ย้อนรอยศึกชิงพรีเมียร์ลีก ในไทย

ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ เป็นคอนเทนต์ยอดนิยม ที่ดึงดูดผู้ชมในธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิกมาตั้งแต่สมัยที่ไอบีซี ของกลุ่มชินวัตร และยูทีวี ของกลุ่มทรู ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ยูบีซี และทรูวิชั่นส์ในปัจจุบัน

ผลจากการระเบิดสงครามเคเบิลทีวี ระหว่างไอบีซี และยูทีวี ในยุคนั้น ที่มีการทุ่มซื้อลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก เพื่อสร้างความได้เปรียบจากฟรีทีวี และให้เหนือกว่าคู่แข่งเคเบิลทีวีด้วยกัน จนตัวเลขถูกปั่นสูงขึ้น เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ไอบีซีรวมกิจการกับยูทีวี หลังจากต้องประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง รวมถึงเหตุผลด้านการเมือง

แม้จะหมดคู่แข่งในประเทศแล้ว แต่ทรูวิชั่นส์ยังมี ESPN เจ้าของรายการกีฬา ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาขายต่อให้ผู้ประกอบการในประเทศต่างๆ โดยช่วงหลังทรูวิชั่นส์ ได้ทุ่มแข่งซื้อลิขสิทธิ์จาก ESPN มาได้ต่อเนื่อง 15 ปี โดยมูลค่าลิขสิทธิ์ครั้งสุดท้ายใน 3 ฤดูกาล สิ้นสุด 2012/2013 มีมูลค่า 2,400 ล้านบาท โดยทรูวิชั่ส์มีผู้ชมที่ดูรายการพรีเมียร์ลีก เป็นประจำ 1.5 แสนราย หรือ 30% ของลูกค้า 5 แสนรายที่เป็นฐานสมาชิกไฮเอนด์

การคว้าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดพรีเมียร์ลีก ใน 3 ฤดูกาล ระหว่างปี 2013-2016 ส่งผลให้ราคาประมูลพุ่งสูงขึ้น 300 ดอลลาร์ หรือเกือบ 1 หมื่นล้านบาท แลกกับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด All Right ครอบคลุม ไทย กัมพู ชา และลาว