รายงานผลสรุปการแถลงข่าวอุตสาหกรรมอาหารทะเลของธนาคาร ราโบแบงค์

รายงานผลสรุปการแถลงข่าวอุตสาหกรรมอาหารทะเลของธนาคาร ราโบแบงค์
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก สำหรับปี ค.ศ. 2007
ณ โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพฯ

– ความได้เปรียบทางการค้าของประเทศไทย
– ปัญหาความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารทะเล ในสภาวะที่สิ่งแวดล้อมทางทะเลเสื่อมโทรมลงทุกวัน

ธนาคาร ราโบแบงค์ อินเตอร์เนชั่นนัล (“ราโบแบงค์”) เป็นธนาคารที่มีเอกชนเป็นเจ้าของและเป็นธนาคารที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (Triple-A หรือ AAA) และจัดให้เป็นธนาคารที่มีความปลอดภัยสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยการจัดอันดับของนิตยสาร GLOBAL FINANCE

มร. โก๊ะ ชอง แธง ผู้จัดการทั่วไปของธนาคาร ราโบแบงค์ อินเตอร์เนชั่นนัล สาขาสิงคโปร์ ได้กล่าวว่าร้อยละ 55 ของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมาจากภูมิภาคนี้ โดยประเทศที่มีการผลิตและส่งออกมากที่สุด คือ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซียเวียดนาม และประเทศไทย โดยมีอัตราการเจริญเติบโตสูงถึง 5% ต่อปี นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีต่อภูมิภาคนี้ เนื่องจากความต้องการของอาหารทะเลได้เพิ่มสูงขึ้นในตลาดนำเข้า โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ EU ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น ในภูมิภาคนี้ มีการจับสัตว์น้ำมากถึง 42 ล้านตัน (หรือ 45%) ของการจับสัตว์น้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วโลก โดย 43 ล้านตันได้มาจากการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ และ 6 ล้านตันมาจากแหล่งน้ำจืดธรรมชาติ

อุตสาหกรรมอาหารทะเลนับว่ามีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีชายฝั่งทะเลที่ยาวกว่า 100,000 กิโลเมตร รวมถึงมีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบรูณ์ และหลากหลายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ชายฝั่งทะเลยาวตั้งแต่ทางใต้ของประเทศออสเตรเลียจนถึงทางทิศตะวันตกของประเทศอินเดีย และทอดยาวไปถึงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น ทำให้ภูมิภาคนี้ คือแหล่งผลิตอาหารทะเลมากที่สุดในโลก ซึ่งรวมถึงความหลากหลายของอาหารทะเลและปริมาณการผลิต

โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย มีความได้เปรียบในเชิงการผลิตเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์จากน้ำเค็ม และน้ำจืด

ประเทศไทย
การที่ประเทศไทยมีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบรูณ์ บวกกับการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยมีพื้นฐานที่แข่งแกร่ง ในปี ค.ศ. 2006 ประเทศไทย ได้มีการผลิตอาหารทะเลเกือบ 4 ล้านตัน โดยกรมการค้าระหว่างประเทศของไทยได้ตั้งกฎเกณฑ์การส่งออกอย่างเข็มงวด เพื่อให้บริษัทส่งออกของไทย ได้เตรียมรับมือกับกฎเกณฑ์การนำเข้าที่ประเทศคู่ค้า ได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะในเรื่องความปลอดภัยของอาหารทะเลนำเข้า

มร. โก๊ะ กล่าวต่อไปว่า “ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลรายใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงยังเป็นผู้นำในการส่งออกอาหารแปรรูปรายใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะคนไทยบริโภคอาหารทะเลเฉลี่ยปีละ 33 กิโลกรัมต่อปี ต่อคน ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานโลกทั่วไป แต่เป็นเพียงแค่ ครึ่งหนึ่งของปริมาณผลผลิตทั้งหมด ถึงอย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารทะเลทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกอาหารทะเลเป็นอันดับ 3 ของโลก”

ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการที่ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลที่ยาวกว่า 3,000 กิโลเมตร และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติที่มีอยู่มากมาย โดยเหตุผลนี้เอง ทำให้ประเทศไทยสามารถผลิตอาหารทะเลได้มากมายหลายประเภท อาทิ ปลาคาร์ฟ ปลาหมอเทศ ปลาดุก หอยนางรม หอยแมลงภู่ ปลากะพง และกุ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยมีฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งที่มีคุณภาพมากกว่า 2,000 แห่ง และสามารถขายได้ในราคาย่อมเยาว์กว่าประเทศคู่แข่ง จึงทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำในการส่งออกกุ้งรายใหญ่ของโลก

ชนิดของอาหารทะเลที่เป็นที่นิยมในเอเชีย
เนื่องจากความต้องการบริโภคปลาหมอเทศได้เพิ่มขึ้นในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาทำให้การเลี้ยงปลาหมอเทศได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ปัจจุบันปลาหมอเทศได้รับความนิยมมากกว่าปลาคอดจากมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งในแต่ละปี มีการผลิตอาหารทะเลจากปลาหมอเทศประมาณ 1.5 ล้านตัน โดยปลาประเภทนี้ นิยมบริโภคกันมากในกลุ่มประเทศ EU และในสหรัฐอเมริกา

