เกาะติดเวทีคานส์ รางวัลโฆษณาดิจิตอลจะเป็นของใคร?

สหรัฐ สวัสดิ์อธิคม กรรมการไทยคนแรกใน Cyber Lions  

รางวัลงานโฆษณาดิจิตอล จากเวทีคานส์ไลออนส์ปีนี้จะเป็นของใคร ? มาร่วมเกาะติดการตัดสินผลงานโฆษณาดิจิตอล จากมุมมองของ สหรัฐ สวัสดิ์อธิคม กรรมการผู้จัดการร่วมและหุ้นส่วน CJ Worx  ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในกรรมการ ตัดสินผลงานโฆษณาดิจิตอล  หรือ “Cyber Lions” จากเวที Cannes Lions International Festival of Creativity 2012  สามารถติดตามแบบ Real Time ผ่านเว็บไซต์ www.positioningmag.com และหน้าแฟนเพจ www.facebook.com/positioningmag แบบ Exclusive ที่นี่ที่เดียว  

Cyber Lions เป็นรางวัลที่มอบให้กับโฆษณาดิจิตอล ในเวที Cannes Lions International Festival of Creativity ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1998 และปีนี้ก็ปีแรกที่วงการโฆษณาของประเทศไทยได้รับเลือก ให้ไปนั่งกรรมการ 1 คน เข้าไปร่วมตัดสินในรางวัลนี้ 

ด้วยประสบการณ์ในสายดิจิตอลมานาน และยังเคยฝากผลงานผ่านเวทีประกวดในเวทีตัดสินโฆษณาระดับนานาชาติอยู่บ่อยครั้งทำให้ สหรัฐ สวัสดิ์อธิคม ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของประเทศไทยในเวทีแห่งนี้  โดยก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นกรรมการที่คานส์ ไลอ้อนส์มาแล้ว 2 ครั้ง ในหมวด Direc Lions 

“เวทีนี้ หินมากๆ จากผลงานที่ส่งมาทั้งหมด มีแค่ 2% ที่ผ่านเข้ารอบ แต่พอเราเป็นกรรมการเราได้ดูงานทั้งหมด แต่ถ้าเป็นคนทั่วไปจะได้เห็นแค่ที่เขาคัดมา แค่ 2%” 

ในมุมมองของสหรัฐ การส่งงานเข้าไปในการประกวดโฆษณาดิจิตอล นอกจากต้องมีเรื่อง ไอเดีย เทคโนโลยี งานคราฟท์แล้ว การพรีเซเนต์ ก็ต้องออกมาให้ถูกใจคณะกรรมการ 25 คน ที่ล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแวดวงโฆษณาดิจิตอล 

คณะกรรมการทั้ง 25 คน จะคัดเลือกรอบแรกที่ประเทศตัวเองก่อน หรือที่เรียกว่า Internet Judging รอบนี้แต่ละคนจะต้องล็อคอินเข้าหน้าเว็บที่จัดทำขึ้นมาเฉพาะ ข้างในจะมีผลงานกับเกณฑ์คะแนน 1-9 เมื่อกรรมการแต่ล่ะคนเลือกเสร็จแล้วคะแนนก็จะถูกนำไปรวมแล้วหารค่าเฉลี่ย 

สหรัฐ เล่าวว่า ทริคของการตัดสินในรอบนี้ก็คือ ถ้างานชิ้นไหนดีมากก้ต้องให้ 9 คะแนนไปเลย ส่วนงานที่ดีระดับหนึ่งก็ให้ 7 คะแนน ส่วนงานไหนที่คิดว่าไม่ควรเข้ารอบก็ให้ 1 คะแนน เพื่อดันให้ผลงานที่ไม่ดีตกรอบไป  โดยไม่ต้องเสียเวลาเฉลี่ยคะแนน หลังจากนั้นคณะกรรมการจึงทำงานร่วมกันอีก 2 ครั้งที่เมืองคานส์ เพื่อเลือก Shortlist ดูว่าผลงานไหนควรได้รางวัลอะไร ซึ่งขั้นตอนนี้โหวตร่วมกัน รวมทั้งถกเถียงกันได้ด้วย    

“การตัดสินหมวดไซเบอร์ ก็คงต้องพิจารณาทั้งไอเดียและเทคโนโลยีควงคู่กัน เพราะถ้าหากว่าผลงานส่งเข้ามา ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีที่เป็นข้อกำหนดในแคทริกอรี่นั้นๆ อย่างเต็มที่ พอเข้าไปถึงรอบสุดท้ายก็ต้องแพ้พวกที่ใช้เทคโนโลยีเยอะๆ อยู่ดี ซึ่งผลงานที่จะได้เข้ารอบต่อไปก็ต้องมีเพียงโหวตให้ผ่าน 75%  เพราะฉะนั้นมันง่ายมาก ถ้าหากว่างานมันคราฟท์มาไม่ดี คลิกแล้ว Error มันก็ถูกเขี่ยออกได้เลย แล้วเวลาพรีเซเนต์มันต้องตรงประเด็น อย่าให้กรรมการเสียเวลาคลิก หรือพวกที่ให้กรรมการมานั่งอ่านซับไตเติ้ลนี่ก็ถูกคัดออกง่ายๆ เหมือนกัน”   

ส่วนขั้นตอนต่อไปจะเป็นอย่างไร ติดตามได้จาก “สหรัฐ สวัสดิ์อธิคม” จะพาไปดูเบื้องหลังการตัดสิน ที่เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ผ่านเว็บไซต์  www.positioningmag.com และหน้าแฟนเพจ www.facebook.com/positioningmag แบบ Exclusive  ที่นี่ที่เดียว