ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอาร์เอฟไอดี: ความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี

อาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification : RFID) หรือระบบระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ หนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและมีประโยชน์อย่างมากนั้น กำลังถูกนำมาใช้งานโดยภาคธุรกิจต่างๆ การรับเอาเทคโนโลยีการเก็บรวบรวมข้อมูลอัตโนมัติ (Automatic Data-Collection :ADC) ดังกล่าวมาใช้เป็นผลมาจากการจัดตั้งมาตรฐานหลัก และแรงกระตุ้นของผู้ค้าปลีก รวมถึงนโยบายสนับสนุนของรัฐบาลที่ทำให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพของเทคโนโลยีให้ดีขึ้น ตลอดจนลดต้นทุนการนำไปใช้ได้อย่างมาก

อาร์เอฟไอดีสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมหลายแห่งและแอพพลิเคชั่นหลายอย่าง อย่างไรก็ตามยังมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีว่า คืออะไร และอะไรเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้บางองค์กรไม่สามารถใช้ประโยชน์ของอาร์เอฟไอดีได้

รายงานฉบับนี้ให้ภาพรวมของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีและความสามารถต่างๆ ที่เทคโนโลยีนี้มีให้ โดยจะอธิบายถึงคลื่นความถี่ที่ถูกนำมาใช้งานและเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในแอพพลิเคชั่นธุรกิจทั้งหลาย การระบุมาตรฐานหลัก และแนะแนวทางการใช้อาร์เอฟไอดีเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานองค์กรให้เกิดความสะดวก ถูกต้อง และปลอดภัย

“อาร์เอฟไอดี” เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบไร้สาย ข้อมูลจะถูกเขียนลงในชิพและอ่านจากชิพที่เชื่อมติดกับสายอากาศและรับสัญญาณคลื่นวิทยุจากอุปกรณ์อ่าน/เขียน ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า ตัวอ่านข้อมูล ตัวเข้ารหัส และเครื่องอ่านสัญญาณ (interrogator) ข้อมูลจะถูกแลกเปลี่ยนโดยอัตโนมัติโดยไม่มีการแทรกแซงของผู้ให้บริการใดๆ

อาร์เอฟไอดีมีประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด และเหนือกว่ารูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลชนิดอื่นๆ ได้แก่
– อาร์เอฟไอดีสามารถตรวจสอบและเก็บรวบรวมข้อมูลในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะจะใช้แรงงานคน เนื่องจากการอ่านแท็ก (ป้ายระบุข้อมูล) ไม่ต้องการแรงงานคนเข้ามาช่วย
– สามารถอ่านข้อมูลได้กว่าพันครั้งต่อวินาที ให้ความรวดเร็วและความแม่นยำสูง
– ข้อมูลในแท็กอาร์เอฟไอดีสามารถแก้ไขซ้ำได้
– อาร์เอฟไอดีไม่ต้องการรูปแบบการส่งสัญญาณแบบเส้นทางตรง (Line of Sight) ระหว่างแท็กและเครื่องอ่านโดยตรง ทำให้เหมาะกับหลายแอพพลิเคชั่นที่บาร์โค้ดไม่สามารถดำเนินการได้
– องค์กรนับพันแห่งในหลายอุตสาหกรรมใช้ประโยชน์ของอาร์เอฟไอดีเพื่อพัฒนาด้านการตรวจสอบกระบวนการทำงาน ให้ความถูกต้องของข้อมูล ณ เวลาจริง ติดตามสินทรัพย์ และสินค้าคงคลัง ตลอดจนลดความต้องการด้านแรงงานด้วย
– เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีสามารถใช้ร่วมกับระบบบาร์โค้ดและเครือข่ายไร้สายไว-ไฟได้

วิธีการทำงานของอาร์เอฟไอดี
ระบบอาร์เอฟไอดีประกอบด้วยแท็ก ตัวอ่าน และซอฟต์แวร์ที่ใช้ประมวลผลข้อมูล โดยปกติแล้ว แท็กจะนำไปใช้กับรายการสิ่งของต่างๆ และมักเป็นส่วนหนึ่งของฉลากบาร์โค้ด แท็กยังสามารถนำไปใช้ในบัตรประจำตัว หรือสายรัดข้อมือได้ด้วย ขณะที่ตัวอ่านสามารถเป็นได้ทั้งตัวเครื่องเดี่ยวๆ (เช่น สำหรับตรวจสอบการเข้าออกทางประตู หรือสายพานขนส่งสินค้า) หรือใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์พกพา หรือใช้กับรถยก (forklift) ตลอดจนใช้ร่วมกับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดได้

