MPEG LA ประกาศแผนสำหรับการออกใบอนุญาตใช้สิทธิบัตรบลู-เรย์

เดนเวอร์–(บิสิเนสไวร์)–9 พ.ย. 2548- MPEG LA เป็นผู้นำระดับโลกในด้านการออกใบอนุญาตใช้สิทธิบัตรเทคโนโลยีที่ครบวงจร ได้เรียกร้องในวันนี้เกี่ยวกับสิทธิบัตรและการยื่นขอสิทธิบัตรที่สำคัญต่อมาตรฐานบลู-เรย์ (Blu-ray(TM) Standard) “MPEG LA มีความยินดีที่จะช่วยรวบรวมผู้ถือสิทธิบัตรที่สำคัญสำหรับเทคโนโลยีใหม่ที่สำคัญนี้ เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ใช้ในการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอุปกรณ์ต่างๆ ดิสก์ และการใช้งานที่เกี่ยวข้อง” บารีน เอส ฟูตา ซีอีโอของ MPEG LA กล่าว การเรียกร้องดังกล่าวจะเริ่มกระบวนการของการประเมินและพิจารณาสิทธิบัตรต่างๆซึ่งสำคัญต่อมาตรฐานดังกล่าวเพื่อที่จะรวมสิทธิบัตรเหล่านั้นไว้ในใบอนุญาตกลุ่มสิทธิบัตรร่วมซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวได้อย่างเท่าเทียม เหมาะสม และไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดยเป็นทางเลือกสำหรับการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการขออนุญาตกับเจ้าของสิทธิบัตรแต่ละราย โดยมีการแนบข้อสรุปของแผน MPEG LA พร้อมด้วยการอ้างอิงถึงมาตรฐานบลู-เรย์มากับเอกสารประชาสัมพันธ์นี้

มาตรฐานบลู-เรย์

บลู-เรย์ (Blu-ray(TM)) ซึ่งรู้จักกันในชื่อ บลู-เรย์ ดิสก์ (Blu-ray Disc(TM) – BD) เป็นชื่อของฟอร์แมตออพติคอล ดิสก์รุ่นใหม่ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกันโดยสมาคมบลู-เรย์ ดิสก์ (Blu-ray Disc Association) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตชั้นนำระดับโลกด้านสินค้าอิเล็คทรอนิค คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และสื่อ โดยฟอร์แมตดังกล่าวได้รับการพัฒนาเพื่อให้วิดีโอความคมชัดสูง (HD) สามารถบันทึก เขียนใหม่ (re-writing) และเล่นกลับ (playback) รวมถึงการเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ฟอร์แมตใหม่ดังกล่าวจะใช้แสงเลเซอร์สีน้ำเงิน-ม่วง (จึงใช้ชื่อว่าบลู-เรย์) ที่มีความยาวคลื่นสั้น (450 นาโนเมตร) ซึ่งทำให้สามารถบีบอัดข้อมูลจำนวนมากและเก็บไว้ในดิสก์ขนาดมาตรฐาน มาตรฐาน BD อ้างอิงโดยรวมถึง (ก) ออพติคอล ดิสก์แบบสามารถเขียนใหม่ได้, ออพติคอล ดิสก์แบบสามารถบันทึกใหม่ได้ และออพติคอลดิสก์แบบอ่านอย่างเดียว (ข) วิธีการเล่นดิสก์เหล่านั้น และ (ค) วิธีการบันทึก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้จาก http://www.blu-raydisc.com

MPEG LA, LLC

MPEG LA เป็นผู้นำระดับโลกในด้านการออกใบอนุญาตใช้สิทธิบัตรเทคโนโลยีที่ครบวงจร โดยทำให้ผู้ใช้สามารถใช้สิทธิบัตรที่จำเป็นสำหรับมาตรฐานหรือแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่เฉพาะเจาะจงจากผู้ถือสิทธิบัตรหลายใบภายใต้ใบอนุญาตเดียว อันเป็นทางเลือกเพื่อเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการขออนุญาตกับเจ้าของสิทธิบัตรแต่ละราย ใบอนุญาตด้านสิทธิบัตรที่ครบวงจรจะให้ทางเลือกที่สะดวกสบายเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ในการนำทางเลือกด้านเทคโนโลยีของพวกเขามาใช้ โดยแบบจำลองการออกใบอนุญาตที่ริเริ่มและดำเนินการโดย MPEG LA อาจเป็นโซลูชันสำหรับผู้ใช้ อย่างไรก็ดี MPEG LA ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานด้านมาตรฐานใดๆ และไม่ได้เป็นบริษัทในเครือของผู้ถือสิทธิบัตรใดๆ ทั้งนี้ MPEG LA อนุมัติสิทธิบัตรที่จำเป็นสำหรับมาตรฐาน MPEG-2, IEEE 1394, DVB-T, MPEG-4 Visual (Part 2), MPEG-4 Systems และ AVC/H.264 (หรือที่รู้จักในชื่อของ MPEG-4 Part 10) MPEG LA ยังอำนวยความสะดวกในการพัฒนาการอนุมัติสิทธิบัตรทางเลือกสำหรับเทคโนโลยี VC-1, ATSC, DVB-H, digital rights management (DRM) รวมถึง OMA DRM 1.0 และ 2.0. และ RFID นอกจากนี้ MPEG LA จะดำเนินการอย่างแข็งขันในการนำรูปแบบการอนุมัติสิทธิบัตรทางเลือกมาใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ เทคโนโลยีชีวภาพและเวชภัณฑ์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ http://www.mpegla.com/pid/bluray/

