เศรษฐศาสตร์การจัดเก็บข้อมูล (Storage Economics) สำคัญอย่างไร

เศรษฐศาสตร์การจัดเก็บข้อมูล (Storage Economics) เป็นชุดของกลวิธี เครื่องมือ การบริการ และยุทธวิธีในการวางแผนที่จะช่วยแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ระบุต้นทุนรวมของระบบการจัดเก็บข้อมูล และจัดหากลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ช่วยลดต้นทุนที่มีอยู่ได้ จะเห็นได้ว่าในช่วง 3-4 ปีมานี้ ราคาของดิสก์คิดเป็นสัดส่วนเพียง 25% ของต้นทุนรวมเท่านั้น ดังนั้นการปรับใช้แนวคิด Storage Economics เพื่อช่วยระบุและกำหนดคุณลักษณะต้นทุนรวม (TCO) ที่เหลืออีก 75% จึงเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการ รวมทั้งยังแสดงให้เห็นด้วยว่าสถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยีสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงการได้มาของผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ของปี 2550 ได้

Storage Economics ให้แนวทางในการวัดผลการลงทุนได้เหนือกว่าแนวคิดการคำนวณต้นทุนแบบราคาต่อเทราไบต์ ($/TB) และยังให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงและต้นทุนของระบบการจัดเก็บข้อมูลหรือสตอเรจระยะยาวได้ ทั้งนี้จากการวิเคราะห์เศรษฐกิจมาหลายปี ทำให้บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว ลูกค้าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ระดับ 1 ล้านดอลลาร์ต่อความจุของสตอเรจที่ได้รับการติดตั้งและใช้งานแล้วทุกๆ 12 เทราไบต์ในระยะเวลา 3 ปี แต่สิ่งนี้สามารถคำนวณและทำการลดลงได้ ด้วยการลงทุนอย่างสมดุลทั้งในเรื่องกำลังคน กระบวนการ และผลิตภัณฑ์

เศรษฐศาสตร์การจัดเก็บข้อมูลเป็นชุดกลวิธีและยุทธวิธีที่จะช่วยคุณออกแบบและนำโซลูชั่นชั้นเยี่ยมที่ทั้งประหยัด/เหมาะสมไปใช้งาน อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จอย่างยั่งยืนของเศรษฐศาสตร์สำหรับการจัดเก็บข้อมูลนั้นจะต้องเป็นการนำไปใช้ร่วมกับการต่อรองราคาสินค้า การให้บริการลูกค้า และการให้บริการเชิงปฏิบัติการด้วย

ทำไมการวัดผลการลงทุนแบบ $/TB จึงไม่ถูกต้อง
ระบบการวัดผลการลงทุนที่เรียกว่า $/TB เป็นเทคนิคยอดนิยมที่ได้รับการนำมาใช้เพื่อเปรียบเทียบผู้ค้าหรือติดตามแนวโน้มขาลงของราคาซื้อสตอเรจ อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ไม่สามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างของต้นทุนระยะยาวได้ สาเหตุที่เทคนิค $/TB ได้รับความนิยม เนื่องจากไม่ต้องใช้ข้อมูลหรือการวิเคราะห์จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การใช้ระบบการวัดผลชนิดนี้อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะวัดและเปรียบเทียบต้นทุนการเป็นเจ้าของระยะยาวของโซลูชั่นหลายอย่างได้ สถาปนิกหรือนักวางแผนสตอเรจต้องตระหนักว่ามีต้นทุนจำนวนมากที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของและการดำเนินการในส่วนสตอรเจของศูนย์ข้อมูลของพวกเขา ตัวอย่างเช่น โซลูชั่นผู้ค้ารายหนึ่งอาจดีที่สุดสำหรับแนวคิด $/TB แต่อาจแพงมากที่จะเป็นเจ้าของ ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม $/TB ไม่ควรเป็นระบบวัดเศรษฐศาสตร์เพียงอย่างเดียวที่ได้รับการนำมาใช้งาน

TCO และ ROI คืออะไร
TCO (ต้นทุนรวมของการเป็นเจ้าของ) คือวิธีการคำนวณต้นทุนทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นตลอดอายุใช้งานของสินทรัพย์ ต้นทุนการซื้อเป็นเพียง 1 ใน 4 ของต้นทุนรวมทั้งหมด โซลูชั่นบางอย่างอาจมีราคาไม่แพงเมื่อซื้อมา แต่จะมีค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อได้มาเป็นเจ้าของแล้ว โดยเฉพาะเมื่อสิ่งๆ นั้นทำงานล้มเหลวแล้วล้มเหลวอีก ต้องใช้เวลามากในการจัดการ และใช้งานร่วมกับแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่ไม่ได้ดี ทั้งนี้ TCO ช่วยให้การวัดผลเชิงเปรียบเทียบกับต้นนทุนทั้งหมดที่รวมอยู่ในการตัดสินใจด้านสตอเรจโดยเฉพาะนั้นได้ดียิ่งขึ้น

