นวัตกรรมใหม่เพื่อการผ่าตัดที่ง่ายและปลอดภัย

ปัจจุบันนี้ มีอุปกรณ์และซอฟท์แวร์จำนวนมากที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้แพทย์ทำหัตถการกับผู้ป่วยได้ง่าย ยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนการวินิจฉัย หรือการรักษาก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทาง ด้านศัลยกรรมแบบไม่เปิดแผล ( Minimal invasive surgery การผ่าตัดผ่านกล้องหรือสายสวนหลอดเลือด ) ที่กำลังทวี ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างนวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจก็คือ อุปกรณ์บอกตำแหน่งอวัยวะเป้าหมายด้วยคลื่นแสง หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะช่วยให้แพทย์ทำการผ่าตัดทำได้ด้วยความแม่นยำและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นาย Frederic Mouret ผู้จัดการและผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ของบริษัท Protomed ซึ่งเป็นบริษัทที่ออกแบบอุปกรณ์ทางการแพทย์กล่าวว่า “ทาง บริษัทจะเร่งการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านศัลยกรรมชนิดใหม่นี้ให้มากขึ้น เพื่อให้การรักษาแบบนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ทางการแพทย์ได้ทุกแขนงในอนาคต”

มองเห็นชัดเจนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

การจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ หรือ Radio frequencies (RF) เป็นวิธีการรักษามะเร็งวิธีหนึ่งซึ่งอาศัยคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าเป็นตัวสร้างความร้อนเข้าไปทำลายเซลเนื้องอก โดยไม่จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดหรือใช้แสงเลเซอร์ ขั้นตอนการรักษา จะต้องมีการใช้เข็มปักลงไป โดยให้ปลายอยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของตัวเนื้องอกพอดี เข็มดังกล่าวจะมีสายต่อกับอุปกรณ์ที่ สามารถสร้างความร้อนเผาปลายเข็มให้มีอุณหภูมิสูงประมาณ 80-100 องศาเซลเซียส ซึ่งมากพอที่จะทำให้เซลเนื้องอก เหล่านั้นตายได้ วิธีการนี้สามารถใช้ได้กับเนื้องอกบางชนิด เช่น มะเร็งตับ หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก ก่อนจะทำการรักษานั้น แพทย์จะต้องตรวจร่างกายผู้ป่วยด้วยเครื่องเอกซ์เรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ MRI เพื่อกำหนดขอบเขตตำแหน่งของเนื้องอก ที่จะทำการรักษาให้ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้คลื่นความร้อนดังกล่าวแผ่กระจายไปโดนอวัยวะข้างเคียงที่สำคัญได้ แต่อย่างไรก็ตามในขณะทำการรักษาจริงก็ยังไม่มีเครื่องมือใดที่จะช่วยบอกได้ว่าคลื่นความร้อนได้ออกไปนอกเกินขอบเขตอวัยวะเป้าหมายหรือไม่ จุดนี้เองทำให้ บริษัท Image Guided Therapy ห้องปฏิบัติการ IMF แห่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ แห่งชาติฝรั่งเศส (CNRS) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองบอร์โดซ์ ทำการพัฒนาโครงการ Thermoguide ซึ่งจะช่วยพัฒนาอุปกรณ์ที่ จะช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นภาพอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ ลึกลงไปใต้ผิวหนังได้อย่างต่อเนื่อง แม้ขณะทำการรักษาด้วยคลื่น ความถี่วิทยุก็ตาม ในขณะเดียวกัน บริษัท Mauna Kea Technologies ซึ่งตั้งอยู่ในมหานครปารีส ก็ได้ทำการพัฒนา อุปกรณ์ซึ่งสามารถทำให้เรามองเห็น ภาพอวัยวะของผู้ป่วยได้ละเอียดจนถึงระดับโมเลกุลอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน โดยนาย Benjamin Abrat ผู้ก่อตั้งบริษัทแห่งนี้ได้กล่าวว่า “การมองเห็นภาพอวัยวะอย่างละเอียดจนถึงระดับเซลนั้น เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับการ วินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีการใหม่ของเรานี้ทำให้แพทย์สามารถเห็นภาพเนื้อ เยื่อผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม้จะอยู่ลึกลงไปใต้ผิวหนังก็ตามซึ่งอาจช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งในระยะเริ่มแรกได้อย่าง ที่ไม่เคยมีวิธีการใดทำได้มาก่อน “

