อินเทล ซี อี โอ: นวัตกรรมซิลิกอนเร่งการเข้าสู่ยุคของประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน

มร.พอล โอเทลลินี ประธาน และซีอีโอ อินเทล คอร์ปอเรชั่น ได้เปิดเผยถึงแผนเร่งดำเนินการในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีให้แก่นักพัฒนาและวิศวกร นับพันที่รวมตัวกันในงานอินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรัมว่า ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีซิลิกอนจะสร้างประสบการณ์ประมวลผลแบบใหม่ในยุคแห่งการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ และมร.โอเทลลินียังได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่าอินเทลจะเริ่มส่งโปรเซสเซอร์แบบสี่แกนหรือคว๊อดคอร์ตัวแรกของโลกสำหรับพีซีและไฮ-วอลุ่มเซิร์ฟเวอร์ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ นอกจากนั้นภายในงานยังมีการให้รายละเอียดของเทคโนโลยีการผลิตแบบ 65 และ 45 นาโนเมตรที่อินเทลเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอีกด้วย

มร.โอเทลลินี กล่าวว่า “วงการอุตสาหกรรมกำลังผ่านเข้าสู่ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในระยะเวลาไม่กี่ทศวรรษ โดยเป็นการย่างเข้าสู่ยุคที่สมรรถนะการทำงานและการประหยัดพลังงานเป็นสิ่งสำคัญในทุกตลาดและทุกแง่มุมของการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีแนวทางเริ่มที่ทรานซิสเตอร์ ขยายไปถึงโปรเซสเซอร์จนกระทั่งระดับแพลตฟอร์ม“

มร.โอเทลลินีได้อ้างถึงทิศทางล่าสุดซึ่งแสดงให้เห็นว่าสมรรถนะของพลังการประมวลผลกลายเป็นสิ่งสำคัญกว่าเมื่อก่อน การเกิดโอเปอเรติ้ง ซิสเต็มใหม่ๆ เกมส์ที่มีลักษณะเหมือนจริง ออนไลน์วิดีโอ และ ไฮ-เดฟฟินิชั่นวิดีโอ ที่มีมากขึ้น จะเป็นตัวผลักดันความต้องการพลังประสิทธิภาพการประมวลผลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถ้าเป็นเครื่องพีซีเมื่อสองถึงสามปีที่ผ่านมาการสตรีมวิดีโอหนึ่งชุดจากเว็บไซต์อย่าง You Tube อาจทำให้การทำงานของเครื่องสะดุดได้ มร.โอเทลลินีกล่าวเพิ่มเติมว่า “เมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุคของ ไฮ-เดฟฟินิชั่นวิดีโอ ผู้ใช้ต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมถึงแปดเท่าเพียงแค่ในการแปลงสัญญาณเท่านั้น”

มร.โอเทลลินี กล่าวเสริมว่า “ พลังการประมวลผลกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าที่ผ่านมา ถึงแม้การลดความร้อน อายุการใช้แบตเตอรี่ที่ยาวขึ้น และการประหยัดค่าไฟในศูนย์ข้อมูลมีความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน เทคโนโลยีซิลิกอนคือหัวใจของแนวทางทั้งหมด และนี่คือสิ่งที่เรามุ่งมั่นให้ประสบผลสำเร็จ”

ผลิตภัณฑ์ในสถาปัตยกรรมอินเทล คอร์ ไมโครอาร์คิเทคเจอร์
มร.โอเทลลินี กล่าวเพิ่มเติมว่า “เมื่อกล่าวถึงสมรรถนะและการประหยัดพลังงาน สถาปัตยกรรมใหม่ อินเทล คอร์? ไมโครอาร์คิเทคเจอร์ และโปรเซสเซอร์ตัวหลัก อินเทล คอร์2 ดูโอ โปรเซสเซอร์ได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่วงการอุตสาหกรรม” พร้อมกันนั้นมร.โอเทลลินีได้แสดงให้เห็นถึงผลของการทดสอบ อินเทล คอร์ 2 ดูโอ จากเบนช์มาร์กต่างๆ ซึ่งคลอบคลุมแอพลิเคชั่นที่หลากหลาย ซึ่งในขณะนี้โปรเซสเซอร์รุ่นนี้ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการขายได้รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทอินเทล ด้วยการส่งผลิตภัณฑ์จำนวนมากถึงกว่า 5 ล้านชิ้นภายในเวลาน้อยกว่า 60 วันนับตั้งแต่เริ่มเปิดตัว