เครื่องอ่านจะส่งสัญญาณวิทยุออกมาโดยที่แท็กทั้งหมดที่อยู่ในเขตคลื่นความถี่ที่ระบุจะรับสัญญาณดังกล่าว แท็กสามารถรับสัญญาณวิทยุผ่านทางสายอากาศและตอบกลับด้วยการส่งข้อมูลที่เก็บไว้ในตัวแท็ก แท็กสามารถเก็บข้อมูลได้หลายชนิด อาทิ รหัสหมายเลขเครื่อง (serial number) คำแนะนำการกำหนดค่า ประวัติการดำเนินงาน (เช่น วันที่ดูแลรักษาครั้งล่าสุด แท็กผ่านตำแหน่งที่กำหนดไว้ไปเมื่อใด เป็นต้น) หรือแม้แต่อุณหภูมิ และข้อมูลอื่นๆ ที่ได้จากเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่ใช้งานร่วมกับแท็ก ทั้งนี้ อุปกรณ์อ่าน/เขียนจะรับสัญญาณแท็กผ่านทางสายอากาศของตัวเครื่อง ถอดรหัสและส่งข้อมูลไปยังระบบคอมพิวเตอร์ผ่านทางสายเคเบิลหรือการเชื่อมต่อไร้สาย

ส่วนต่างๆ ต่อไปนี้จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแท็กอาร์เอฟไอดี ตัวอ่าน และประสิทธิภาพการทำงานของอาร์เอฟไอดี

แท็ก (แผ่นป้ายระบุข้อมูล)
แท็กอาร์เอฟไอดีมีองค์ประกอบพื้นฐานสองอย่าง ได้แก่ ชิพและสายอากาศ โดยชิพและสายอากาศจะจะเชื่อมติดในลักษณะฝังตัว จากนั้นจะถูกห่อหุ้มอย่างมิดชิดในวัสดุอื่นให้เป็นแท็กที่สมบูรณ์หรือฉลากนั่นเอง

แท็กหลายชนิดทำงานในสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น แท็กหลายอย่างอาจเหมาะที่จะติดกับกล่องกระดาษแข็งที่ใส่สิ่งของที่เป็นพลาสติก ขณะที่แท็กบางชนิดอาจเหมาะที่จะใช้กับแท่นเคลื่อนย้ายสินค้า (pallet) ที่เป็นไม้ ตู้คอนเทนเนอร์โลหะ หรือแก้ว แท็กสามารถมีขนาดเล็กได้เท่ากับเมล็ดข้าว และใหญ่เท่าก้อนอิฐ หรือบางและยืดหยุ่นเพียงพอที่จะฝังไว้ในฉลากได้ นอกจากนี้แท็กยังมีประสิทธิภาพที่หลากหลาย รวมถึงความสามารถในการอ่าน/เขียน มีหน่วยความจำและมีแหล่งจ่ายพลังงานในตัวได้

ฉลากที่มีความบางเท่ากระดาษ หรือที่เรียกกันว่า “ฉลากอัจฉริยะ” (smart label) มักนำไปใช้กับแอพพลิเคชั่นชนิดที่ใช้ครั้งเดียว เช่น การระบุข้อมูลของกล่องใส่สินค้าและแท่นเคลื่อนย้ายสินค้า โดยเครื่องพิมพ์/เครื่องเข้ารหัสจะผลิตฉลากอัจฉริยะตามต้องการ เข้ารหัสแท็กขณะที่กำลังพิมพ์ข้อความ และ/หรือบาร์โค้ดบนฉลากภายนอก

นอกจากนี้ แท็กอาร์เอฟไอดียังมีความคงทน ซึ่งขึ้นอยู่กับแอพพลิเคชั่นและสภาพแวดล้อม โดยแท็กสำหรับการระบุตัวตนถาวรสามารถห่อหุ้มให้มีความทนทานต่ออุณหภูมิสูง ความชื้น กรด สารละลาย สี น้ำมัน และสภาพอื่นๆ ที่อาจทำให้ข้อความ บาร์โค้ด หรือเทคโนโลยีระบุตัวตนที่ต้องใช้การมองเห็นอื่นๆ ได้รับความเสียหายได้ แท็กอาร์เอฟไอดีสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ และเหมาะกับการระบุตัวตนได้ตลอดชีพ ดังนั้นจึงทำให้ต้นทุนรวมของเจ้าของน้อยกว่าฉลากบาร์โค้ด และวิธีการระบุตัวตนแบบไม่ถาวร/ใช้แล้วทิ้ง