เอกสารแนบท้าย

ต่อไปนี้เป็นข้อสรุปของแผน MPEG LA สำหรับการอนุญาตใช้สิทธิบัตรบลู-เรย์ที่สำคัญ

1. เป้าหมาย

เพื่อสร้างกลุ่มสิทธิบัตรที่สำคัญทั่วโลกซึ่งจำเป็นสำหรับการนำมาตรฐานบลู-เรย์มาใช้ เพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยเท่าเทียมกัน, อย่างเหมาะสมและไม่มีการเลือกปฏิบัติภายใต้ใบอนุญาตเดียว

2. สิทธิบัตรที่ได้รับอนุญาต

สิทธิบัตรที่สำคัญอาจจะประกอบด้วยสิทธิบัตรที่มีหนึ่งสิทธิหรือมากกว่าที่ถูกละเมิดโดยการใช้มาตรฐานบลู-เรย์ตามที่รวบรวมไว้ในเอกสารดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจดูได้จาก http://www.blu-raydisc.info/license_info/rewritable/ia.htm:

Blu-ray Disc Rewritable Format Version 1,
Part 1 : Basic Format Specifications

Blu-ray Disc Rewritable Format Version 1,
Part 2 : File System Specifications

Blu-ray Disc Rewritable Format Version 1,
Part 3 : Audio Visual Basic Specifications

Blu-ray Disc Rewritable Format Version 2,
Part 1 : Basic Format Specifications

Blu-ray Disc Rewritable Format Version 2,
Part 2 : File System Specifications

Blu-ray Disc Rewritable Format Version 2,
Part 3 : Audio Visual Basic Specifications

Blu-ray Disc Recordable Format Version 1,
Part 1 : Basic Format Specifications

Blu-ray Disc Recordable Format Version 1,
Part 2 : File System Specifications

Blu-ray Disc Read-Only Format Version 1,
Part 1 : Basic Format Specifications

Blu-ray Disc Read-Only Format Version 1,
Part 2 : File System Specifications

นอกจากนี้ เพื่อรับประกันว่ากระบวนการออกใบอนุญาตอาจได้ประโยชน์จากความเห็นของฝ่ายต่างๆซึ่งอาจได้รับสิทธิด้านสิทธิบัตรที่สำคัญในอนาคตรวมถึงผู้ซึ่งมีสิทธิดังกล่าวในปัจจุบัน เจ้าของสิทธิบัตรซึ่งอ้างว่ามีสิทธิที่สำคัญต่อมาตรฐานและมีแนวโน้มที่จะกำหนดในสิทธิบัตรนั้นควรยื่นสิทธิบัตรเพื่อขอรับการประเมินความสำคัญจากผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิทธิบัตรเพื่อเข้าร่วมในกระบวนการออกใบอนุญาต (อย่างไรก็ตาม เฉพาะสิทธิบัตรที่ประกาศใช้แล้วเท่านั้นที่จะถูกรวมในใบอนุญาต) หากการยื่นขอสิทธิบัตรซึ่งมีสิทธิที่สำคัญ ไม่ได้รับการประกาศเป็นสิทธิบัตร หรือไม่ได้ประกอบด้วยสิทธิที่สำคัญเมื่อประกาศเป็นสิทธิบัตรนั้น จะไม่เป็นพื้นฐานสำหรับการเข้าร่วมในกระบวนการออกใบอนุญาตอีกต่อไป

3. องค์กร

กลุ่มสิทธิบัตรอาจต้องอาศัยการดำเนินงานอย่างน้อยที่สุดดังต่อไปนี้

หนึ่ง, ผู้ประสานงานด้านการประเมินผล โดย MPEG LA ได้เรียกร้องในประกาศนี้ให้ทำการยื่นสิทธิบัตร (และการยื่นขอสิทธิภาพ) สำหรับการประเมินความสำคัญโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรและการรวมไว้ในใบอนุญาตร่วม หากได้รับการตัดสินว่าสิทธิบัตรมีความสำคัญ โดย MPEG LA จะอำนวยความสะดวกสำหรับกระบวนการประเมินผล ประชุมกลุ่มผู้ถือสิทธิบัตรที่จำเป็นเริ่มแรก (และการขอสิทธิบัตร) รวมถึงสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อพิจารณาเงื่อนไขต่างๆของใบอนุญาตร่วมตามที่อธิบายไว้ข้างล่างนี้

