IPTV รีเพลย์

เมื่อชีวิตของคนรุ่นใหม่คือการอยู่ในโลกออนไลน์เกือบตลอดเวลา ทำให้คนรุ่นนี้กลายเป็นผู้บริโภคที่ไม่ได้นั่งนิ่งอยู่หน้าทีวีอย่างเดียว แต่จะอยู่บนอินเทอร์เน็ตมากกว่า นี่คือโอกาสของคอนเทนต์ที่อยากเข้าถึงคนรุ่นใหม่ และคือการกลับมาอีกครั้งของ IPTVและธุรกิจที่มาต่อยอดจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านกล่องแปลงสัญญาณ

“สุทธิพงศ์ วิริยะบุศย์” รองประธานกรรมการบริหาร (อาวุโส) สายปฏิบัติการ บริษัท วี.อาร์.เอ็ม.วอยซ์พลัส จำกัด ผู้ให้บริการIPTV (Internet Protocol television) ภายใต้แบรนด์ Vooz TV คือหนึ่งในผู้เล่นของธุรกิจนี้ที่ผันตัวเองจากธุรกิจให้บริการ IPTV ในโรงแรมมานานกว่า 10 ปี จนเมื่อปี 2554 เริ่มขยายธุรกิจสู่ผู้บริโภคทั่วไป เพราะเห็นว่าธุรกิจ IPTV สำหรับผู้ชมทั่วไปเริ่มมีโอกาสดีขึ้น โดยเฉพาะไฮสปีดอินเทอร์เน็ตได้เข้าถึงบ้านผู้ชมจำนวนมากและความเร็วมากพอ ที่โมเดลของ Vooz TV ขออย่างต่ำแค่ 2 Mbps ก็สามารถ ส่งสัญญาณภาพได้แล้ว นอกเหนือจากการสำรวจที่พบว่าปัจจุบันการรับชมรายการผ่านฟรีทีวีและเคเบิลทีวีมีข้อจำกัด

จากความตั้งใจเดิมจะร่วมมือกับทีโอทีในการแถมหรือให้ซื้อกล่อง Vooz TV ในราคาพิเศษในแพ็กเกจไฮสปีดอินเทอร์น็ต แต่เมื่อการเจรจากับภาครัฐอย่างทีโอทีไม่ลงตัว Vooz  TV จึงลงมือรุกธุรกิจเอง โดยเริ่มขายกล่องจากราคาประมาณ 8,000 บาท เหลือ 4,000 บาท

ด้วยยุทธศาสตร์ที่ “สุทธิพงศ์” บอกว่าเขาใช้วิธีหาพันธมิตรที่เป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ให้มากที่สุดมาออกอากาศ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นจุดดึงลูกค้ามาซื้อกล่อง และเป็นช่องทางโปรโมตให้ลูกค้ามาซื้อกล่องมากขึ้น ปัจจุบัน Vooz TV มีรายการจากกลุ่มทีวีดาวเทียมที่ออกสด หรือนำมารีรัน รายการเฉพาะกลุ่มเฉพาะอย่าง Spokedark TV

มีรายได้จากการจ่ายเงินซื้อแบบออนดีมานด์ เช่น หนังต่างประเทศที่ใหม่เทียบเท่ากับร้านเช่าวิดีโอ เพลงคาราโอเกะ รวมไปถึงหนังสำหรับผู้ชมที่เป็นผู้ใหญ่เท่านั้น ที่มีลูกค้าจำนวนมากแล้ว ที่ยอมจ่ายเงินซื้อ 

นอกจากโมเดลธุรกิจที่สุดท้ายปลายทางคือรายได้จากโฆษณา และการเปิดช่องให้แบรนด์หรือองค์กรที่อยากสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรงของตัวเอง หรือแม้แต่ติวเตอร์ก็สามารถใช้ช่องทางนี้ในการทำรายได้มากขึ้น ผ่านระบบพรีเพด

แน่นอนว่าไลฟ์สไตล์ของคนที่อยากดูรายการทุกทีตามที่สะดวก ทำให้ Vooz TV อยากขยายฐานผู้ชมไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่สิ่งที่ยังทำให้ขยายไม่ได้คือการรอเครือข่าย 3G อย่างแท้จริง

“สุทธิพงศ์” บอกว่าผลการสำรวจผู้บริโภคมีความชัดเจนว่าต้องการความสะดวกและต้องการชมรายการที่ต้องการ สำหรับ Vooz TV จึงเป็นอีกกล่องหนึ่งที่หวังว่าจะอยู่ในบ้านของผู้ชมให้ได้ ด้วยเป้าหมายสิ้นปี 2555  กับจำนวน 3 แสนกล่อง 