แท็กอาร์เอฟไอดีสามารถเป็นได้ทั้งแบบอ่านอย่างเดียวหรือทั้งเขียนและอ่าน (แม้ว่าอย่างหลังจะเป็นมาตรฐานแล้วในปัจจุบัน) แท็กแบบอ่านอย่างเดียวจะถูกโปรแกรมมาจากโรงงานด้วยหมายเลขประจำเครื่อง หรือข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ข้อมูลในแท็กแบบอ่าน/เขียน สามารถถูกแก้ไขได้นับพันครั้ง แท็กแบบอ่าน/เขียนมักจะแบ่งพื้นที่ออกเป็นสำหรับการอ่านอย่างเดียวเพื่อความปลอดภัยไม่ให้ผู้ใช้เข้าไปแก้ไขได้ อาทิ หมายเลขประจำตัวที่ไม่ซ้ำกัน ขณะที่อีกส่วนจะเป็นหน่วยความจำที่สามารถเขียนได้โดยผู้ใช้สามารถทำการโปรแกรมใหม่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นผู้ใช้อาจเข้ารหัสหมายเลขประจำตัวของแท่นเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างถาวรในหน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว แล้วใช้ส่วนอ่าน-เขียนสำหรับบันทึกสิ่งของที่บรรทุกบนแท่นเคลื่อนย้ายนั้น และเมื่อมีการเอาสิ่งของออกจากแท่นแล้ว ส่วนที่เขียนได้สามารถถูกลบเพื่อนำมาใช้ใหม่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีเขียน/อ่านและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ให้ดูได้จากรายงานของบริษัท อินเตอร์เมค เรื่อง “The Write Stuff: Understanding the Value of Read/Write RFID Functionality”

แท็กยังแบ่งออกเป็นแบบพาสซีฟ (pasive) กึ่งพาสซีฟ (semi-passive) หรือ แอคทีฟ (active) โดยแท็กแบบพาสซีฟจะรับกำลังการส่งสัญญาณจากตัวอ่าน ฉลากอัจฉริยะอาร์เอฟไอดีทั้งหมดเป็นพาสซีฟ ส่วนแท็กแบบแอคทีฟจะมีแบตเตอรีในตัวที่ให้กำลังการส่งสัญญาณที่มีระยะการสื่อสารข้อมูลไกลกว่า การมีแบตเตอรีในตัวทำให้แท็กแบบแอคทีฟขนาดใหญ่กว่า และแพงกว่าแท็กแบบพาสซีฟ ขณะที่แท็กแบบกึ่งพาสซีฟจะทำงานเหมือนแท็กแบบพาสซีฟ แต่จะมีแบตเตอรี่ในตัว ขณะที่ระยะการส่งสัญญาณจะอยู่ระหว่างแบบพาสซีฟและแอคทีฟ และแม้จะมีแบตเตอรี่ในตัว แต่ขนาดก็ไม่ต่างจากแท็กแบบพาสซีฟนัก

ทางเลือกสำหรับตัวอ่าน/ตัวเขียน
อุปกรณ์อาร์เอฟไอดีมีความยืดหยุ่นในการจัดวางเนื่องจากจะต่างจากตัวอ่านบาร์โค้ดตรงที่ไม่จำเป็นต้องส่งสัญญาณแบบเส้นทางตรง และระยะการอ่านข้อมูลสามารถไปได้ไกลกว่า ตัวอย่างเช่น ตัวอ่านสามารถติดตั้งไว้ใต้พื้น หรือติดกับเพดานก็ได้ และย่านความถี่ UHF (Ultrahigh Frequency) มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในระบบอาร์เอฟไอดีเชิงพาณิชย์จำนวนมาก ซึ่งความถี่ย่านนี้สามารถอ่านข้อมูลได้ไกลกว่า 10 เมตร นอกจากนี้ ตัวอ่านแบบพกพายังสามารถใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือเครื่องพิมพ์ฉลากอัจฉริยะ หรือใช้ติดกับยานพาหนะ เช่น รถยก เป็นต้น

ระบบอาร์เอฟไอดีสามารถทำงานร่วมกับเครือข่ายไร้สาย และส่วนใหญ่จะมีการนำมาใช้ร่วมกับระบบแลนไร้สายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นโฮสต์ โดยที่ระบบแลนไร้สายไม่ได้แทรกแซงระบบอาร์เอฟไอดี (ก่อนหน้านี้ อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายที่คลื่นความถี่ 915 เมกะเฮิรตซ์ สามารถแทรกแซงระบบอาร์เอฟไอดีแบบ UHF ได้ แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ดังกล่าวมีใช้งานไม่มากนัก)