นอกเหนือจากนี้ การผลิตกุ้งในภูมิภาคนี้มีมากถึง 17% ของการค้าอาหารทะเลทั้งหมด การผลิตกุ้งได้เพิ่มขึ้นสืบเนื่องมาจากผลกำไรที่สูงขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยอัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมรมการผลิตกุ้งได้เพิ่มขึ้นปีละ 10%

โดยทั่วไป ปลาน้ำจืดจากทวีปเอเชียที่ได้รับความนิยมสูงได้แก่
– ปลาหมอเทศ (ซึ่งมีการผลิตมากในประเทศจีน มาเลเซีย และเวียดนาม)
– ปลาคาร์ฟ (ไทย และจีน)
– ปลา pangasius (เวียดนาม)
– กุ้ง (ไทย จีน มาเลเซียและเวียดนาม)

วามยั่งยืนของอุตสาหกรรมฯ และความปลอดภัยของอาหารทะเลในปัจจุบัน
ในขณะที่การทำฟาร์มน้ำจืดได้รับความนิยมสูงขึ้น แต่ประชากรปลาตามแหล่งน้ำธรรมชาติได้ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้กลายเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง มร. แพคทริค วิซโซน หัวหน้าหน่วยงานการค้าการลงทุนฝ่ายธุรกิจอาหารและการเกษตรของธนาคาร ราโบแบงค์ ได้กล่าวว่า “การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทางทะเลสืบเนื่องมาจากหลายปัจจัย อาทิ การประมงที่มากเกินความต้องการ การลากอวนลึกลงไปถึงพื้นใต้ทะเล การจับปลาจากต้นน้ำที่มากขึ้น และการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมทางทะเลบริเวณชายฝั่งมากเกินความต้องการ” มร. วิซโซน กล่าวต่อไปว่า “เราควรที่จะมีมาตรการที่เข้มงวด เพื่อดำเนินการในลักษณะที่เป็นการประสานงานและเป็นรูปแบบของการปฏิรูป เพื่ออนุรักษ์แหล่งทรัพยากรทางทะเลที่มีคุณค่า”

ความปลอดภัยของอาหารทะเลมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารทะเลเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในสภาวะปัจจุบัน มร. วิซโซน ได้กล่าวต่อไปว่า “อุตสาหกรรมอาหารทะเลมีการซื้อขายมากที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกทางการเกษตรที่ทำรายได้เข้าสู่ภูมิภาคนี้เป็นอันดับหนึ่ง ฉะนั้นความปลอดภัยของอาหารทะเลจึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษ จากรายงานดังกล่าวและจากการประชุมโต๊ะกลมในครั้งนี้ ทางธนาคาร ราโบแบงค์มั่นใจว่าทางธนาคารฯ สามารถเป็นผู้นำในการช่วยเหลืออุตสาหกรรมดังกล่าวให้เข้มแข็งตลอดไปได้”

จากการรายงานเห็นได้ว่า การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารทะเลขึ้นอยู่กับผู้บริโภคที่เริ่มมีความห่วงใยในคุณภาพของอาหารทะเลมากขึ้น “จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของห้างสรรพสินค้าชั้นสูง และห้างขายปลีกขนาดใหญ่ ทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงคุณภาพของอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารทะเล ยิ่งไปกว่านี้ ผู้บริโภค ส่วนใหญ่ที่อาศัยในเมืองใหญ่ๆ มักจะนำเอามาตรฐานความปลอดภัยที่ใช้ในประเทศตะวันตก มาเป็นมาตรฐานใน การวัดคุณภาพของอาหารที่พวกเขาบริโภค”

ผลสรุป
มร. โก๊ะ ได้กล่าวสรุปว่า “อุตสาหกรรมอาหารทะเลมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มผลผลิตเกินกว่าร้อยละ 60 ของการผลิตอาหารทะเลทั่วโลก ในขณะที่ผู้บริโภคมีความเป็นห่วงในความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น แต่ในเวลาเดียวกัน การส่งออกก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น แต่การประมงในหลายจุดได้ลดลง ด้วยเหตุนี้เอง อุตสาหกรรมอาหารทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกยังมีช่องทางพัฒนาให้ก้าวหน้ายั่งยืนไปอีกมาก”

เมื่อพิจารณาถึงการเสื่อมโทรมลงของสิ่งแวดล้อมทางทะเล การทำฟาร์มสัตว์น้ำอาจจะเป็นวิธีแก้ปัญหา เพื่อตอบสนองกับความต้องการของอาหารทะเลที่เพิ่มขึ้นสูงในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ประเทศจีน ได้เพิ่มปริมาณการผลิตถึง 3 เท่า ในช่วง 15 ปี โดยวิธีเพาะเลี้ยงปลาในฟาร์มแบบอุสาหกรรมขนาดใหญ่

“ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในหลายด้าน โดยเฉพาะในการทำฟาร์มสัตว์น้ำ และควรที่จะฉวยโอกาสจากตรงนี้ ประเทศไทยยังมีชายฝั่งทะเลที่ยาวไกล และเพื่อให้ศักยภาพดังกล่าวนี้ กลายเป็นความจริงขึ้นมาได้ จึงจำเป็นจะต้องมีการวางแผนโดยส่วนกลางและจะต้องมีวิธีบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรอย่างดีเลิศ” มร. โก๊ะกล่าวตบท้าย