สายการบินเอมิเรตส์ประกาศผลกำไรล่าสุด สายการบินเอมิเรตส์ประกาศผลกำไรล่าสุด

จากภาพ :
ชี้ค อาเหม็ด บิน ซาอิด อัล มัคตุม ประธานและผู้อำนวยการ สายการบินเอมิเรตส์และบริษัทในเครือ ประกาศผลประกอบการปีงบประมาณซึ่งสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2550 ด้วยผลกำไรสุทธิของบริษัทในเครือ จำนวน 3.39 หมื่นล้านบาท (942 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 จากปีก่อนหน้า

• ผลกำไรของบริษัทในเครือเอมิเรตส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 หรือประมาณ 3.39 หมื่นล้านบาท (942 ล้านเหรียญสหรัฐ)

• ผลกำไรของสายการบินเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 3.03 หมื่นล้านบาท (844 ล้านเหรียญสหรัฐ)

• ผลกำไรของดนาต้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 หรือประมาณ 3.52 พันล้านบาท (98 ล้านเหรียญสหรัฐ)

• เจ้าของหุ้นได้รับเงินปันผลประมาณ 3.92 พันล้านบาท (109 ล้านเหรียญสหรัฐ)

• บริษัทในเครือเอมิเรตส์ได้บริจาคเงินประมาณ 356 พันล้านบาท (9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ให้กับเศรษฐกิจของดูไบ

บริษัทในเครือเอมิเรตส์ ประกาศผลประกอบการประจำปี ด้วยผลกำไรติดต่อกันเป็นปีที่ 19 และสถิติผลประกอบการใหม่ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยค่าการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก

รายได้ของบริษัทในเครือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 ด้วยผลกำไรที่สูงขึ้นประมาณ 3.39 หมื่นล้านบาท (942 ล้านเหรียญสหรัฐ) ของปีงบประมาณซึ่งสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2550 ขณะที่รายได้ของบริษัทในเครือเพิ่มขึ้นอย่างน่าประทับใจที่ประมาณ 306 พันล้านบาท (8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 28.4 เมื่อเทียบกับรายได้ 237.6 พันล้านบาท(6.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ บัญชีสมดุลของบริษัทในเครือยังคงไว้ซึ่งความแข็งแกร่ง ด้วยมูลค่าประมาณ 126 พันล้านบาท(3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ณ สิ้นเดือนมีนาคม คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

เอมิเรตส์จะแบ่งเงินปันผลจำนวน 3.92 พันล้านบาท (109 ล้านเหรียญสหรัฐ) ให้แก่เจ้าของ คือรัฐบาลดูไบ ซึ่งรวมแล้ว เจ้าของหุ้นจะได้รับเงินปันผลจำนวน 18.18 หมื่นล้านบาท (505 ล้านเหรียญสหรัฐ) จากเอมิเรตส์ตั้งแต่ช่วงปีงบประมาณ 2543-2544 สำหรับปีงบประมาณ 2549-2550 บริษัทในเครือเอมิเรตส์จะทำการบริจาคเงินโดยตรงจำนวน 144 พันล้านบาท (4 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และโดยอ้อมอีก 212.4 พันล้านบาท (5.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ให้แก่ เศรษฐกิจดูไบ

รายงานผลประกอบการของสายการบินเอมิเรตส์และบริษัทในเครือประจำปี พ.ศ.2549-2550 ประกอบด้วย รายงานของสายการบินเอมิเรตส์ ดนาต้า และบริษัทในเครืออื่น ๆ โดยมี ชี้ค อาเหม็ด บิน ซาอิด อัล มัคตุม ประธานและผู้อำนวยการ สายการบินเอมิเรตส์และบริษัทในเครือ เป็นประธานแถงข่าว ซึ่งจัดขึ้นที่ดูไบ เมื่อเร็วๆนี้