ประสิทธิภาพของอาร์เอฟไอดี
ระบบอาร์เอฟไอดีจะมีความแตกต่างกันตามระยะการสื่อสารข้อมูลและคลื่นความถี่ที่ใช้ หน่วยความจำของชิพ ความปลอดภัย ชนิดข้อมูลที่เก็บรวบรวม และคุณลักษณะอื่นๆ การเข้าใจในตัวแปรเหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เกิดความเข้าใจถึงประสิทธิภาพของอาร์เอฟไอดีและวิธีที่สามารถนำอาร์เอฟไอดีไปใช้เพื่อการดำเนินการได้ ส่วนต่างๆ ต่อไปนี้จะอธิบายโดยสรุปถึงคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของอาร์เอฟไอดี

ความถี่
ความถี่เป็นปัจจัยหลักที่กำหนดระยะสื่อสารข้อมูลของอาร์เอฟไอดี ระบบอาร์เอฟไอดีเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ทำงานที่ย่านความถี่ UHF ระหว่าง 859 และ 960 เมกะเฮิรตซ์ หรือความถี่วิทยุย่าน HF (Hign Frequency) ที่ 13.56 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนความถี่สำหรับอาร์เอฟไอดีอื่นๆ ได้แก่ 125 กิโลเฮิรตซ์ (ความถี่ช่วงสั้นที่ใช้แพร่หลายและมักใช้เพื่อระบุยานพาหนะ) และ 430 เมกะเฮิรตซ์ และ 2.45 กิกะเฮิรตซ์ ทั้งสองย่านความถี่นี้จะใช้ระบุข้อมูลในช่วงที่ไกลกว่า ส่วนใหญ่จะเป็นแท็กที่มีแบตเตอรี่ในตัวและมีราคาสูง ย่านความถี่ UHF ใช้มากที่สุดในแวดวงซัพพลายเชน และแอพพลิเคชั่นอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ทั้งนี้ มาตรฐาน Gen 2 ของ EPCglobal ที่กำลังได้รับความนิยมนั้น (จะอธิบายในภายหลัง) เป็นเทคโนโลยี UHF

ระยะสื่อสารข้อมูล
ระยะอ่านข้อมูลระหว่างแท็กและตัวอ่านในระบบอาร์เอฟไอดีนั้น มีอยู่ด้วยักนหลายระยะ ตั้งแต่ไมกี่เซนติเมตรไปจนถึงหลายสิบเมตร ขึ้นอยู่กับความถี่ที่ใช้ กำลังที่ส่งออกไป และความไวของสายอากาศ เทคโนโลยี HF ถูกใช้สำหรับแอพพลิเคชั่นที่มีระยะสื่อสารข้อมูลใกล้ๆ และสามารถถูกอ่านได้สูงสุดราว 3 เมตร ส่วนเทคโนโลยี UHF ให้ระยะอ่านข้อมูลได้ถึง 20 เมตรหรือกว่านั้น นอกจากนี้ระยะสื่อสารข้อมูลยังขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพ โดยโลหะและของเหลวอาจเป็นอุปสรรคที่มีผลต่อระยะสื่อสารข้อมูลและประสิทธิภาพการอ่าน/เขียนข้อมูลได้ ดังนั้นในโรงงานเดียวกันอาจมีระยะสื่อสารข้อมูลต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพรอบๆ และตำแหน่งของสายอากาศ สำหรับแท็กแบบอ่าน/เขียนจะมีระยะการอ่านข้อมูลโดยทั่วไปมากกว่าระยะการเขียนข้อมูล

ความปลอดภัย
ชิพอาร์เอฟไอดียากที่จะปลอมแปลงได้ แฮคเกอร์จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะด้านทางวิศวกรรมไร้สาย การเข้ารหัสอัลกอริธึม และเทคนิคการเข้ารหัสต่างๆ นอกจากนี้ ข้อมูลในแท็กยังมีระดับของความปลอดภัยที่ต่างกันด้วย ส่งผลให้ในบางจุดของระบบซัพพลายเชนสามารถทำการอ่านข้อมูลได้ ขณะที่บางจุดไม่สามารถอ่านได้ นอกจากนี้ มาตรฐานอาร์เอฟไอดีบางอย่างยังมีระดับความปลอดภัยเพิ่มเติมด้วย และมาตรฐานความปลอดภัยของอาร์เอฟไอดีนี่เองที่ทำให้องค์การอาหารและยาสหรัฐ (เอฟดีเอ) ได้สนับสนุนอาร์เอฟไอดีให้เป็นเครื่องมือป้องกันการปลอมแปลงยา โดยที่ผู้ผลิตยาต้องใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีตลอดกระบวนการ เช่นเดียวกับผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า และอื่นๆ

