะไม่พร้อมแข่งราคา แต่หากจะมีลูกค้าองค์กรสนใจก็พร้อมขาย

เวลานี้เดิมพันของผู้เล่นในตลาดแท็บเล็ต จึงไม่ใช่แค่ต้องชนบิ๊กแบรนด์อย่าง “ไอแพด” แต่กลุ่ม Non iPad ยังต้องสร้างจุดแข็ง หาจุดเริ่มต้นเพื่อออกสตาร์ทอย่างสวยงาม และแน่นอนว่าการตลาดแบบ Mee too ไม่พอ จึงทำให้ตลาดแท็บเล็ตในเวลานี้เกิดโชว์เคสทางการตลาดใหม่ๆ ให้น่าติดตามอย่างไม่รู้จบ

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

Tablet
Infographic 400,000-500,0000
เครื่อง คือการคาดการณ์ของบริษัทวิจัยไอดีซีเกี่ยวกับยอดขายแท็บเล็ตในปี
2555 300,000
เครื่อง คือยอดผู้ใช้แท็บเล็ตในปี 2554
ในระบบของเครือข่ายมือถือ(ใช้ซิม 3G และ GPRS) 50% คือ จำนวนยอดขายแท็บเล็ตที่เพิ่มขึ้นในงาน
ไทยแลนด์ โมบายล์ เอ็กซ์โป 2012 900-22,000
บาท คือ ระดับราคาขายแท็บเล็ตในงาน
ไทยแลนด์ โมบายล์ เอ็กซ์โป 2012

ความต้องการซื้ออุปกรณ์ไอที Gadget
ของคนไทย (สำรวจอายุ15ปีขึ้นไป)

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วแต่ละบ้าน
เดสก์ท็อป 70% โน้ตบุ๊ก/แล็ปท็อป/เน็ตบุ๊ก 61% มือถือเชื่อมเน็ตได้ 77% แท็บเล็ต 26%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>ตั้งใจซื้ออุปกรณ์ใดใน 12 เดือนข้างหน้า เดสก์ท็อป 18% โน้ตบุ๊ก เน็ตบุ๊ก 29% สมาร์ทโฟน 22% แท็บเล็ต  41%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว
แต่ตั้งใจซื้อ มือถือ 93% สมาร์ทโฟน 60% ตั้งใจซื้อสมาร์ทโฟน 22%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

อุปกรณ์หลักที่เชื่อมอินเทอร์เน็ต เดสก์ท็อป 38% โน้ตบุ๊ก แล็ปท็อป เน็ตบุ๊ก 35% โทรศัพท์มือถือ 7%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

อุปกรณ์ที่เชื่อมเน็ตบ้าง เดสกท็อป 82% โน้ตบุ๊ก 81% มือถือ 63%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ใช้แอพพลิเคชั่นมือถือ ใช้ประจำ 50% ใช้แอพฯ ฟรี 75% จ่ายตังค์ซื้อแอพฯ 36%

ที่มา : Nielsen Southeast Asia
Digital Consumer Report เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคม 2554