ศึกแพ็กเกจจิ้ง “ชาเขียว”

แข่งกันแบบเบาะๆ สำหรับยกแรกชาเขียวประเดิมเปิดศึกช่วงต้นปี ด้วยการออกแพ็กเกจใหม่ ในรสชาติเดิม 

โออิชิออกอาวุธแรกของปี ด้วยบรรจุภัณฑ์ใหม่รูปแบบกระป๋อง 4 รสชาติ รสน้ำผึ้งผสมมะนาว รสข้าวญี่ปุ่น ต้นตำรับ และโออิชิ คิคุชะ ชาเขียวญี่ปุ่นผสมเก๊กฮวย ซึ่งเป็นรสชาติเดิม วางจำหน่ายกระป๋องละ 15 บาท ขนาด 320 ซีซี

อนิรุทธิ์ให้เหตุผลว่าแพ็กเกจใหม่นี้ ช่วยเติมเต็ม “พอร์ตสินค้า” ของโออิชิให้ครบถ้วน และยังช่วยตอบโจทย์กลยุทธ์เรื่องของ “ราคา” ทำให้เข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ดียิ่งขึ้น จากเดิมโออิชิมีแพ็กเกจกล่องยูเอชที ขนาด 250 ซีซี ราคาขาย 10 บาท จะเหมาะกับลูกค้าวัยเด็กนักเรียน วัย 8-12 ปี และขนาดใหญ่ 20 บาท ขนาด 500 ซีซี เหมาะกับกลุ่มคนวัยทำงาน  

ส่วนแพ็กเกจใหม่ที่มีราคา 15 บาท โดยเป็นราคาที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง 20 บาท และ 10 บาท ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น และยังได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะลูกค้าผู้หญิงที่มักต้องการดื่มแค่ครั้งเดียว 

แพ็กเกจแบบกระป๋อง ยังเป็นแนวทางการแตกยูนิตการขายแบบยกแพ็ก เนื่องจากถ้าเป็นแบบขวด PET บรรจุแพ็กใหญ่เป็นลัง 12 ขวด การซื้อยกแพ็กค่อนข้างลำบากสำหรับลูกค้า แต่สำหรับรูปแบบกระป๋อง มีแพ็ก 6 กระป๋อง นอกจากสะดวกสำหรับลูกค้าทั่วไป และยังเพิ่มช่องทางขายพิเศษผ่านร้านอาหาร ภัตตาคาร คลับต่างๆ 

ที่สำคัญไทยเบฟเวอเรจมีความพร้อมในเรื่องการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบกระป๋องอยู่แล้ว ไม่ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมเหมือนกับโรงงานโออิชิ การผลิตจึงทำได้เต็มที่ นอกจากนี้แพ็กเกจกระป๋องก็ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้บริโภคที่ได้รับรู้มาแล้วจาก “ชาคูลล์ซ่า” ที่โออิชิเปิดตัวทำตลาดไปเมื่อปีที่แล้ว 

หรือถ้าจะมองในอีกแง่หนึ่ง การออกแพ็กเกจใหม่ราคา 15 บาท เป็นตอบโต้ “อิชิตัน” ที่เคยใช้ช่องว่างราคาวางขายในราคา 16 บาท  ขนาด 420 ซีซี 

ถึงแม้ว่าช่องว่างราคาจะต่างกันแค่บาทเดียว แต่การใช้บรรจุภัณฑ์กระป๋องซึ่งคู่แข่งไม่มี ก็ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นถึงความแตกต่างได้  

งานนี้โออิชิต้องจัดเต็ม ลงทุนจ้าง “เคน ภูภูมิ” เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับแพ็กเกจใหม่โดยเฉพาะ อนิรุธให้เหตุผลว่า เพราะความสดใหม่ของเคน ภูภูมิ เพื่อสะท้อนถึงความเป็นแพ็กเกจใหม่ และยังเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง15-23 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก 

ส่วน “ตัน ภาสกรนที” รับมือด้วยออกแพ็กเกจยูเอชที ราคา 10 มีทั้งรสชาติเก่า และเพิ่มรสชาติใหม่ นอกจากออกมากระตุ้นให้พฤติกรรมการบริโภค “ชาเขียว” ไม่ต่างจาก ”บะหมี่สำเร็จรูปมาม่า” ที่ต้องมีแพ็กเกจใหม่และรสชาติใหม่ออกมาตลอดเวลา ยังตอบรับกับกำลังซื้อที่ลดลงของภาวะผู้บริโภคปีนี้ ที่จะหันมาเลือกซื้อสินค้าที่มีไซส์เล็กราคาถูกมากขึ้น 

ถึงแม้ว่าการแข่งขันระหว่างคู่แข่งคู่แข่งอย่างโออิชิและอิชิตัน เป็นเพียงการออกชารสชาติเดิม เปลี่ยนแพ็กเกจเพื่อกระตุ้นตลาด แต่ทั้งคู่ก็หวังว่าจะได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ก่อนจะจัดเต็มหลังจากโรงงานเริ่มเดินเครื่องช่วงเมษายน  

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

สัดส่วนยอดขายตามขนาดและรสชาติของโออิชิ

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ชนิด

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>สัดส่วนยอดขาย

style=”vertical-align: top; text-align: left; font-weight: bold;”>ขวด
PET ขนาด 500 ม.ล.

50-60%

style=”vertical-align: top; text-align: left; font-weight: bold;”>กล่องยูเอชที
ขนาด 250 มล.

25-30%

style=”vertical-align: top; text-align: left; font-weight: bold;”>ฟรุตโตะ
และชาคูลล์ซ่า

10% style=”font-weight: bold;”>กำลังการผลิตโรงงานโรจนะของอิชิตันปี 2555

style=”vertical-align: top; text-align: left; font-weight: bold;”>ขวด
PET

30 
ล้านขวด

style=”vertical-align: top; text-align: left; font-weight: bold;”>กล่องยูเอชที

20 ล้านกล่อง

style=”vertical-align: top; text-align: left; font-weight: bold;”>จ้างโรงงานยูโรเปี้ยน
ฟู้ด

10 ล้านกล่อง