“ ด้วยคอร์ 2 ดูโอ โปรเซสเซอร์ เรานำเสนอประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในสินค้าตั้งแต่โน้ตบุ๊กที่บางที่สุด จนถึงดูอัลคอร์เซิร์ฟเวอร์ และเรามีความพอใจกับการเติบโตขึ้นของโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้อย่างมาก”

มร.โอเทลลินีนำเสนอต่อถึงรายละเอียดของแผนงานของบริษัทในการนำเสนอโปรเซสเซอร์ที่มีแกนประมวลผลสี่แกนหรือคว๊อดคอร์รุ่นแรกสำหรับเครื่องพีซีและไฮ-วอลุ่มเซิร์ฟเวอร์ โปรเซสเซอร์ตัวแรกของรุ่นนี้จะเจาะจงสำหรับนักเล่นเกมส์ และนักสร้างคอนเทนท์ โดยจะใช้ชื่อว่า อินเทล คอร์2 เอ็กซ์ตรีม คว๊อดคอร์ โปรเซสเซอร์ และจะมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67 จาก อินเทล คอร์2 เอ็กซ์ตรีม โปรเซสเซอร์* รุ่นปัจจุบัน โดยจะพร้อมเริ่มวางตลาดในเดือนพฤศจิกายน สำหรับโปรเซสเซอร์แบบควอดคอร์ในรุ่นเมนสตรีมซึ่งจะใช้ชื่อว่า อินเทล คอร์2 คว๊อด โปรเซสเซอร์ จะเริ่มส่งสู่ตลาดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 ในส่วนของอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซี่รี่ส์ 5300 สำหรับดูอัลโปรเซสเซอร์เซิร์ฟเวอร์ จะพร้อมวางจำหน่ายภายในปี 2549 นี้ รวมทั้งจะมีการส่งโปรเซสเซอร์คว๊อดคอร์
ตัวใหม่ของ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ L5310 สำหรับ เบลดเซิร์ฟเวอร์ซึ่งกินไฟต่ำกว่า 50 วัตต์ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550

กระบวนการผลิตและเทคโนโลยีการผลิตซิลิกอน
มร.โอเทลลินี ได้กล่าวถึงสมรรถนะและการประหยัดพลังงานไว้ว่า “ทั้งหมดเริ่มต้นจากทรานซิสเตอร์” ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงแนวทางของบริษัทอินเทล สอดคล้องกับกฏของมัวร์ รวมทั้งเทคโนโลยีด้านซิลิกอนและกระบวนการผลิตที่อินเทลเป็นผู้นำในวงการอุตสาหกรรม อินเทลเป็นบริษัทแรกที่มีการนำเทคโนโลยีการผลิตแบบ 65 นาโนเมตรที่ทันสมัยมาใช้ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งรวมถึงการนำคุณสมบัติการประหยัดพลังงานเข้ามาใส่ในทรานซิสเตอร์อีกด้วย

มร.โอเทลลินีกล่าวว่าโปรเซสเซอร์ส่วนใหญ่ที่อินเทลส่งให้ลูกค้าในปัจจุบันผลิตด้วยเทคโนโลยี 65 นาโนเมตรแล้ว ก่อนที่บริษัทอื่นๆ จะสามารถเริ่มผลิตภัณฑ์แม้เพียงชิ้นแรก