ตัวเลขผลประกอบการล่าสุดของกลุ่ม ซึ่งเป็นเลขผลกำไรสองหลัก สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการเติบโตด้านการบริการของเอมิเรตส์ และความสามารถในการดึงดูดผู้โดยสารระดับพรี เมี่ยมได้มากขึ้น โดยได้ใช้เงินลงทุนหลายร้อยล้านดอลลาร์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการของเอมิเรตส์ ดูได้จากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 ล้านคนที่ใช้บริการสายการบินเอมิเรตส์ในปีงบประมาณล่าสุด รวมทั้งสิ้นเป็นสถิติใหม่ด้วยจำนวนผู้โดยสาร 17.5 ล้านคน

ชี้ค อาเหม็ด กล่าวว่า “นี่เป็นอีกหนึ่งปีที่โดดเด่นของรายได้และการเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ผลสรุปเหล่านี้ สวนทางกับการเพิ่มขึ้นของต้นทุนและความล่าช้าของการส่งมอบเครื่องบินที่ได้ส่งผลต่อศักยภาพการเติบโตของเรา สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าเอมิเรตส์สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีและพร้อมรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้น”

ชี้ค อาเหม็ด ยังกล่าวต่ออีกว่า “นับเป็นปีที่สามแล้วที่เรายังคงได้รับความกดดันจากราคาต้นทุนน้ำมันที่ชะลอการเติบโตของรายของเรา ขณะที่ความล่าช้าของการส่งมอบเครื่อง A380 ทำให้เราต้องมาพิจารณาแผนงานขยายการเติบโตของเรา แม้จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าว บริษัทในเครือก็ยังคงก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยตัวเลขสองหลักของผลกำไรและรายได้จากการเติบโต โดยการขยายการดำเนินงานสู่ตลาดใหม่ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ตลาดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ด้วยผลกำไรสูงสุด สร้างสรรค์เพื่อดึงดูดและรักษาไว้ซึ่งผู้โดยสารระดับพรีเมียม ของเอมิเรตส์ โดยจะยังคงจับตาดูในส่วนต้นทุนต่อหน่วย”

“บริษัทในเครือเอมิเรตส์ได้เปิดเผยในเรื่องราคาความผันผวนของราคาน้ำมัน การเพิ่มของอัตราดอกเบี้ย และค่าความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์กับเงินสกุลหลักต่างๆ – โดยทั้งหลายเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกือบจะนอกเหนือความควบคุมของเรา ต่างกับส่วนอื่นๆของธุรกิจ ที่เราสามารถควบคุมได้ดีกว่า ด้วยความพยามยามอย่างหนักในการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผล พร้อมการพยายามเพิ่มความสามารถในการผลิตและเพิ่มความท้าทายเสมอในวิธีการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเพื่อการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเรามีความมั่นใจกับก้าวต่อไปของแผนในการขยายการเติบโตของเรา และเรายังคงจะลงทุนเพื่อริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อการเติบโตของบริษัท”

การริเริ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพและการควบคุมค่าใช้จ่ายของทุกภาคส่วนก่อให้เกิดผลลัพธ์ในด้านบวก โดยบริษัทในเครือเอมิเรตส์สามารถรักษาผลกำไรสุทธิได้ร้อยละ 11.4

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันยังคงมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุด กล่าวคือ ร้อยละ 29.1 ของค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.2 ในปีที่แล้ว และร้อยละ 21.4 ในปีก่อนหน้า เช่นเดียวกันสายการบินอื่นๆ เอมิเรตส์จำเป็นต้องคงไว้ซึ่งค่าน้ำมันในราคาตั๋วเครื่องบิน ซึ่งครอบคลุมเพียงร้อยละ 50 ของราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น

ในปีที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI crude) มีความผันผวนจาก 50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เพิ่มเป็น 78 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เป็นสิ่งที่ท้าทายเอมิเรตส์ในการจัดการกับโปรแกรมบริหารความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันภายใต้ราคาที่จะแน่ใจได้ว่าราคาน้ำมันสุทธิจะยังคงต่ำกว่าระดับราคาตลาด ทั้งนี้โปรแกรมบริหารความเสี่ยงในราคาน้ำมันของสายการบินฯจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในราคาน้ำมัน ทำให้สายการบินฯประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึงประมาณ 7.09 พันล้านบาท (197 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีงบประมาณ 2549-2550