มาตรฐาน
ในช่วงแรกมีความเข้าใจกันว่าอาร์เอฟไอดีเป็นเทคโนโลยีเฉพาะที่ไร้ซึ่งมาตรฐาน แต่ในปัจจุบัน เกิดมาตรฐานจำนวนมากที่สร้างความมั่นใจได้ทั้งในแง่คลื่นความถี่และการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ตัวอย่างเช่น มาตรฐานของอาร์เอฟไอดีที่มีอยู่สำหรับการจัดการรายการสิ่งของ ตู้คอนเทนเนอร์ในระบบโลจิสติก บัตรโดยสาร การใช้งานด้านปศุสัตว์ การระบุยางและล้อ และการใช้งานด้านอื่นๆ จำนวนมาก องค์กร ISO (International Standards Organization) และบริษัท อีพีซีโกลบอล อิงค์ (EPCglobal Inc.) เป็นองค์กรด้านมาตรฐานสองแห่งที่เกี่ยวข้องกับระบบซัพพลายเชนมากที่สุด มาตรฐานอุตสาหกรรมและมาตรฐานระดับชาติต่างๆ จะยึดตามมาตรฐาน ISO และ EPCglobal เช่น MH 10.8.4 ซึ่งเป็นมาตรฐาน ANSI ของสหรัฐ สำหรับการระบุตู้คอนเทนเนอร์ที่ส่งกลับมา (ยึดตามข้อกำหนดของ ISO)

ทั้งนี้ มาตรฐาน ISO สามารถใช้ได้ทุกที่ในโลก และเป็นมาตรฐานแห่งชาติของหลายประเทศ ขณะที่ EPCglobal Generation 2 (EPC Gen 2) ซึ่งเป็นมาตรฐาน UHF นั้นได้รับการเสนอไปยัง ISO แล้ว และคาดว่าจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุดมาตรฐาน ISO-18000

มาตรฐาน Gen 2 ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้หมายเลขรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Product Code: EPC) โดยสามารถระบุวัตถุโดยไม่ซ้ำกัน เช่น แท่นเคลื่อนย้ายสินค้า กล่องหรือผลิตภัณฑ์แต่ละอย่าง มาตรฐาน EPC ให้ทั้งข้อกำหนด้านเทคนิคของอาร์เอฟไอดี แลระบบการให้หมายเลขสำหรับการระบุรายการสิ่งของที่แพร่หลายโดยไม่ซ้ำกัน ทั้งนี้ มาตรฐาน Gen 2 และระบบ EPC อื่นๆ เป็นหน้าที่รับผิดชอบของ EPCglobal ซึ่งอยู่ภายใต้ GS1 (องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่กำหนดหมายเลข U.P.C. และจัดการระบบ EAN.UCC) โดยผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก บริษัทต่างๆ องค์กรสาธารณะ และสมาคมอุตสาหกรรมหลายแห่งได้ยอมรับและนำมาตรฐาน EPC มาใช้งานแล้ว โดยเฉพาะ Gen 2 สำหรับรายงานและแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Gen 2 และเทคโนโลยี อาร์เอฟไอดีอื่นๆ เยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท อินเตอร์เมค (www.intermec.com/RFID)

การใช้อาร์เอฟไอดี
อาร์เอฟไอดีให้ทางเลือกสำหรับเทคโนโลยีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่อาจไม่สามารถใช้แรงงานคนหรือเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมได้ อาร์เอฟไอดีสามารถดำเนินการได้ในสภาพแวดล้อมหลายอย่าง เนื่องจากสามารถส่งสัญญาณที่ไม่ใช่แบบเส้นตรง มีความเร็วในการอ่านข้อมูลสูง ทนต่ออุณหภูมิสูง และทนต่อแก๊สและสารเคมีซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอื่นๆ นั้นไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้ อาร์เอฟไอดียังให้ความสะดวกในงานทั่วไปได้มากมาย โดยผู้บริโภคสามารถใช้อาร์เอฟไอดีปลดล็อกประตูรถยนต์จากระยะไกล ให้บริการยืมคืนหนังสือในห้องสมุดได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มความรวดเร็วในการใช้บริการสถานีให้บริการน้ำมัน ธุรกิจหลายอย่าง พึ่งพาอาร์เอฟไอดีในการติดตามและรายงานผลเกี่ยวกับสินทรัพย์นับพันอย่าง รวมถึงติดตามการส่งสินค้า และรายการสินค้าคงคลัง ที่มีอยู่ด้วย

