นิวคลีโอนิกส์วางแผนยื่นอุทธรณ์คำตัดสินคดีที่ยื่นฟ้องต่อเบนิเทคว่าด้วยการจดสิทธิบัตร

ฮอร์สแฮม, เพนซิลเวเนีย–(บิสิเนส ไวร์)–5 ต.ค.2548 – บริษัท นิวคลีโอนิกส์ (Nucleonics, Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่มุ่งเน้นการรักษาโรคแบบใหม่ด้วยกระบวนการ RNA interference (eiRNA) ประกาศว่า ทางบริษัทจะยื่นอุทธรณ์คำตัดสินที่มีขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่แล้วของผู้พิพากษาประจำศาลแขวงแห่งรัฐเดลาแวร์ของสหรัฐ ในการยกฟ้องคดีที่มีการยื่นฟ้องบริษัทเบนิเทค (Benitec) เมื่อเดือนมี.ค.2547 นิวคลีโอนิกส์เชื่อว่าศาลดังกล่าวได้ดำเนินการผิดพลาดในแง่กฎหมายและข้อเท็จจริง และกำลังเตรียมที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าด้วยการพิจารณาคดีสิทธิบัตร (Court of Appeals for the Federal Circuit)

โรเบิร์ต โทวาร์นิคกี้ ประธานและซีอีโอของนิวคลีโอนิกส์ กล่าวว่า “นิวคลีโอนิกส์ได้ยืนยันนับแต่มีการยื่นดำเนินการทางกฎหมายของเบนิเทคแล้ว ว่าสิทธิบัตรของเบนิเทคที่มีการออกในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งการขอจดสิทธิบัตรในลักษณะคล้ายคลึงกันที่มีการยื่นจดทะเบียนทั่วโลกของเบนิเทคนั้น ไม่มีความถูกต้องทางกฎหมายแต่อย่างใด ในที่สุด การปรับตัวรับของนิวคลีโอนิกส์ต่อการฟ้องร้องของเบนิเทคนั้น ได้ส่งผลให้สิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาทั่วโลกของเบนิเทคนั้นเป็นโมฆะ และได้มีการพิจารณาระยะเวลาของการดำเนินคดีในศาล ในขณะนี้ เบนิเทคต้องการให้คดีดังกล่าวเป็นโมฆะในแง่ของความสามารถทางเทคนิคของอำนาจการตัดสินคดี ซึ่งจะเป็นการหลีกเลี่ยงการวินิจฉัยเกี่ยวกับผลประโยชน์ นิวคลีโอนิกส์ยังคงเชื่อว่าสิทธิบัตรดังกล่าวเป็นโมฆะและไม่สามารถมีผลบังคับใช้ และจะดำเนินคดีนี้ต่อไปผ่านทางศาลอุทธรณ์ และจะยังคงท้าทายธุรกิจ IP ของเบนิเทคทั่วโลก”

นิวคลีโอนิกส์ ซึ่งได้เพิ่มความพยายามทั่วโลกนั้น มีความยินดีที่จะรายงานว่าสำนักงานสิทธิบัตรของสหรัฐ ซึ่งได้สนองตอบข้อเรียกร้องของนิวคลีโอนิกส์เกี่ยวกับการทบทวนการตรวจสอบนั้น ได้มีการปฏิเสธในเบื้องต้นต่อการอ้างสิทธิทั้งหมดเกี่ยวกับสิทธิบัตรของเบนิเทค ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับการฟ้องร้องดำเนินคดี

“อย่างไรก็ตาม เราหวังว่าสำนักงานสิทธิบัตรของสหรัฐจะทำให้การอุทธรณ์ในชั้นศาลของเรามีผลทางกฎหมาย โดยการยืนยันการปฏิเสธการอ้างสิทธิทั้งหมดเกี่ยวกับสิทธิบัตรของเบนิเทค เราจะยังคงยึดมั่นในพันธะสัญญาของเราในการที่จะทำให้สิทธิบัตรเหล่านี้และการยื่นขอจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องนั้นเป็นโมฆะ” โทวาร์นิคกี้กล่าว

นอกจากนี้ นิวคลีโอนิกส์ยังได้ประสบความสำเร็จในสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป (EPO) ซึ่งได้ยื่นขอสังเกตการณ์บุคคลที่ 3 ต่อการของจดสิทธิบัตรของเบนิเทค ซึ่งได้ส่งผลให้ EPO มีการปฏิเสธในขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการขอจดสิทธิบัตรของเบนิเทค หลังจากการดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการแก้ไขจำนวนมากในเอกสารของเบนิเทค, การประกาศ 2 ฉบับของผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งและผู้คิดค้นดังกล่าว และท้ายที่สุดก็คือการการพิจารณาคดีทางวาจาต่อคณะผู้ตรวจสอบ การอ้างสิทธิดังกล่าวได้รับการปฏิเสธเนื่องจากไม่มีขั้นตอนในการคิดค้น, ไม่มีความพอเพียงเกี่ยวกับการเปิดเผยและไม่มีความแปลกใหม่ นิวคลีโอนิกส์เชื่อว่าสิทธิบัตรในสหรัฐของเบนิเทคและการยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการในสหรัฐ และ EPO ต่างก็จะได้รับผลกระทบจากความบกพร่องเช่นเดียวกัน