ในระหว่างกล่าวเปิดการรายงานผลประกอบการประจำปี 2549-2550 ชี้ค อาเหม็ด ได้เน้นย้ำถึงความสัมพันธ์อย่างเกื้อกูลระหว่างการพัฒนาอย่างรวดเร็วของดูไบและการเติบโตของเอมิเรตส์และดนาต้า ซึ่งได้มีส่วนช่วยเหลือทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานและชื่อเสียง ในฐานะศูนย์กลางด้านการค้าและท่องเที่ยวในระดับโลกแห่งหนึ่ง

ชี้ค อาเหม็ด กล่าวเพิ่มเติมถึงสายการบินเอมิเรตส์ว่า ได้เติบโตจากผู้ดำเนินธุรกิจเล็กๆด้วยเครื่องบินเพียง 8 ลำ ในปี 2533 และได้เติบโตเป็นสายการบินนานาชาติที่ใหญ่เป็นอันดับแปดของโลกในวันนี้ ด้วยเครื่องบิน102 ลำ และให้บริการสู่กว่า 80 จุดหมายทั่วโลก

“ผมมักจะได้รับการถามถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้น โดยปราศจากเงินสนับสนุนหรือสิทธิพิเศษจากรัฐบาล ผมไม่มีสูตรลับ เพียงแค่เราทำงานหนัก ทำงานอย่างฉลาด และพยายามสร้างความสำเร็จโดยใช้แบบจำลองทางธุรกิจที่เรียบง่าย ที่มุ่งเน้นการเติบโต การรักษาต้นทุนต่อหน่วยให้ลดลง และการลงทุนด้านนวัตกรรม เพื่อความก้าวหน้าในการแข่งขัน”

ชี้ค อาเหม็ด กล่าวสรุป “ผลประกอบการของบริษัทในเครือเอมิเรตส์ในปีนี้เป็นที่น่าพอใจ เฉกเช่นปีที่ผ่านมา เรามีความตั้งใจที่จะพยายามคงไว้ซึ่งกำไรกลับมาสู่ธุรกิจของเรา พร้อมความมั่นใจว่าเรามีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม มีบุคลากร และทรัพยากรที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของบริษัทในอนาคต ในขณะที่เราได้มอบบริการที่มีคุณภาพให้แก่ผู้โดยสารได้ตามความมุ่งหวังของเขา”

ในปีงบประมาณที่ผ่านมา รายได้รวมของสายการบินเอมิเรตส์ทั้งหมดประมาณ 291.6 พันล้านบาท (8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) โดยมีรายได้จำนวนประมาณ 64.8 พันล้านบาท (1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 29.5 ซึ่งสูงกว่ารายได้ของปี 2548-2549 ซึ่งมีจำนวน 226.8 พันล้านบาท (6.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งนี้ ผลกำไรของสายการบินฯจำนวน 3.03 หมื่นล้านบาท (844 ล้านเหรียญสหรัฐ) นั้น เป็นผลต่อยอดจากผลกำไรปีก่อนหน้านี้ที่ทำไว้ถึง 2.42 หมื่นล้านบาท (674 ล้านเหรียญสหรัฐ)

จากการที่สายการบินฯได้เพิ่มจำนวนเครื่องบินโบอิ้ง 700-300ER อีก 12 ลำ ในปีงบประมาณที่ผ่านมา เป็นผลให้เอมิเรตส์มีเครื่องบินทั้งหมด 102 ลำ ในที่นี้รวมถึงเครื่องบินขนส่งสินค้าจำนวน 9 ลำ )จำนวนสรุปในเดือนมีนาคม 2550) ปัจจุบัน เครื่องบินลำตัวกว้างทั้งหมดในฝูงบินมีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยเพียง 63 เดือน นับเป็นหนึ่งในฝูงบินพาณิชย์ที่อายุน้อยที่สุดที่ทำการบินอยู่ในปัจจุบัน

