ซัน ไมโครซิสเต็มส์ก้าวสู่ตลาดซิลิคอนเชิงพาณิชย์ด้วยการเปิดตัวไมโครโปรเซสเซอร์แบบคอมโมดิตี้ที่เร็วที่สุดในโลก

ซัน ไมโครซิสเต็มส์เปิดตัวชิป UltraSPARC® T2 ไมโครโปรเซสเซอร์แบบคอมโมดิตี้ที่เร็วที่สุดในโลก เดินหน้าผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หลักในการเจาะตลาดด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ โดยโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้จะวางตลาดแยกขายเป็นอิสระจากเครื่องของซัน จัดเป็นโปรเซสเซอร์ตัวแรกของวงการที่มี 8 คอร์ และการใช้งาน 8 เธรดต่อคอร์ โดยก่อนหน้านี้ รู้จักกันภายใต้ชื่อโครงการ “Niagara 2” ประสิทธิภาพในระดับสถิติโลกของชิป UltraSPARC T2 ได้ยกระดับสมรรถนะของโปรเซสเซอร์สำหรับการใช้งานอเนกประสงค์โดยรวม ด้วยความสามารถในการประหยัดพลังงานต่อเธรดสูงสุดในวงการ ด้วยขีดความสามารถของแต่ละเธรดที่สามารถรันระบบปฏิบัติการได้ในตนเอง ทำให้สามารถนำเสนอระบบ 64-เวย์ ได้ภายในชิปตัวเดียว นอกจากนี้ซันยังได้เปิดเผยการออกแบบโปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2 โดยไม่คิดมูลค่าต่อชุมชนโอเพ่นซอร์สผ่านการอนุญาติใช้งานแบบ GPL

“ตลาดชิปซิลิคอนแบบคอมโมดิตี้และอุปกรณ์ต่าง ๆ มีมูลค่ารวมกันกว่าหมื่นล้านดอลลาร์” เดวิด เอียน รองประธานบริหาร สายงานไมโครอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ กล่าว “โปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2 นี้ยังได้เปิดทางไปสู่อุปกรณ์รุ่นใหม่ที่มีขนาดกะทัดรัด ประหยัดพลังงาน และมีการใช้งานเชื่อมต่อสูง ซึ่งมีการใช้งานอเนกประสงค์นอกเหนือไปจากการใช้ในเซิร์ฟเวอร์แบบเดิมไปสู่ อุปกรณ์เราเตอร์ สวิชต์ อุปกรณ์เน็ตเวิร์ก ระบบการสร้างภาพทางการแพทย์ งานพิมพ์เชิงอุตสาหกรรมตลอดจนการใช้งานอื่น ๆ อีกมาก และด้วยเทคโนโลยี UltraSPARC T2 นี้ เราได้นำสมรรถนะความเร็วและขีดความสามารถในการปรับขยายได้ของชิปแบบมัลติเธรดไปสูการใช้งานอเนกประสงค์ในวงกว้าง และเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับบริษัทที่ต้องการใช้งานอเนกประสงค์ราคาประหยัดแต่ได้ประสิทธิภาพในระดับที่เหนือกว่า”

“เราได้มาถึงจุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์วงการคอมพิวเตอร์แล้ว โดยเปลี่ยนจากการประมวลผลแบบลำดับขั้นมาสู่การออกแบบแบบมัลติคอร์ ” ศาสตราจารย์เดฟ แพทเทอร์สัน ศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิประจำมหาวิทยาลัยรัฐแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ “ดังนั้น เราจำเป็นจะต้องคิดค้นวิธีการใหม่ในการประเมินผลระบบพาราเลลแบบใหม่นี้ ซึ่งจากการทดลองชั้นต้นเราพบว่า ชิป Niagara 2 มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้พลังงานประหยัดสูงสุด และเป็นโปรเซสเซอร์ที่เป็นมิตรต่อซอฟต์แวร์มากที่สุดเท่าที่เคยมีการทดสอบมา”