แม้ภายหลังการทดลองให้บริการกล่อง Vooz TV เขาได้สำรวจความเห็นของผู้บริโภคกลุ่มหนึ่ง ได้คำตอบว่ากลุ่มเป้าหมายชอบเหมือนกันในอันดับต้นๆ คือ มีโปรแกรมให้เลือกหลากหลาย รู้สึกว่ามีทางเลือกในการดูหนัง และมีความสะดวก แต่สิ่งที่ไม่ชอบคือ การดาวน์โหลดช้า สัญญาณไม่ดีหรือไม่ต่อเนื่อง หนังยังเก่า นี่คือโจทย์สำหรับ Vooz TV ที่ต้องพยายามหาคำตอบ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตดังที่หวัง ท่ามกลางทางเลือกมากมายของผู้บริโภค

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ความต้องการชมทีวีและการรับรู้
จากการสำรวจผู้ชมในกลุ่มฟรีทีวีและเคเบิลทีวี ที่ทำให้ Vooz TV
เห็นว่ามีโอกาสทางธุรกิจสำหรับ IPTV กลุ่มฟรีทีวี 1.ความสะดวก 47% 2.ไม่มีค่าบริการรายเดือน 23% 3.ราคาถูก
ไม่มีค่าธรรมเนียม 13% 4.มีรายการมากพอ 7% 5.ดูผ่านอินเทอร์เน็ตได้ 7% 6.ไม่จำเป็นต้องปรับสัญญาณ 3% 7.เคเบิลราคาถูกจะคุณภาพต่ำ 3% 8.เคเบิลราคาแพง 3% 9.ภาพคมชัดดีแล้ว 3% 10. 7
ช่องนี้พอแล้ว –

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

กลุ่มเคเบิลทีวี 1.มีรายการจำนวน

39% 2.ภาพคมชัด 36% 3.จำนวช่องมาก 29% 4.สะดวก 20% 5.ราคาถูก 10% 6.มีรายการต่างประเทศ 7% 7.ค่ายธรรมเนียมติดตั้งไม่แพง 3% 8.มีเพลงต่างประเทศ 3% 9.มีโปรโมชั่นบนมือถือทรู

2% 10.มีหลายแพ็กเกจให้เลือก – ที่มา :
ผลสำรวจโดยที่ปรึกษาของ Vooz TV

บทเรียน IPTV 

“ปราโมทย์ บุญนำสุข” ผู้จัดการทั่วไป บริษัทดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ในเครือบริษัทไทยคม  บอกว่า ไอพีทีวีในปัจจุบันมีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น เมื่อเทียบกับที่บริษัทเคยทำธุรกิจนี้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่ไม่สำเร็จ เพราะเทคโนโลยีไม่อำนวย คือความเร็วอินเทอร์เน็ตสูงสุดแค่ 250 Kbps จากปัจจุบันความเร็วที่ใช้กันทั่วไปตั้งแต่ 6 Mbps แล้ว นอกจากนี้เครือข่ายมือถือก็เร็วขึ้น โอกาสของไอพีทีวีผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ก็มีสูงเช่นกัน

ปัจจุบันเราจะเห็นคอนเทนต์ที่หลากหลายจากยูทูบ เช่นละครออนแอร์รีรัน ผู้บริโภคมีความต้องการหลากหลาย รายการจึงเฉพาะเจาะจงมากขึ้น 

ในความเห็นของ “ปราโมทย์” รูปแบบรายการที่เป็นไปได้ และสามารทำเงินได้จากเครือข่าย IPTV  ซึ่งสามารถทำระบบอินเตอร์แอคทีฟได้ เช่น 

1.การทำอีเวนต์ รายการให้คนมีส่วนร่วม เช่นการแข่งขัน แล้วต้องให้คนติดตาม มีเพื่อนผู้แข่งขันติดตาม ให้แชต มีการอินเตอร์แอคทีฟ 

2.โอกาสโฆษณาและขายสินค้าได้เลย เช่นตัวละครใส่เสื้อสวย ก็สามารถคลิกต่อดูได้ หรือซื้อต่อออนไลน์

3.ให้อินเตอร์แอคทีฟ เช่นดูละคร ให้ทางเลือกในการเลือกเลยว่าผู้ชมอยากดูตอนจบแบบไหน แล้วให้เลือกแบบเรียลไทม์ได้ เป็นการเพิ่มความบันเทิงมากขึ้น

4.คอนเทนต์ที่ขายได้ หรือคนยอมจ่ายซื้อเพื่อดู เพราะมีความโดดเด่น ต่าง ได้ความรู้เฉพาะทาง