หนึ่งในส่วนสำคัญในปีที่ผ่านมาของเอมิเรตส์คือ การทำสัญญาซึ้อเครื่องบินขนส่งสินค้าโบอิ้ง 747-8 จำนวน 10 ลำ ในงานฟาร์นเบอร์เรอร์ แอร์ โชว์ 2549 เป็นมูลค่า 118.8 พันล้านบาท )3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ) นอกจากนี้ ยังได้ทำสัญญาเช่าเครื่องบินโบอิ้ง 777-300ER จากจีอีซีเอเอส เพื่อรองรับความต้องการที่เกิดขึ้น จากผลที่ได้รับในการล่าช้าของการส่งมอบเครื่องบิน A380

นี่จะทำให้เครื่องบินโบอิ้ง 777-300ER มีจำนวนเพิ่มเป็น 59 ลำ รวมถึงเครื่องบินโบอิ้ง 777 ที่มีอยู่ที่ใช้สำหรับเป็นเครื่องบินโดยสารและเครื่องบินขนส่งสินค้า โดยจะทำให้ เอมิเรตส์เป็นผู้ให้บริการโบอิ้ง 777 รายใหญ่ที่สุดภายในปี 2553 ปัจจุบัน เอมิเรตส์ได้สั่งซื้อเครื่องบินใหม่จำนวน 107 ลำ ด้วยมูลค่าประมาณ 1.08 พันล้านบาท )30 พันล้านเหรียญสหรัฐ) จากราคาขายในท้องตลาด โดยสายการบินฯจะยังคงรับมอบเครื่องบินใหม่โดยเฉลี่ยเดือนละ 1 ลำ อย่างต่อเนื่อง ภายใน 8 ปีนี้

สายการบินเอมิเรตส์ ได้เปิดให้บริการเส้นทางสู่ 4 เมืองใหม่ในปี พ.ศ.2549-2550 ได้แก่ บังกาลอร์ ปักกิ่ง นาโกย่า และตูนิส ทำให้เครือข่ายการให้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 89 จุดหมาย นอกจากนี้ เอมิเรตส์ยังได้เพิ่มเที่ยวบินสำหรับให้บริการผู้โดยสาร ที่เด่นชัดคือ การเพิ่มเที่ยวบินสู่ซูริคและดุสเซลดอล์ฟ เป็นวันละสองเที่ยวบิน และเพิ่มเที่ยวบินสู่นิวยอร์คโดยผ่านฮัมเบิร์ค เป็นวันละสามเที่ยวบิน

จำนวนผู้โดยสารบนเครื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.2 จาก 75.9 ของปีที่ผ่านมา การให้บริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 หรือ 12,643 ล้านตัน-กิโลเมตร และมีความจุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 22.9 หรือ 19,414 ล้านตัน-กิโลเมตร จุดคุ้มทุนยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ โดยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ 59.9 จากร้อยละ 60.2 ในปีที่ผ่านมา ขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ห้าติดต่อกัน เป็น 16.38 บาท (59 เซนต์สหรัฐ) ต่อรายได้ต่อตัน-กิโลเมตร ซึ่งสูงขึ้นจากเดิม 15.27 บาท (55 เซนต์สหรัฐ) ในปี พ.ศ. 2548-2549

ตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา เอมิเรตส์ได้ทำการเปิดห้องรับรองผู้โดยสารแห่งใหม่จำนวน 9 แห่ง ณ สนามบินหลักๆในเครือข่ายทางการบินของเอมิเรตส์ช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบัน เอมิเรตส์มีห้องรับรองผู้โดยสารเป็นจำนวนทั้งสิ้น 18 แห่ง เพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารชั้นหนึ่ง ชั้นธุรกิจ และผู้โดยสารที่บินเป็นประจำกับสายการบินฯ ปัจจุบันสายการบินฯได้ลงทุนในส่วนของห้องรับรองผู้โดยสารดังกล่าวทั้งหมดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1.33 พันล้านบาท (37 ล้านเหรียญสหรัฐ) พร้อมอีก 468 ล้านบาท (13 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการลงทุนเพิ่มเติมสำหรับห้องรับรองผู้โดยสารอีก 10 แห่งในปีงบประมาณ 2550-2551