ส่วนสิทธิบัตรในออสเตรเลียของเบนิเทคนั้น นิวคลีโอนิกส์รู้สึกประหลาดใจกับการกลับคำพิจารณาในเบื้องต้นของสำนักงานสิทธิบัตรออสเตรเลียเกี่ยวกับการเป็นโมฆะในการทบทวนการตรวจสอบ ซึ่งได้รับการร้องขอโดยนิวคลีโอนิกส์ โดยโทวาร์นิคกี้เลือกที่จะไม่ดำเนินการต่อไปในสำนักงานสิทธิบัตรออสเตรเลีย เนื่องจาก “ในขณะนี้ นิวคลีโอนิกส์มีสิทธิบัตรที่ออกในออสเตรเลีย (No. 776150) ซึ่งจะป้องกันเบนิเทคไม่ให้ใช้กระบวนการ RNA interference ในกระดูกสันหลังใด ๆ ซึ่งรวมถึงมนุษย์ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนิวคลีโอนิกส์”

เกี่ยวกับเทคโนโลยี Expressed Interfering RNA (eiRNA)

กระบวนการทำลายการแสดงออกของยีน (gene silencing) หรือที่เรียกว่า RNA interference หรือ RNAi เป็นปรากฏการณ์ที่ยีนจะถูกทำลายการแสดงออกในการเรียงตัวของยีนผ่านทางการย่อยสลาย (degradation) ของ mRNA เป้าหมาย (messenger RNA) นักวิจัยเชื่อว่ากระบวนการ RNAi อาจเสนอแนวทางใหม่ในการยับยั้งการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ รวมถึงยีนที่เป็นรหัสของเชื้อไวรัสต่างๆ อาทิ ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B), ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C) และเชื้อเอชไอวี (HIV) รวมถึงยีนที่เกี่ยวข้องในการเกิดโรคอักเสบต่างๆและมะเร็ง

นิวคลีโอนิกส์ได้รับใบอนุญาตให้ใช้เทคโนโลยี RNAi ของแอนดริว ไฟร์, เครก เมลโลและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นงานที่มีอิทธิพลอย่างมากในด้านนี้ นิวคลีโอนิกส์ใช้แนวทาง expressed interfering RNA (eiRNA) โดยนักวิทยาศาสตร์จะบรรจุรหัสพลาสมิด ดีเอ็นเอ (plasmid DNA) สำหรับสารสังเคราะห์สายคู่ double-stranded RNA (dsRNA) เข้าสู่เซลเป้าหมาย ซึ่งกระตุ้นให้เซลผลิตและเรียงตัวเฉพาะ dsRNA กลไกเซลลูลาร์จะแยกสาร dsRNA ไปเป็น siRNAs (short interfering RNA) ซึ่งจะทำลายยีนเป้าหมาย โดยนักวิจัยของนิวคลีโอนิกส์แสดงความสามารถของการเรียงตัวของสาร dsRNA แบบสั้นหรือยาวที่ผลิตในแนวทางนี้เพื่อทำลายยีนต่างๆ รวมถึงไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบซีและเอชไอวีในเซลที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ สารดังกล่าวได้ทำลายยีนทวีคูณรวมถึงการจำลองไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ในหนูโดยไม่ก่อให้เกิดปฏิกริยาอินเทอร์เฟรอน (interferon response) แนวทางการใช้พลาสมิด ดีเอ็นเอคล้ายกับแนวทางที่นิวคลีโอนิกส์ใช้สำหรับการแสดงสาร dsRNA นั้น มีความปลอดภัยสำหรับมนุษย์ในการใช้กับคนไข้มากกว่า 500 คนจนถึงขณะนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยวัคซีนจากดีเอ็นเอ โดยนิวคลีโอนิกส์กำลังใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการรักษาแบบ eiRNA สำหรับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี

เกี่ยวกับนิวคลีโอนิกส์ อิงค์

นิวคลีโอนิกส์ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนม.ค. 2544 เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่เพิ่งก่อตั้ง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการรักษาด้วยกระบวนการ RNA interference สำหรับโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสและอื่นๆ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ฮอร์สแฮม รัฐเพนซิลเวเนีย

ติดต่อ:บริษัทนิวคลีโอนิกส์ อิงค์
โรเบิร์ต โทวาร์นิคกี้, โทร 267-518-0101
อีเมล์: rtowarnicki@nucleonicsinc.com
หรือ
คูเรคซก้า/มาร์ติน แอสโซซิเอตส์
โจน คูเรคซก้า, โทร 415-821-2413
อีเมล์: jkureczka@comcast.net