ROI (ผลตอบแทนการลงทุน) คือกลวิธีการคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุน และจะมีผลอย่างมาก ถ้าบริษัทมีการลงทุนหลายอย่าง และสิ่งนี้จะช่วยด้านการตัดสินใจเพื่อให้ได้ผลตอบแทนของกำไรที่ดีที่สุด (หรือลดต้นทุน) ถ้าระบบการจัดซื้อที่มีอยู่ไม่ได้มีการแข่งขันมากมาย การคำนวณและแสดงผลตอบแทนการลงทุนจะช่วยปรับปรุงการลงทุนในโซลูชั่นของผู้ค้าให้ดีขึ้นได้ นักวางแผนการลงทุนด้านไอทีใช้ ROI เพื่อแสดงเห็นว่าการลงทุนด้านไอทีช่วยบริษัทได้อย่างไร และให้การเปรียบเทียบด้านการลงทุนของบริษัทอื่นๆ ด้วย (เนื่องจากความสำเร็จของหลายโครงการจะขึ้นอยู่กับวงเงินงบการลงทุนที่จำกัดของบริษัท)
ทำไมคุณจึงควรสนใจ Storage Economics

ลูกค้าส่วนใหญ่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนการดำเนินการ ( Operating Expense :OPEX) ต้นทุนเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากการมีการซื้อขายผลิตภัณฑ์แล้ว โดยสามารถรวมค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้า พื้นที่ใช้สอย กำลังคนด้านการจัดการ ความเสี่ยงที่ระบบจะหยุดทำงาน และสิทธิในการดูแลรักษาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และอื่นๆ โดยบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้กำหนดคุณลักษณะของต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (OPEX) ไว้ 32 ประเภท และจากการทำงานร่วมกับลูกค้าในการกำหนดว่าคุณลักษณะ OPEX ใดใน 32 ประเภทที่พวกเขาสนใจที่จะนำมาใช้ลดต้นทุน (แผนกไอทีทุกแห่งสนใจการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินการอย่างมาก) จะนำไปสู่การพูดคุยเกี่ยวกับการรวมสตอเรจ สตอเรจแบบชั้น การป้องกันความเสียหาย การปรับปรุงการสำรองข้อมูล ระบบ Virtual Tape Library (VTL) การลดความซ้ำซ้อน ในการจัดเก็บข้อมูลความจุตามต้องการ และการจัดการอัตโนมัติ เป็นต้น โดยแนวคิดหรือการลงทุนเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงไปสู่การลดต้นทุนการดำเนินงานได้

ใครควรสนใจเศรษฐศาสตร์สตอเรจ
การใช้หลักการเศรษฐศาสตร์สตอเรจเพื่อแยกแยะราคาและต้นทุนเป็นสิ่งจำเป็น ผู้จัดการด้านไอทีส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับการลดต้นทุนการดำเนินงาน (OPEX) ซึ่งไม่ใช่การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการลงทุน (Capital Expense : CAPEX) ปัจจัยสำคัญหนึ่งในการใช้กลยุทธ์เศรษฐศาสตร์สตอเรจ คือว่าคุณต้องเข้าถึงตัวบุคคลที่สามารถชักนำให้หันมาลดต้นทุนการดำเนินงานได้ โดยปกติแล้ว แผนกจัดซื้อมักจะไม่กังวลเกี่ยวกับเรื่องต้นทุนการดำเนินการ จะคิดแต่เฉพาะต้นทุนการจัดซื้อหรือค่าใช้จ่ายในการลงทุนเท่านั้น ขณะที่รองประธานฝ่ายการเงิน หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศ หรือหัวหน้าฝ่ายการเงินจะสนใจอย่างมากถึงวิธีที่โซลูชั่นหรือสถาปัตยกรรมบางอย่างสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานด้านไอที โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานสตอเรจ

เศรษฐศาสตร์สตอเรจสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานได้
การบริการด้านกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์สตอเรจได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยแยกแยะวิธีในการลดต้นทุนการดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างด้านการจัดเก็บข้อมูล โดยขั้นตอนแรกคือ ขบวนการค้นหาเพื่อตัดสินใจว่าระบบสตอเรจของคุณจะเป็นอย่างไร ขั้นตอนต่อไป คือ การกำหนดความต้องการด้านธุรกิจและเทคนิค และนำมาออกแบบโซลูชั่นที่มีข้อเท็จจริงและรูปแบบทางเศรษฐศาสตร์

เมื่อดำเนินการตามขั้นดังกล่าวแล้ว จะพบว่าสามารถปรับปรุงการเรื่องต้นทุนและผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ของปี 2550 ได้ และในปีต่อๆ ไปอีกด้วย