อุปกรณ์ดังกล่าวนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นขอบเขตของเนื้องอก รวมทั้งสามารถวัดขนาดได้อย่างแม่นยำบนจอ คอมพิวเตอร์ และในขณะทำการรักษาอุปกรณ์ดังกล่าวก็สามารถแสดงขอบเขตการแผ่ความร้อนจากปลายเข็ม รวมทั้ง ขอบเขตของเนื้อที่ถูกทำลายได้อีกด้วย เครื่องมือชนิดนี้จะทำการวิเคราะห์ขอบเขตการรักษาโดยอาศัยข้อมูลจากภาพถ่าย รังสี MRI ของผู้ป่วยที่ได้ทำไว้ล่วงหน้าก่อนรักษา ในอนาคตทางบริษัทมีนโยบายจะพัฒนาระบบความปลอดภัย ซึ่งจะตัด กำลังของคลื่นความถี่วิทยุโดยอัตโนมัติหากความร้อนแผ่ออกไปเกินกว่าอวัยวะเป้าหมายที่ต้องการ นอกจากนี้ ทางบริษัท ยังมีโครงการพัฒนาอุปกรณ์เสริมให้กับเครื่องเอกซ์เรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) รุ่นเก่าทุกรุ่นเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับ เครื่องจี้ เนื้องอกชนิดใหม่ดังกล่าวได้

เย็บแผลโดยไม่ต้องผูกเงื่อนอีกต่อไป

ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งในระหว่างทำการผ่าตัดก็คือ การผูกไหมเย็บแผลในบางครั้งทำได้ไม่แน่นหนาเพียงพอที่จะ ยึดเนื้อเยื่อเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจเนื่องมาจากบริเวณผ่าตัดนั้นแคบเกินกว่าจะผูกด้วยมือหรือไหมเย็บแผลมีปลายที่สั้นเกินไป แต่นับจากนี้ทางห้องปฏิบัติการด้านชีวกลศาสตร์หัวใจและหลอดเลือดของบริษัท Protomed ซึ่งตั้งอยู่ที่ Technop?le de Ch?teau-Gombert เมืองมาร์เซยย์ ประเทศฝรั่งเศส (เป็นการร่วมมือกันระหว่างคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่ง เมดิเตอร์เรเนียนและสถาบัน CNRS) ได้พัฒนาอุปกรณ์ผูกไหมเย็บแผลชนิดใหม่ภายใต้ชื่อว่า Sudyn อุปกรณ์ชนิดนี้มี ลักษณะเป็นตัวหนีบขนาดเล็กสำหรับยึดปลายไหมทั้งสองด้านเข้าด้วยกันแทนการผูกเงื่อน ซึ่งจะรับประกันได้ว่าปมที่ผูก จะมีความแข็งแรงพอเพียงสำหรับการยึดเนื้อเยื่อเข้าด้วยกัน อุปกรณ์ชนิดนี้ผลิตขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้กับไหมเย็บ แผลทุกชนิด โดยทำมาจากสารโพลิโปไฟลีน ซึ่งสามารถละลายได้เองหลังจากผ่าตัดไปได้ประมาณสามสัปดาห์ ในตอนแรก อุปกรณ์ Sudyn พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือดเท่านั้น แต่จากคุณสมบัติที่ละลายได้เองหลังผ่าตัด อุปกรณ์นี้จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหัตถการทางการแพทย์อย่างอื่นได้ด้วย

นอกจากความเชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพอวัยวะด้วยคลื่นแสงและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแล้ว ทางบริษัท Mauna Kea Technologies ยังพัฒนาอุปกรณ์ที่สร้างภาพจากแสงเลเซอร์และเส้นใยแก้วนำแสงอีกด้วย อุปกรณ์ดังกล่าวใช้ หลักการเรืองแสงหรือการสะท้อนแสงโดยใช้ร่วมกับเครื่องสเปกโตสโคป (พัฒนาร่วมกับห้องปฏิบัติการด้านชีวโมเลกุล และเคมีสรีรศาสตร์ระดับเซล แห่งมหาวิทยาลัยปิแอร์และแมรี่ คูรี่ ในประเทศฝรั่งเศส) เทคโนโลยีนี้นอกจากจะช่วย ให้เห็นลักษณะทางกายภาพของเนื้อเยื่อแล้ว ยังสามารถแสดงให้เห็นส่วนประกอบทางชีวเคมีของเนื้อเยื่อได้อีกด้วย ข้อมูลต่างๆ จะถูกแปลผลโดยคอมพิวเตอร์ซึ่งรับข้อมูลมาจากการสแกนเนื้อเยื่อด้วยลำแสงเลเซอร์ การตรวจด้วยวิธีนี้เมื่อ นำมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยแล้วนอกจากสามารถวินิจฉัยความผิดปกติบางอย่างได้แต่เริ่มแรกแล้ว ในบางครั้งอาจหลีกเลี่ยง การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจได้อีกด้วย

จากสิทธิบัตรสู่ผู้บริโภค

เครื่องต้นแบบของอุปกรณ์ทั้งสองชนิดของบริษัท Mauna Kea Technoligies สร้างแล้วเสร็จและใช้งานจริง เมื่อปี 2547 ที่ผ่านมา นาย Benjamin Abrat กล่าวว่า “ได้มีการทดลองใช้อุปกรณ์ดังกล่าวไปบ้างแล้วสำหรับตรวจผู้ป่วยนรีเวช ในอนาคตการประยุกต์ใช้จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการช่วยบอกตำแหน่งการตัดชิ้นเนื้อหรือการผ่าตัดเท่านั้น แต่จะช่วยในเรื่อง การรักษาการควบคุมโรคและการเฝ้าติดตามโรคอีกด้วย” ส่วนผลิตภัณฑ์ Sudyn ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยแห่ง เมดิเตอร์เรเนียนและสถาบัน CNRS ซึ่งขณะนี้ทางทีมงานกำลังมองหาผู้ร่วมงานที่จะทำการผลิตและจัดจำหน่ายในตลาด ส่วนอุปกรณ์ Thermoguide นั้น ทางบริษัท Image Guided Therapy ได้ขอจดสิทธิบัตร และขณะนี้บริษัทดำเนินการ พัฒนาเครื่องอัลตร้าซาวด์ (แบบไม่สัมผัสกับร่างกายคนไข้) เพื่อใช้บอกตำแหน่งอวัยวะในขณะรักษา (คาดว่าจะใช้กับ การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นอย่างแรก โดยได้มีการทดลองในระดับคลินิคในปีที่ผ่านมา

หากสนใจรายละเอียดโปรดติดต่อ
1.Image Guided Therapy
Mr Erik Dumont
2, Allee du Doyen George Brus
F-33600 Pessac, France
โทรศัพท์ และโทรสาร +33 5 56 46 47 05
โทรศัพท์เคลื่อนที่ +33 6 11 49 94 00
อีเมล์ Erik.dumont@imageguidedgherapy.com

2.Mauna Kea Technoligies
Mr Benjamin Abrat
9 rue d’Enghien
F-75010 Paris, France
โทรศัพท์ +33 1 48 24 06 41
โทรศัพท์เคลื่อนที่ +33 6 19 03 63 13
อีเมล์ Benjamin@maunakeatech.com

3.PROTOMED
Mr Frederic Mouret
EGIM-Technopole de Chateau Gombert
F-13383 MARSILLE cedex 13, France
โทรศัพท์ +33 4 91 05 44 45
โทรศัพท์เคลื่อนที่ +33 6 70 72 38 76
อีเมล์ mouret@protomed-fr.com
เว็บไซต์ www.protomed-fr.com