สำหรับในอนาคตเทคโนโลยีรุ่นต่อไปของอินเทลคือเทคโนโลยี 45 นาโนเมตรซึ่งจะเริ่มนำมาใช้ในกระบวนการผลิตจริงในช่วงครึ่งหลังของปี 2550 มร.โอเทลลินีได้เปิดเผยเป็นครั้งแรกถึงผลิตภัณฑ์ 15 ตัว ครอบคลุมตั้งแต่เดสก์ท้อป โมบายล์ และเซิร์ฟเวอร์ในระดับองค์กร ซึ่งใช้เทคโนโลยี 45 นาโนเมตร ผลิตภัณฑ์ตัวแรกอยู่ในขั้นตอนการออกแบบตามกำหนดและจะสำเร็จในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2549 นี้ มร.โอเทลลินีได้บรรยายเพิ่มเติมถึงเครือข่ายโรงงานแบบ 45 นาโนเมตรที่มีห้องทดลองกว้างขวางถึง 500,000 ตารางฟุต ใช้งบลงทุนกว่า 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่อง
มร.โอเทลลินี ได้คาดการณ์ว่า ‘ท่วงทำนอง’ ของกระบวนการผลิตเหล่านี้ซึ่งเป็นไปตามกฏของมัวร์ ควบคู่ไปกับแผนการแนะนำสถาปัตยกรรมใหม่ทุกๆ 2 ปี จะก่อให้เกิดการพัฒนาด้านสมรรถนะต่อวัตต์มากขึ้นกว่าสถาปัตยกรรม คอร์ ไมโครอาร์คิเทคเจอร์ในปัจจุบัน ด้วยสถาป้ตยกรรมใหม่ภายในปี 2553 เขายังได้แสดงแผนภูมิที่ชี้ให้เห็นสถาปัตยกรรมใหม่ (ชื่อรหัสเดิมว่า Nehalem และมุ่งใช้เทคโนโลยี 45 นาโนเมตร) ที่จะมีการเปิดตัวในปี 2551 และตามด้วยสถาปัตยกรรมต่อไป (ชื่อรหัสเดิมว่า Gesher และมุ่งใช้เทคโนโลยี 32 นาโนเมตร) สถาปัตยกรรมใหม่เหล่านี้จะถูกพัฒนาโดยทีมงานที่แยกกันแต่ทำงานคู่ขนานกัน และมุ่งเน้นที่การนำเทคโนโลยีในอนาคตมาใช้ร่วมกัน

มร.โอเทลลินี กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ ภายในปลายทศวรรศนี้ เราจะสร้างสมรรถนะต่อวัตต์ที่สูงขึ้นจากโปรเซสเซอร์รุ่นปัจจุบันถึงร้อยละ 300 การพัฒนาสมรรถนะและประสิทธิภาพในครั้งนี้จะช่วยให้นักพัฒนาและผู้ผลิตต่างๆ สามารถพัฒนาระบบที่มีความสามารถใหม่ๆ ที่น่าทึ่ง”

และเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ตามกฏของมัวร์ในอนาคต มร.โอเทลลินีได้แสดงถึงการโปรโตไทป์โปรเซสเซอร์จากห้องทดลองที่มีถึง 80 โฟลตติ้งพ้อยท์คอร์บนไดย์เดียว ซิลิกอนชิ้นเล็กๆ บนไดย์ของชิปทดลองนี้มีขนาดเพียง 300 ตารางมิลลิเมตร ซึ่งทำให้สามารถมีสมรรถนะในระดับ Teraflop หรือการทำงานหนึ่งล้านล้านล้านโฟลตติ้งพ้อยท์ ต่อวินาที มร.โอเทลลินี้ได้เปรียบเทียบกับความสามารถนี้เท่ากับ Teraflop ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลกซึ่งเป็นสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของอินเทลเมื่อ 11 ปีที่แล้วที่เป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ ทำงานด้วยโปรเซสเซอร์ เพนเทียม โปร กว่า 10,000 ตัว บรรจุในตู้ขนาดใหญ่ 85 ตู้บนพื้นที่กว่า 2,000 ตารางฟุต

นวัตกรรมและความท้าทายของอินเทล คอร์2
ในการปรากฏตัวครั้งแรกของผู้บริหารจากบริษัทแอปเปิล ในงานไอดีเอฟ มร.โอเทลลินีร่วมกับ มร.ฟิล ชิลเลอร์ รองประธานอาวุโสฝ่ายการตลาดระดับเวิล์ด ไวด์ บริษัทแอปเปิล ได้พูดคุยถึงกระบวนการคิดค้นเครื่องคอมพิวเตอร์เก๋ไก๋ของแอปเปิลทุกรุ่นโดยใช้โปรเซสเซอร์ในตระกูลอินเทล คอร์ นอกจากนั้นแล้ว มร.โทมัส บาร์ตัน ซีอีโอ บริษัท Rackable ยังได้ร่วมกับมร.โอเทลลินีในการพูดคุยถึงบริษัทของเขาในการเร่งนำสถาปัตยกรรมอินเทล คอร์? ไมโครอาร์คิเทคเจอร์