สอง, ผู้ประเมินผล (ตามที่ระบุข้างล่าง) จะประเมินสิทธิบัตร (และการยื่นขอสิทธิบัตร) สำหรับความสำคัญที่เกี่ยวกับมาตรฐานบลู-เรย์ กลุ่มใดๆที่เชื่อว่ามีสิทธิบัตรที่สำคัญ (หรือการยื่นขอสิทธิบัตร) ได้รับเชิญให้ยื่นสิทธิบัตรสำหรับการประเมินและการรวมไว้ในใบอนุญาตตามเงื่อนไขและกระบวนการที่เกี่ยวกับการยื่นสิทธิบัตร (ดูหมวดที่ 5)

สาม, กลุ่มผู้ถือครองสิทธิบัตรที่จำเป็นเริ่มแรก (และผู้ขอสิทธิบัตร) ซึ่งตกลงตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นสิทธิบัตร (และการขอสิทธิบัตร) และได้รับการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิทธิบัตรแล้วว่า มีทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญนั้น จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับเงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ การประเมินสิทธิบัตร (และการขอสิทธิบัตร) จะดำเนินต่อไปและการยื่นขอประเมินความสำคัญอาจจะยังคงมีขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อการรวมไว้ในใบอนุญาตและการเข้าร่วมของเจ้าของสิทธิบัตรต่อไป หลังจากมีการตัดสินใจเกี่ยวกับเงื่อนไขใบอนุญาตร่วมนั้น การประเมินผลจะยังคงดำเนินต่อไปตลอดกระบวนการออกใบอนุญาตตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อที่จะรวมทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

สี่, ผู้ดำเนินการออกใบอนุญาตจะได้รับการคัดเลือกโดยกลุ่มริเริ่มของผู้ถือสิทธิบัตร ผู้ดำเนินการออกใบอนุญาตจะได้รับสิทธิแบบไม่ผูกขาด (non-exclusive sublicensing rights) จากเจ้าของสิทธิบัตรที่สำคัญภายใต้สิทธิบัตรที่ได้รับอนุญาตเพื่อที่จะใช้สิทธิบัตรเหล่านั้นภายใต้เงื่อนไขของใบอนุญาตสิทธิบัตรร่วมและจะส่งเสริมอย่างจริงจังต่อโครงการออกใบอนุญาตและเก็บค่าสิทธิบัตร (royalties) ให้กับบรรดาเจ้าของสิทธิบัตร

ห้า, คณะกรรมการด้านการจัดการซึ่งประกอบด้วยตัวแทนเจ้าของสิทธิบัตรที่สำคัญจะตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ดำเนินการออกใบอนุญาต

4. รายละเอียดการออกใบอนุญาต

จะกำหนดโดยเจ้าของสิทธิบัตรที่สำคัญ

5. หมายกำหนดการ (แผนริเริ่ม)

การยื่นสิทธิบัตรครั้งแรก:ภายในวันที่ 15 ธ.ค. 2548 เจ้าของสิทธิบัตรที่เชื่อว่ามีสิทธิบัตร (หรือการยื่นขอสิทธิบัตร) ที่มีความสำคัญต่อมาตรฐานและต้องการที่จะเข้าร่วมใบอนุญาตกลุ่มสิทธิบัตรบลู-เรย์นั้น จะได้รับเชิญให้ยื่นสิทธิบัตรเพื่อขอรับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรของ MPEG LA โดยดร. เคนเนธ รูเบนสไตน์ จากบริษัท PROSKAUER ROSE LLP และทีมผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิทธิบัตรทั่วโลกในยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลี ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงเงื่อนไขและกระบวนการที่เกี่ยวกับการยื่นประเมินสิทฺธิบัตร สามารถดูได้จาก http://www.mpegla.com/pid/Blu-ray แม้การยื่นสิทธิบัตรอาจดำเนินต่อไปหลังวันดังกล่าว เจ้าของสิทธิบัตรและผู้ขอสิทธิบัตรซึ่งยื่นขอประเมินสิทธิบัตรภายในวันนั้นและได้รับการตัดสินว่าสิทธิบัตรมีความสำคัญ จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมครั้งแรกของผู้ถือสิทธิบัตรที่สำคัญซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นในเดือนก.พ. 2549

ติดต่อ: MPEG LA
ลอว์เรนซ์ ฮอร์น
โทรศัพท์ 301-986-6660
โทรสาร: 301-986-8575
อีเมล์: lhorn@mpegla.com