กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จับมือ “ป็อปปูล่าร์ แมคคานิกส์” และ “ไฮเนเก้น” ประกาศผลการประกวดหุ่นยนต์ฝีมือคนไทย จากจำนวนผู้สนใจสมัครเข้าร่วมแสดงความสามารถกว่า

กรุงเทพฯ – เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับนิตยสารป็อปปูล่าร์ แมคคานิกส์ และเบียร์ไฮเนเก้น โดยบริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด จัดงานประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัลการประกวดออกแบบและผลิตหุ่นยนต์ฝีมือคนไทย โครงการ “Popular Mechanics Robot Contest” โดยมี ฯพณฯ นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธาน และคุณปีย์ มาลากุล ประธานกรรมการ บริษัท แปซิฟิค เฮิร์สท์ จำกัด ร่วมด้วยนายปัญญา ผ่องธัญญา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ให้การต้อนรับ ณ โรงภาพยนตร์ SFX เซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว

รายละเอียดผู้ชนะสำหรับการตัดสินในครั้งนี้ เนื่องด้วยเหตุผลทางด้านเทคนิคของตัวหุ่นของผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้ง 5 ทีม คณะกรรมการตัดสินจึงได้พิจารณาเห็นสมควรมอบเพียงรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลชมเชยเท่านั้น โดยทีมที่ได้รับพิจารณาให้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศและได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ มีดังนี้

– ทีม “Bit_Kcuf” จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผลงาน “แปลงร่างจากกระป๋องเบียร์ไฮเนเก้นเป็นหุ่นยนต์”

– ทีม “ยอดคนกินยอดข้าว” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงาน “แปลงร่างจากกระป๋องเบียร์ไฮเนเก้นเป็นนกอินทรีย์”

– ทีม “Beerbot” จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผลงาน “แปลงร่างจากขวดเบียร์ไฮเนเก้นเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มดวงดาว Sagittarius”

ซึ่งคณะกรรมการได้อนุญาตให้ทั้ง 3 ทีมใช้เวลาเพิ่มเติมในการพัฒนาและผลิตหุ่นดังกล่าวเพื่อนำมาเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาผู้ชนะที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต่อไป

สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลชมเชยและได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่

– ทีม “Heineken Robot” จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผลงาน “แปลงร่างจากขวดเบียร์ไฮเนเก้นเป็นหุ่นยนต์”

– ทีม “Third Evolution” จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผลงาน “แปลงร่างจากกระป๋องเบียร์ไฮเนเก้นเป็นหุ่นยนต์ รถยนต์ และสิงโต”

โครงการ “Popular Mechanics Robot Contest” คือโครงการการประกวดออกแบบและผลิตหุ่นยนต์ฝีมือคนไทย ที่นิตยสารป็อปปูล่าร์ แมคคานิกส์จัดขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 1 ปีของการวางจำหน่ายในประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านงบประมาณจากเบียร์ไฮเนเก้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวไทยผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา ซึ่งเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์และสนใจด้านเครื่องยนต์ กลไกได้มีเวทีในการส่งผลงานเข้าประกวดเพื่อแสดงศักยภาพต่อสาธารณชน อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศ โดยมีผู้ให้ความสนใจส่งผลงานเข้าแข่งขันกว่า 50 ทีม รวมประมาณ 180 คน

เกณฑ์ที่คณะกรรมการผู้ทรงวุฒิใช้พิจารณาตัดสิน ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ของแบบและความสวยงามของหุ้นยนต์ ความเป็นไปได้ในการจัดสร้างจริงและการดูแลรักษา เทคนิคและความสามารถของหุ่น ตลอดจนกลไกภายในของหุ่น โดยหุ่นจะต้องมีความแข็งแรงทนทาน มีความสูงก่อนการเปลี่ยนรูปร่างไม่ต่ำกว่า 80 ซ.ม. และสามารถตั้งอยู่บนฐานขนาด 150 x 150 ซ.ม. ได้

โครงการ “Popular Mechanics Robot Contest” เปิดรับสมัครและรับส่งแบบงานระหว่าง 18 ธันวาคม 2546 ถึง 23 มกราคม 2547 ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบ 12 ทีมเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 และประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบ 5 ทีมสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยผู้ได้รับคัดเลือกทั้ง 5 ทีมต่างได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินการผลิตหุ่นยนต์จากเบียร์ไฮเนเก้นแบบละ 100,000 บาท และได้ทำการประกาศผลการประกวด พร้อมทั้งมอบรางวัลแก่ผู้ชนะในปลายเดือนมีนาคม 2547ที่ผ่านมา