มาใช้ โดยเริ่มจากอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5100 แบบดูอัลคอร์ที่เริ่มวางจำหน่ายในเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา มร.บาร์ตัน แสดงให้เห็นถึงระบบที่ลักษณะเด่นซึ่งเขาได้อธิบายว่าเป็นสถิติครั้งใหม่ (320 คอร์ในเซิร์ฟเวอร์แร็ค 22 หน่วย) โดยใช้โปรเซสเซอร์แบบสี่แกนตัวใหม่ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5300

ในด้านนวัตกรรม มร.โอเทลลินี ได้สร้างความท้าทายให้แก่วงการคอมพิวเตอร์และวงการคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ ในการนำประโยชน์ของความสามารถในการประหยัดพลังงานของ อินเทล คอร์ 2 ดูโอ โปรเซสเซอร์มาใช้ โดยการประกาศการแข่งขัน อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ ชาแลนจ์ ที่มีรางวัลมูลค่ามากถึงหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับผู้ออกแบบและผู้ผลิตพีซี ที่สามารถสร้างเครื่องที่เล็กที่สุดและมีรูปแบบทันสมัยที่สุดโดยใช้อินเทล คอร์ 2 ดูโอ โปรเซสเซอร์ ควบคู่ไปกับ เทคโนโลยีอินเทล ไวฟ์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มคุณภาพเยี่ยมเพื่อความบันเทิงภายในบ้าน หรือพีซีที่นำสื่อรูปแบบต่างๆ มาใช้ประโยชน์สูงสุด

โอกาสใหม่ ๆ สำหรับการเจริญเติบโต
มร.โอเทลลินี ได้สรุปถึงความก้าวหน้าที่บริษัทได้เห็นจากเทคโนโลยี อินเทล ไวฟ์ และ แพลตฟอร์มอินเทล เซนทริโน ดูโอ โมบายล์ เทคโนโลยี รวมทั้งแพลตฟอร์มโมบายล์รุ่นต่อไป (ซึ่งมีชื่อรหัสว่า Santa Rosa) ซึ่งจะมีการวางจำหน่ายเป็นลำดับต่อไปในปี 2550 รวมทั้งจุดเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ในวงการอุตสาหกรรมซึ่งจะเป็นบรอดแบรนด์เคลื่อนที่ หรือ “การนำอินเตอร์เน็ตบรอดแบรนด์ติดตัวคุณไปทุกที่”

สำหรับความพยายามในด้านการผลักดันเทคโนโลยีไวแม็กซ์ มร.โอเทลลินีกล่าวอย่างภาคภูมิใจถึงข่าวล่าสุดว่าบริษัท Sprint และบริษัท Clearwire จะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ นอกจากนั้นอินเทลกำลังพัฒนาเครื่องพีซีรูปแบบใหม่รู้จักกันในนาม อัลตร้า โมบายล์ พีซี ซึ่งจะกินไฟต่ำลงกว่าโน้ตบุ๊กในปัจจุบันนี้ถึง 10 เท่า ภายในปี 2551

รายละเอียดเกี่ยวกับงานไอดีเอฟ
อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ)ในครั้งนี้จัดเป็นปีที่ 10 เป็นเวทีที่บริษัทชั้นนำในวงการมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับพีซี เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และอุปกรณ์พกพาต่างๆ ของอินเทล ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานไอดีเอฟ และเทคโนโลยีต่างๆ ของอินเทลได้ที่ www.intel.com/idf

ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมซิลิกอน อินเทลได้พัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และริเริ่มสิ่งต่างๆ เพื่อสร้างความก้าวหน้าในการทำงานและการดำรงชีวิตของผู้คน ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทอินเทล ได้ที่เว็บไซต์ http://www.intel.com/pressroom