ชิป UltraSPARC T2 เป็นโปรเซสเซอร์ตัวแรกของวงการที่ได้รวบรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงานหลักของระบบเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดเอาไว้พร้อมในชิปเพียงตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็น การประมวลผล ระบบเน็ตเวิร์ก การรักษาความปลอดภัย การประมวลผลทางคณิตศาสตร์ และตัวเร่งการเข้าใช้งานเมโมรี การรวมเอาการใช้งานเหล่านี้ไว้ในชิปซิลิคอนเพียงตัวเดียวยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เสถียรภาพของระบบ การประหยัดพลังงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย ส่งผลให้เป็นทางเลือกที่เหนือกว่าในการใช้งานเวิร์กโหลดของระบบที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในอุปกรณ์เน็ตเวิร์กไปจนถึงระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง หรืออุปกรณ์สตอเรจ นอกจากนี้โปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2 ยังเป็นโปรเซสเซอร์ที่สนับสนุนการใช้งานระบบปฏิบัติการที่มีการใช้งานเธรดจำนวนมาก อย่างเช่น ระบบปฏิบัติการ Solaris™ รวมทั้งระบบปฏิบัติการเรียลไทม์อื่น ๆ ซึ่งรวมถึงเวอร์ชั่นในอนาคตของระบบปฏิบัติการ Ubuntu Linux ช่วยสนับสนุนชุมชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์และนำเสนอประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นสู่ตลาดใหม่ที่กำลังเติบโต

“พวกเราต่างตื่นเต้นในการใช้ประโยชน์จากศักยภาพใหม่ ๆ ในตัวโปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2” มาร์ก เมอร์ฟี่ ผู้จัดการฝ่ายพันธมิตรระหว่างประเทศ บริษัทแคนนอนนิคัล ผู้สนับสนุนเชิงพาณิชย์ของระบบปฏิบัติการ Ubuntu กล่าว “เราได้รับรองมาตรฐานการใช้งานระบบปฏิบัติการ Ubuntu ในสถาปัตยกรรมชิป SPARC เพราะเราเชื่อว่าโปรเซสเซอร์นี้คือความล้ำหน้าในการประมวลผลและเป็นประเด็นที่ผู้ใช้งาน Ubuntu จำนวนมากต่างให้ความสำคัญ โดยชิป UltraSPARC T2 ได้แสดงให้เห็นว่า ซันได้เป็นผู้บุกเบิกสมรรถนะการใช้งานใหม่ ๆ ให้รุดหน้าต่อไปและเราภูมิใจที่ได้มีส่วนผลักดันในความก้าวหน้าเหล่านี้เช่นกัน”

โปรเซสเซอร์ตระกูล UltraSPARC รุ่นใหม่ ยังเป็นผู้นำในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย รวมทั้งขยายผลเทคโนโลยี chip multithreading (CMT) ในชิป CoolThreads(TM) มาสู่โปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2 ที่ใช้พลังงานน้อยกว่าสองวัตต์ต่อหนึ่งเธรดเท่านั้น และด้วยการใช้พลังงานน้อยกว่าแค่เพียงหนึ่งในสิบ และหนึ่งในสิบสามเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นของคู่แข่ง ส่งผลให้โปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2 ได้สร้างมาตรฐานใหม่ของคอมพิวเตอร์รักษาสิ่งแวดล้อม และประสิทธิภาพสูงสุดในขณะที่ใช้พลังงานน้อยที่สุด ในขณะที่มีจำนวนคอร์มากกว่าเป็นสองเท่า เธรดมากกว่า 16 เท่า อัตราส่งผ่านข้อมูลมากกว่าเป็น 4 เท่า โดยมีฟังก์ชั่นการทำงานด้านเน็ตเวิร์กและการรักษาความปลอดภัยติดตั้งพร้อมในตัวชิป

