แค่เห็น (โฆษณา) ไม่พอ ต้องสนุกถึงได้แชร์เพิ่ม

แค่แบนเนอร์พลิกไปพลิกมา หรือโฆษณาจากการค้นหาอย่างเดียวไม่พออีกต่อไป เพราะลูกเล่นโฆษณาในออนไลน์มีใหม่ทุกวัน โดยเฉพาะโฆษณาแบบอินเตอร์แอคทีฟ ภาพ วิดีโอ ที่กำลังสร้างเม็ดเงินมหาศาล นี่คือช่วงเวลาที่สื่อใหญ่อย่างกูเกิลเตรียมใช้เป็นอาวุธในตลาดโฆษณาออนไลน์รอบใหม่

หลังจากโปรโมตแบรนด์กูเกิล โครม และนำธุรกิจเอสเอ็มอีเข้ามาสู่โลกของกูเกิลแล้ว ต้นปี 2555 กูเกิลได้เวลาขายนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับการโฆษณาในออนไลน์ โดย “อริยะ พนมยงค์” หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ ประจำประเทศไทย พร้อมกับ ”โจแอนนา คาตาลาโน่” หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นใหม่ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดินสายพบกับเอเยนซี่และเจ้าของสินค้าหลากหลายแบรนด์ เพื่อเล่าถึง Display Advertising ที่กูเกิลลงทุนเพื่อทำให้การดูโฆษณาสนุกกว่าเดิม

“โจแอนนา” บอกว่าแบรนด์ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้โฆษณาน่าสนใจ ทำให้ลูกค้าสัมพันธ์กับแบรนด์ และสื่อสารกับแบรนด์มากกว่าเดิม 

ทั้งนี้ในโลกออนไลน์กูเกิลมีคู่แข่งมากมาย ทั้งในโลกของโซเชี่ยลมีเดียและเว็บไซต์เสิร์ชอื่นๆ ที่ต่างมองเห็นแนวโน้มของ Display Advertising แบบภาพวิดีโอ และอินเตอร์แอคทีฟกับผู้ชม และกูเกิลเองก็ได้เปิดตัวในต่างประเทศมาแล้วระยะหนึ่ง 

สำหรับประเทศไทยนั้น ”อริยะ” บอกว่าถึงเวลาเหมาะสมในการสร้างความเข้าใจให้เอเยนซี่และเจ้าของแบรนด์เพราะเทคโนโลยีในไทยรองรับทั้งในเรื่อง 3G และไฮสปีดอินเทอร์เน็ต ทำให้การส่งภาพเคลื่อนไหวได้เร็ว โฆษณาจึงมีลูกเล่นได้มากขึ้น และที่สำคัญคนไทยอยู่กับจออินเทอร์เน็ตมากขึ้น ไม่ว่าจะบนพีซี บนสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต

ความสนุกไม่น่าเบื่อคือหลักของ Display Advertising ที่ต้องมีความลงตัวกันระหว่างความสร้างสรรค์และเทคโนโลยี เช่น การเชื่อมโยงแบนเนอร์โฆษณากับคลิปวิดีโอในยูทูบแบบก๊อบปี้ภาพลงในคลิป (Minicry) หรือการเลือกเติมเนื้อหาในคลิประหว่างชมหนังโฆษณานั้นๆ ทำให้ผู้ชมสนุกมากขึ้น เช่นแบรนด์ Tipp-Ex สินค้าลิควิดเปเปอร์ ที่โดยตัวสินค้าไม่หวือหวานัก แต่ทำคลิปบนยูทูบเล่าเรื่องคนเข้าป่าและเจอหมี โดยให้ผู้ชมหยิบ Tipp-Ex จากแบนเนอร์ข้างจอคลิปนั้น มาป้ายคำและเติมสิ่งที่อยากทำ ทำให้กลุ่มเป้าหมายเชื่อมโยงกับแบรนด์ได้อย่างแนบเนียน เพราะเมื่อกลุ่มเป้าหมายสนุกก็มีการบอกต่อด้วย

นี่คือบทบาทของกูเกิลในการพัฒนาเทคโนโลยี นอกเหนือจากการพยายามดึงนักโฆษณาให้หันมาสนใจกูเกิลมากขึ้นจากการทำระบบการโฆษณาโดยระบุกลุ่มเป้าหมายแบบไมโครเซ็กเมนต์ และเวลาที่ต้องการโชว์โฆษณานั้นๆ 

อย่างไรก็ตาม ความพยายามนี้ ”อริยะ” บอกว่ากูเกิลยังมีโจทย์สำคัญคือการสร้างความเข้าใจกับผู้บริหารระดับที่มีอำนาจในการตัดสินใจ เพราะกูเกิลไม่ได้คิดว่าจะแย่งเม็ดเงินโฆษณาจากออนไลน์ที่มีเพียงประมาณ 1-2% ของตลาดโฆษณาเท่านั้น อย่างที่ย้ำคือเม็ดเงินโฆษณาในเมืองไทยทุกสื่อรวมกันมีมูลค่านับแสนล้านบาท นั่นคือสิ่งที่กูเกิลต้องการมากที่สุด

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ส่วนแบ่งเม็ดเงินโฆษณาออนไลน์จากงบรวม

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: left;”>ประเทศไทย

1-2% (ของเม็ดเงินรวมประมาณ 1
แสนล้านบาท)

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: left;”>สิงคโปร์

7%

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: left;”>ออสเตรเลีย

20%

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: left;”>อังกฤษ

30%

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: left;”>สหรัฐอเมริกา

25%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

โอกาสของสื่อโฆษณาในโทรศัพท์มือถือ

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>28%

เป็นจำนวนสมาร์ทโฟนของมือถือทั้งระบบในไทย

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>60%

ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเข้างานอินเทอร์เน็ต

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>45%

การใช้อินเทอร์เน็ตหลายครั้งในแต่ละวัน

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากรทั้งหมด

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>ทั่วโลก

 32%

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>เอเชีย

26%

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>ไทย

31% (ตุลาคม
2554)