อาร์เอฟไอดียังคงมีศักยภาพมากมาย โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับเทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ด้วยเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและการสั่นสะเทือนที่ใช้ร่วมกับแท็กอาร์เอฟไอดี สามารถแจ้งการเตือนโดยอัตโนมัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่ อาจทำลายสินค้าให้ได้รับความเสียหายได้ อาร์เอฟไอดีและระบบเครือข่ายไร้สายอาจใช้ร่วมกันเป็นระบบตรวจสอบความเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลาและในขอบเขตที่กว้างขวาง โดยการตรวจสอบการเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลังจะช่วยให้รู้โดยอัตโนมัติได้ว่าสินค้าใดบ้างที่ต้องสั่งเพิ่มมาเก็บไว้ในสต็อก หรือมีการส่งคำเตือนด้านความปลอดภัยถ้ามีการย้ายสิ่งของโดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ได้รับการนำมาใช้งานแล้ว และได้อำนวยความสะดวกและสร้างประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมต่างๆ สำหรับผู้บริโภค ทั้งในด้านสุขภาพ การระบุตัวบุคคล การผลิต ระบบโลจิสติก การจัดการทรัพย์สิน และการดำเนินการอื่นๆ อีกหลายอย่าง

อินเตอร์เมคกับระบบอาร์เอฟไอดี
บริษัท อินเตอร์เมค เทคโนโลยีส์ คอร์ป. ให้บริการและผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมอย่างสมบูรณ์เพื่อช่วยองค์กรต่างๆ สามารถประเมินได้ว่าพวกเขาจะได้รับประโยชน์จากอาร์เอฟไอดีหรือไม่ และวิธีที่อาร์เอฟไอดีสามารถรวมเข้ากับกระบวนการทางธุรกิจที่มีอยู่ บริษัท อินเตอร์เมคเป็นผู้นำในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีและการพัฒนามาตรฐานด้านนี้ ด้วยประสบการณ์ในการช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถนำระบบเก็บรวบรวมข้อมูลโดยอาร์เอฟไอดีไปใช้อย่างสมบูรณ์ สำหรับกรณีศึกษาเกี่ยวกับผู้ใช้อาร์เอฟไอดีจากหลายอุตสาหกรรม และรายงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี และหัวข้อเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลอื่นๆ สามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ บริษัท อินเตอร์เมคได้ช่วยสร้างผลกำไรให้กับบริษัทต่างๆ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการเก็บรวบรวมข้อมูลมานานกว่า 40 ปีแล้ว เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่บริษัท อินเตอร์เมค สามารถช่วยคุณเตรียมความพร้อมสำหรับอาร์เอฟไอดีได้ที่ เว็บไซต์ของบริษัท www.intermec.com/RFID

อินเตอร์เมค ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์อาร์เอฟไอดีที่ครบวงจร ได้แก่ เครื่องอ่าน, เครื่องพิมพ์, แท็ก (ป้ายระบุข้อมูล), ฉลาก และ inlays ที่ได้รับการสนับสนุนการบริการด้านอาร์เอฟไอดีที่รับประกันประสิทธิภาพของระบบ โดยได้รับการออกแบบเพื่อใช้งานทั่วโลก อินเตอร์เมคสนับสนุนมาตรฐานอีพีซี รุ่น 2 และมาตรฐาน ISO 180006b และได้ใบรับรองของ ESTI และ FCC RF นอกจากนั้นยังรองรับซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร อาทิ ไอบีเอ็ม, เอสเอพี, ออราเคิล, ซัน และไมโครซอฟต์ที่ช่วยให้ลูกค้าทำงานได้อย่างราบรื่น ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวตกรรมใหม่ของอินเตอร์เมคออกแบบมาเพื่อช่วยให้ตอบสนองความต้องการในการใช้งาน อาทิ รถยกอาร์เอฟไอดีที่มีระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องอ่าน และเอเทนน่า

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร. 0-2-439-4600 ต่อ 8300, 8204
อีเมล์: srisuput@corepeak.com