ข้อสรุปก็คือ : โปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2 มีศักยภาพที่จะช่วยประหยัดเงินให้กับลูกค้าผู้ใช้งานนับล้าน ๆ ดอลลาร์จากค่าใช้จ่ายพลังงาน การทำความเย็น และพื้นที่จัดวางที่มีต้นทุนพุ่งสูงขึ้นในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ต่าง ๆ

ด้วยนวัตกรรมใหม่ล่าสุดในการออกแบบโครงสร้างชิป โปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2 ได้นำเสนอการรวมขีดความสามารถทั้งหมดของเซิร์ฟเวอร์เข้ากันไว้ในชิปเพียงหนึ่งเดียวอย่างชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

การประมวลผลแบบส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูง – ด้วยคอร์ที่มีจำนวนแปดคอร์ และมี 8 เธรดต่อคอร์ที่มีการส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูงระดับสถิติโลกในแบบชิปเดียว ตามการจัดของ SPECint_rate2006 โดยประมาณการที่ 78.3 est. และ SPECint_rate2006 โดยประมาณการที่ 60.7 est. รวมทั้ง SPECfp_rate2006 อีกด้วย โปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2 ยังมีจำนวนเธรด มากกว่าโปรเซสเซอร์UltraSPARC T1 เป็นสองเท่า ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้สร้างสถิติโลกใหม่ในการรันโมดูลเซิร์ฟเวอร์Sun Blade(TM) T6300 10 ตัวซึ่งนำเสนอ SPECjAppServer2004 JOPS@Standard ที่ ระดับ8253.21

ระบบเน็ตเวิร์ก – ในแบบคู่ขนาน ทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นได้ ใช้งานมัลติเธรดผ่านพอร์ตอีเธอร์เน็ตความเร็ว 10 กิกาบิตต่อวินาทีโดยมี ระบบแยกแพ็กเก็ตข้อมูลที่ส่งผ่านเพื่อให้มั่นใจได้ว่า จะมีการเข้าถึงเน็ตเวิร์กและการติดต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างรวดเร็ว

การรักษาความปลอดภัย – หน่วยการเข้ารหัสความเร็วสูงแปดตัวและ ฟังก์ชั่นอิสระ 10 ชุดที่รับมือกับการรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน รวมทั้งการใช้อัลกอริทึ่มส์ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (NSA) โดยไม่กระทบกับประสิทธิภาพในการทำงาน

การคำนวณ – ใช้งานโฟลตติ้งพอยนต์ยูนิตจำนวน 8 ตัว ที่ช่วยขยายผลการทำงานของเทคโนโลยี CMT เพื่อสร้างระบบคอมพิวเตอร์ทรงประสิทธิภาพสูงสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยได้สร้างสถิติโลก SPECfp_rate2006 และ SPECompM2001 ในชิปตัวเดียว

I/O – ด้วย PCI Express I/O มาตรฐานอุตสาหกรรมแบบแปดช่องทาง ช่วยเร่งการใช้งานแอพพลิเคชั่นอย่าง การถ่ายทอดสื่อมัลติมีเดีย การอ่านและบันทึกระบบฐานข้อมูล และการสำรองไฟล์ข้อมูลสำรอง

การเข้าใช้งานเมโมรี – คอนโทรลเลอร์เมโมรี Quad ที่นำเสนอการเข้าใช้งานหน่วยความจำเมโมรีในระดับความเร็วมากกว่า 50 กิกะไบต์ต่อวินาที

การสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์ – ระบบปฏิบัติการโซลาริสที่สามารถรองรับเธรดงานจำนวนมหาศาล โดยระบบ Solaris OS จะได้ใช้ประโยชน์เต็มที่จากโปรเซสเซอร์ที่รองรับเธรดงานสูงเช่นกัน รวมทั้งยังช่วยให้มีการใช้งานเวอร์ช่วลไลเซชั่นแบบเปิดที่ประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

โปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2 ใหม่ของซันที่อยู่ในสายการผลิตขณะนี้ นำเสนอการรวมระบบและการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นที่ยืดหยุ่นมากกว่าโปรเซเสเซอร์ใดในระดับชั้นเดียวกัน และช่วยให้ประหยัดพลังงานในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ได้เป็นอย่างมาก และด้วยการมีโดเมนแบบโลจิคัลถึง 64 โดเมนในโปรเซสเซอร์เพียงตัวเดียวจะช่วยให้ลูกค้าผู้ใช้งานสามารถบรรลุระดับมาตรฐานใหม่ของประสิทธิภาพอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนด้วยการรวมระบบเซิร์ฟเวอร์หลายตัวที่เคยอยู่แยกกัน ลงในแพลตฟอร์มโปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2 ตัวเดียว

ซัน ผู้นำด้านโอเพ่นซอร์ส
หลังจากได้ บรรลุเป้าในการดาวน์โหลดซอร์สโค้ดโปรเซสเซอร์ OpenSPARC™ T1 ได้ 5,400 ชุดและซันกำลังเตรียมการเผยรีลีสซอร์สโค้ดของโปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2 ให้กับชุมชนพัฒนา OpenSPARC ต่อไป โดยในวันนี้ซันได้ประกาศ ความริเริ่มใหม่ในการส่งเสริมชุมชนนักพัฒนากับชิป OpenSPARC T2 ดังนี้

คู่มืออ้างอิงของโปรแกรมเมอร์ – คู่มือแนะนำพอร์ตซอร์ฟแวร์ พอร์ตของระบบปฏิบัติการ และการพัฒนาโปรแกรมทูลสำหรับโครงการ OpenSPARC T2

สเปกของสถาปัตยกรรมย่อย – มีรายละเอียดบรรยายถึง คุณสมบัติและฟังก์ชั่นการใช้งานต่าง ๆ ของ ฮาร์ดแวร์ OpenSPARC T2 เพื่อช่วยให้นักออกแบบฮาร์ดแวร์และระบบคอมพิวเตอร์สามารถสร้างสรรค์งานและแอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ ขึ้นมาได้

OpenSPARC T2 เบต้ารีวิว – โครงการนี้เปิดโอกาสให้ มีการเข้าถึงโดยผู้ออกแบบฮาร์ดแวร์และนักพัฒนาโปรแกรมทูลในจำนวนจำกัดให้สามารถเข้ามีส่วนร่วมในการใช้งานโปรเซสเซอร์ CMT ล้ำยุคกับเซิร์ฟเวอร์ที่มีการใช้งานชิปในด้านต่าง ๆ ก่อนหน้าการเปิดตัวจริง โดยโครงการนี้จะช่วยกระตุ้น ให้มีการสร้างชุมชนนักพัฒนา สำหรับ OpenSPARC T2 ช่วยเร่งการกระบวนการทำงาน การแก้บั๊ค และนำไปสู่การเปิดตัวรีลีสแรกของเทคโนโลยีนี้ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

กำหนดการวางตลาดของโปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรเซสเซอร์ UltraSPARC T2 โปรดดูที่ www.sun.com/T2 สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการอนุญาตใช้งานเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ของซันโปรดดูที่ www.sun.com/products/microelectronics

เกี่ยวกับ ซัน ไมโครซิสเต็มส์
ภายใต้วิสัยทัศน์ “The Network Is The Computer” ผลักดันให้ซันมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสำคัญๆ ของโลกอย่างต่อเนื่อง และปรัชญาสำคัญของซัน คือ การเชื่อมโยงนวัตกรรมใหม่และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นกระแสนำในโลกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แห่งอนาคต หรือที่เรียกว่า ยุคแห่งการมีส่วนร่วม (The Participation Age) ปัจจุบัน ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (สัญลักษณ์หุ้นในตลาดหุ้นแนสแดก: SUNW) มีเครือข่ายครอบคลุมอยู่ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซันได้ที่ http://sun.com หรือ http://sun.com.sg