นอกจากนี้ เอมิเรตส์ยังได้เพิ่มการให้บริการสำหรับผู้โดยสารรุ่นเยาว์ ด้วยรถเข็นเด็ก ณ สนามบินดูไบ และการเปิดตัวของเล่นเด็กชุดใหม่ล่าสุด เพื่อให้ผู้โดยสารรุ่นเยาว์มีความสุขและเพลิดเพลินไปกับการเดินทางสายการบินฯ ยังได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินหลายร้อยดอลลาร์เพื่อพัฒนาฝูงบิน 777 ด้วยที่นั่ง สกายครุยเซอร์ใหม่ในที่นั่งชั้นหนึ่ง ที่นั่งแบบปรับนอนราบในชั้นธุรกิจ และการพัฒนาระบบความบันเทิง “ไอซ์” บนเครื่องในทุกชั้นที่นั่ง

เอมิเรตส์ สกายคาร์โก้ มีสถิติการเติบโตที่แข็งแกร่งด้วยการขนส่งสินค้า 1.2 ล้านตัน ในเครือข่ายการขนส่ง โดยเพิ่มขึ้นจากปริมาณการขนส่ง 1 ล้านตันในปีที่ผ่านมา หรือร้อยละ 13.5 แผนกขนส่งสินค้าของสายการบินฯ มีรายได้ 54 พันล้านบาท (1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มี 8.56 พันล้านบาท (238 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 19 ทั้งนี้ รายได้ของเอมิเรตส์สกาย คาร์โก้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของรายได้จากการขนส่งทางอากาศ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในสัดส่วนที่สูงสุดเมื่อเทียบสายการบินอื่นๆที่ใช้ฝูงบินแบบเดียวกัน

นอกจากการสั่งซื้อเครื่องบินขนส่งสินค้าโบอิ้ง 747-8 ณ ฟาร์นเบอร์ลาร์ แอร์ โชว์ แล้ว แผนกขนส่งสินค้ายังได้ทำสัญญาเช่าแบบ wet-lease กับ ทีเอ็นที แอร์เวยส์ เอส เอ (TNT Airways S.A) สำหรับการดำเนินการให้บริการเครื่องบินโบอิ้ง 747-400ERF ในเดือนพฤษภาคม 2550 และสัญญาเช่าแบบ dry-lease กับเครื่องบินแบบเดียวกันอีกสองลำจาก กักเกนแฮม อวิเอชั่น (Guggenheim Aviation) โดยจะเริ่มให้บริการในเดือนสิงหาคม 2550 และพฤษภาคม 2551 โดยตามตารางการให้บริการในปัจจุบันจะบริการสู่ 29 จุดหมาย ทั้งหมดนี้ เอมิเรตส์ สกายคาร์โก้ จะขนส่งสินค้าในเครื่องบิน 102 ลำ รวมถึงเครื่องบินขนส่งสินค้าอีก 9 ลำ สู่ 89 เมือง

การบริการเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อน อีกหนึ่งแผนกของสายการบินเอมิเรตส์ ที่ได้แสดงศักยภาพการเติบโตขึ้นอีกปี ด้วยการขายที่เพิ่มขึ้นเป็น 1.13 หมื่นล้านบาท (314 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยมีอัตราเติบโตร้อยละ 22 จากปีก่อน และผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 แม้จะมีสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่รุนแรง โดยในปีที่ผ่านมา เอมิเรตส์ ฮอลิเดย์ส และ อราเบียน แอดแวนเจอรส์ ได้ให้บริการลูกค้าสูงถึง 369,000 คน

