เจาะลึกแอพพลิเคชั่นจาก 4 แบรนด์ดัง

แอพฯ โตโยต้า ความสนุก คือฟังก์ชัน

ไม่ใช่ผลิตรถให้ดีเท่านั้น แต่ขับแล้วต้องได้ความ “สนุก” ตื่นเต้นด้วย นี่คือความหมายภายใต้สโลแกน “Fun to drive” ที่โตโยต้าเลือกนำเสนอผ่านแอพพลิเคชั่น “Toyota smart G-BOOK” 

ไทยเป็นประเทศแรกนอกตลาดญี่ปุ่น ที่โตโยต้านำแอพพลิเคชั่นที่บริษัทแม่พัฒนาขึ้นใช้งานทั้งไอโอเอส และแอนดรอยด์มาให้บริการ โดยใช้โอกาส่โตโยต้าครบรอบ 50 ปี และจังหวะที่สมาร์ทโฟนของไทยกำลังเติบโตเต็มที่ และสร้างความเชื่อมั่นหลังจากเพิ่งผ่านพ้นกับวิกฤติภัยพิบัติมามาหมาดๆ 

แน่นอนว่า ถ้าเป็นประเทศไทยแล้ว เรื่องของรถกับปัญหาจราจรเป็นของคู่กัน ฟังก์ชันแอพฯ สมาร์ทจีบุ๊กในไทยจึงถูกตีโจทย์ออกมาเป็น 3 บริการหลักๆ ระบบตรวจสอบสภาพจราจร และแจ้งสถานะการจราจรแบบเรียลไทม์ และยังเพิ่มบริการให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนเมือง คือหาสถานที่สุดฮิต ร้านน่ากิน สถานที่ท่องเที่ยว ฟังก์ชันนี้จะเป็นเหมือนผู้ช่วยส่วนตัว อัพเดตสภาพการจราจร เส้นไหนควรใช้ เส้นไหนควรเลี่ยง ช่วยลดเวลาการเดินทาง

เวอร์ชั่นในไทย ยังเพิ่มฟังก์ชัน G-Road และ G-Life  โทรขอความช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ระบบจะเชื่อมต่อกับสัญญาณจีพีเอส และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อมีอุบัติเหตุ โอเปอเรเตอร์ที่รับแจ้งเหตุ จะประสานงานให้ความช่วยเหลือได้ทันที 

แอพฯ นี้อาจแปลกหน่อยตรงที่ นอกจากข้อมูลที่ขอมาจะถูกบันทึกไว้แล้ว ทั้งการสอบถามเส้นทาง หรือแจ้งเหตุฉุกเฉิน ทำผ่านโอเปอเรเตอร์ ตลอด 24 ชั่วโมง เรียกว่า ไม่เน้นไฮเทคอย่างเดียว แต่ดูสภาพการใช้งานจริงด้วย

นี่คือ ความสนุกในการขับขี่ สไตล์โตโยต้า แม้จะพยายามผนวกเรื่องไลฟ์สไตล์มาบ้าง แต่ก็ยังคงเน้นฟังก์ชันการใช้งานเป็นหลัก ทำแอพฯ มาแล้วต้องกระตุ้นให้คนมาโหลด โตโยต้าจึงจัดเต็ม ทุ่มโปรโมตทั้งสื่อดั ทีวี สิ่งพิมพ์ วิทยุ และออนไลน์ แถมยังมี แอฟ-ทักษอร สุขภักดิ์เจริญ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์  

ทางออนไลน์ ก็ให้สิทธิ์ 5,000 รายแรกลงทะเบียนใช้ฟรีผ่านเว็บ ส่วนอีก 50,000 แอพฯ จะให้กับลูกค้าโตโยต้า จะพ่วงด้วยการกิจกรรมการตลาดตลอดทั้งปี ถ้าเป็นลูกค้าทั่วไป โหลดใช้ในราคา 31.99 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 999 บาท) โดยได้รับสิทธิประโยชน์รับบริการผ่าน smart G-BOOK Call Center ฟรี 1 ปี 

 

เซ็นทรัลออกแอพฯ กระตุ้นช้อป

ค่ายเซ็นทรัลฯ ออกแอพฯ shop@centra เอาใจนักช้อป และเป็นอีกแบรนด์ที่ต้องการเชื่อมโลกออนไลน์มาสู่โลกแห่งการช้อปจริง โดยให้แบรนด์ติดตามผู้บริโภคไปได้ทุกที่ทุกเวลา 

ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) บอกว่าแอพฯ นี้จะสร้างช่วยความคุ้นเคยระหว่างลูกค้าและห้างด้วยข้อมูลที่ลูกค้าสนใจ เช่น เทรนด์แฟชั่น และใช้กิจกรรมส่งเสริมการขาย ชิงโชค แจกคูปอง ส่วนลด เพื่อกระตุ้นให้มาช้อปที่ห้าง โดยยอดโหลดแอพฯ บางส่วนจะมาจากฐานลูกค้าที่เป็นแฟนเพจอยู่ในเฟซบุ๊กของ CPN จำนวน 2แสนคน 

ในอนาคตเขาหวังว่าแอพฯ จะเป็นเครื่องมือใช้สร้างการทำตลาดให้กับแบรนด์และสินค้าต่างๆ ที่มาเช่าพื้นที่ห้างฯ ด้วย 

 

เดอะมอลล์ ทำแล้วต้องทอล์ก

ถึงธุรกิจค้าปลีกจะมี “บัตรรอยัลตี้การ์ด” ไว้ดึงดูดลูกค้าเหนียวแน่นกับห้างฯ แต่การแข่งขันยุคนี้บัตรอย่างเดียว “เอาไม่อยู่” ต้องมีโมบายล์แอพฯ มาช่วยเข้าถึงลูกค้าคนรุ่นใหม่ ทำให้ค่ายเดอะมอลล์กรุ๊ป ต้องพัฒนาแอพฯ ให้ทั้งข้อมูล ข่าวสาร โปรโมชั่น ส่วนลดพิเศษ รองรับกับห้างฯ ในเครือเดอะมอลล์ สยามพารากอน หรือเอ็มโพเรียม ซึ่งข้อมูลและลูกเล่นในแอพพลิเคชั่น หวังถึงขั้นให้ป็น Viral Marketing หรือบอกต่อปากต่อปาก

 

ขายตรงยุคนี้ต้องมีแอพฯ  

หลังจาก แอมเวย์ ประกาศใช้ “แอพฯ” เป็นช่องทางสื่อสาร นักธุรกิจแอมเวย์ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าแบบเรียลไทม์แล้ว และยังสร้างเป็นแคมเปญ ซีเอสอาร์ ได้น่าตื่นตาตื่นใจไปแล้ว 

นู สกิน ค่ายขายตรงอีกแห่ง ที่แอพพลิเคชั่นบนมือถือตามมาติดๆ ภายใต้ชื่อ Nu Skin Opportunityเป็นเครื่องมือให้ผู้แทนจำหน่าย ไม่ต้องพกเอกสารเป็นเล่มๆ แล้ว เพราะแอพฯ ตัวนี้จะมีข้อมูลผลิตภัณฑ์ ข่าวสารความเคลื่อนไหว และยังผนวกเอา age LOC ME age LOC ME แอพพลิเคชั่น ทำนายอายุผิวบนมือเข้าไว้ด้วยกัน 

ติดต่อหาสมาชิก พกแค่สมาร์ทโฟน นอกจากเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้สะดวกขึ้น ยังทำให้แบรนด์ดูดี นาเชื่อถือ