ทั้งนี้ สาขาใหม่ของเอมิเรตส์โฮเต็ลแอนด์รีสอร์ทในแผนก จะยังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และในปีงบประมาณที่จะถึงนี้ จะได้พบกับการเปิดตัว เอมิเรตส์ มารีนา โฮเต็ลแอนด์เรสสิเดนท์ กำหนดเปิดให้บริการเดือนกันยายน 2550 และ เอมิเรตส์ กรีน เลค เซอร์วิสด อพาร์ตเมนท์ ที่กำหนดเปิดให้บริการเดือนมกราคม 2551

ดนาต้า แสดงการเติบโตที่แข็งแกร่งด้วยรายได้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 หรือ 2.03 หมื่นล้านบาท (565 ล้านเหรียญสหรัฐ) เทียบกับรายได้ในปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่า 1.74 หมื่นล้านบาท (485 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งนี้ ผลกำไร 3.52 พันล้านบาท (98 ล้านเหรียญสหรัฐ) ของดนาต้านั้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับผลกำไร 3.16 พันล้านบาท (88 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีก่อนหน้านี้ ถึงแม้ว่ามีสิ่งท้าทายยิ่งใหญ่ในการทำให้การปฏิบัติงานที่สนามบินดูไบ และคาร์โก้ เทอมีนัล ก็ได้ดำเนินงานได้อย่างราบรื่น ด้วยการรายล้อมในการสร้างสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่สุดในสนามบินและโครงการขยายการเติบโตที่ได้ดำเนินการในปัจจุบัน

ในการดำเนินการปีที่ 48 ของดนาต้า ดนาต้าได้แสดงถึงการเติบโตที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ณ สนามบินนานาชาติดูไบ ด้วยจำนวนผู้โดยสาร 30 ล้านคน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2) จำนวนเครื่องบิน 110,000 ลำ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8) และจำนวนสินค้า 535,132 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6) ระหว่างปีงบประมาณ 2549-2550 ทั้งนี้ ตัวแทนท่องเที่ยวของดนาต้า ทั้งในส่วนองค์กรและบุคคล ได้รายงานการขายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 โดยได้มีการปรับตำแหน่งแบรนด์ของ ดนาต้า ฮอลิเดยส์ ให้เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชอบความหรูหรามากขึ้น และยังได้ฉลองครบรอบ 40 ปี ในฐานะตัวแทนการขายของ 7 สายการบิน และต้อนรับลูกค้าสายการบินใหม่อีก 3 สายการบิน

นับถีงวันที่ 31 มีนาคม 2550 บริษัทในเครือมีพนักงานทั้งหมด 30,344 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 จากปีก่อนหน้านี้ โดยระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา สายการบินเอมิเรตส์ได้รับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 60 คน ในปัจจุบันพนักงานต้อนรับของสายการบินฯมีจำนวนกว่า 8,000 คน จากกว่า 100 สัญชาติทั่วโลก และมีกัปตันและนักบินผู้ช่วย จำนวน 1,667 คน จาก 75 สัญชาติทั่วโลก

แผนกบริหารเครื่องสาธารณูปโภคของบริษัทในเครือ ในขณะนี้ได้ดูแลโครงการใหม่ๆดูไบ รวมมูลค่า 5.68 พันล้านบาท (158 ล้านเหรียญสหรัฐ) ภายใต้ขั้นตอนต่างๆรวมถึงการออกแบบ และการก่อสร้าง เช่น อพาร์ตเมนต์จำนวน 700 หลัง สำหรับที่พักของลูกเรือในมีเดีย ซิตี้ รวมถึง ศูนย์บริการคอล เซนเตอร์ ที่ดูไบ, เอาร์ทซอร์ส โซน สำนักงานใหม่ของ ดีแอนด์แอลเอ็ม บนถนน ชี้ค ซาเย็ด และศูนย์ปฏิบัติการแห่งใหม่ ณ ดูไบ อินเวสเม้นท์ พาร์ค และโกดังเก็บสินค้าในกูเซ
สำหรับรายงานฉบับสมบูรณ์ กรุณาเยี่ยมชมที่เวปไซต์ www.ekgroup.com/mediacentre