KU ควง TCS เตรียมเปิด NETDAY 2007 ชูคอนเซ็ปท์ ’เครือข่ายเป็นฐานก้าวกระโดด’

สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – ‘ม.เกษตรฯ’ ควงเอกชนคู่หู ‘ทีซีเอส” เตรียมรูดม่านเปิดฉาก ‘ NETDAY 2007 ’ครั้งที่ 9 ภายใต้คอนเซ็ปท์เครือข่ายเป็นฐานก้าวกระโดด (Network as a Platform) ส่งท้ายปีกุน วันที่ 17-19 ธันวาคม ศกนี้ เผยเมืองไทยเริ่มเดินหน้าสู่ยุค Digital Life ชี้แนวโน้มเยาวชนยุคใหม่เกิดมาในสังคมไซเบอร์สเปซ ส่งโลกทั้งใบมุดเข้าไปอยู่ในจอสี่เหลี่ยม แน้วโน้มอีก 10 ปี โลกจะมีสังคมและวัฒนธรรมที่เข้าหากันที่ชัดเจนยิ่งขึ้น มุ่งหวังใช้งาน NETDAY ช่วยจุดประกาย และชี้นำประเด็นไปต่อยอดให้ลึกซึ้ง

รศ.สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสร์ เปิดเผยถึงงานสัมมนาทางวิชาการ และนิทรรศการทางด้านเทคโนยีเครือข่าย และเทคโนโลยีสารสนเทศ ‘ NETDAY 2007 ’ ว่า ม.เกษตร และ ทีซีเอส ได้ร่วมมือกันจัดงาน NETDAY มาอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งปีนี้นับปีที่ 9 แล้ว เนื่องจากเห็นความสำคัญของการติดตามความก้าวหน้า และความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีให้ทัน เพื่อที่จะพยายามชี้นำให้เห็นถึงทิศทางแนวโน้มของระบบเครือข่ายว่าจะไปทางไหน ทำให้เกิดการเรียนรู้ทำความเข้าใจ ให้ความสนใจ เพื่อจะลดช่องว่างของการเรียนรู้ให้สั้นลง

“ในปีนี้เทคโนโลยีที่มีผลกระทบหลักต่อระบบเครือข่ายในอนาคต ได้แก่ ระบบการสื่อสารที่ลู่รวมกัน, การประยุกต์ใช้ทางด้านรูปแบบของการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งปัจจุบันเราอาจจะไม่รู้ว่าข้อมูลอยู่ที่ใหน การแชร์ไฟล์ และมาตรฐานใหม่ที่จะมีผลกระทบต่อการประยุกต์ใช้กับการงานในอนาคต หรือแม้กระทั่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ประกาศใช้แล้ว จะส่งผลกระทบทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ งานสัมมนาครั้งนี้จึงมีหัวข้อที่กล่าวครอบคลุมทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นรุปธรรมทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการไปพร้อมกัน” รศ.สุรศักดิ์กล่าว

ทั้งนี้กุล่มเป้าหมายของาน NETDAY 2007 จะเป็นกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสากิจ และกลุ่มผู้สนใจด้านความก้าหน้าทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยคาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 400 คน

เครือข่ายเป็นฐานก้าวกระโดด : Network as a Platform
รศ.ยืน ภู่วรวรณ ที่ปรึกษาสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสร์ กล่าวว่า ต้องยอมรับถึง ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเครือข่ายรวดเร็วมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่ด้อยกว่าประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์, อินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งโทรคมนาคม, Broadband ฯลฯ

แต่สิ่งที่ประเทศไทยต้องเร่งรีบผลักดันอย่างมากคือ การสร้างคุณค่าบนเครือข่ายด้วยการสร้างแอพพลิเคชัน หรือการเพิ่มมูลค่าโครงสร้างพื้นฐานให้มากขึ้น ซึ่งต้องอาศัย พื้นฐานของกำลังคนที่จะเข้าไปพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นการใช้แอพพลิเคชันแบบใหม่ในประเทศไทยที่เราเรียกว่า การให้เครือข่ายเป็นฐานการใช้งาน (Network as a Platform) คิดว่าเรื่องนี้เมืองไทยยังต้องส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดประโยชน์มากขึ้น อีกสิ่งหนึ่งคือ ความรู้ เนื่องจากเครือข่ายจะเป็นฐานเก็บความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และจะมีความรู้เกิดใหม่อีกมากมายที่ต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้เพื่อการแข่งขันและการพัฒนา แต่การจะได้มาซึ่งความรู้ใหม่ต้องอาศัยระยะเวลาในการเรียนรู้ ยิ่งช้าก็ยิ่งเสียเปรียบ โดยสรุปคือ เราควรได้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียนรู้ แต่ปรากฎว่าเราเรียนรู้ได้ช้ากว่า

ประการต่อมาก็คือ บุคคล ที่จะเข้ามาสู่วิถีชีวิตใหม่ ขณะนี้เป็นยุคของคนรุ่นใหม่ (New Generation) ได้แก่ เด็ก เยาวชน วัยรุ่น ฯลฯ แต่เรายังมีปัญหาในการพัฒนาคนรุ่นใหม่ ถ้าหากสามารถทำได้มากกว่านี้ วิถีชีวิตใหม่แบบดิจิตอลจะไปได้รวดเร็ว การทำธุรกรรมบนดิจิตอลจะสะดวกคล่องแคล่ว ที่สำคัญคือการพัฒนาการของชีวิตของผู้คนคงได้ใช้ประโยชน์มากกว่า จุดนี้เป็นเหตุผลที่เราต้องจัดงาน NETDAY ทุกปี และถึงเวลาที่จะต้องทำให้ช่วงเวลาของการเรียนรู้สั้นลง เพื่อไปสร้างคุณค่าในโครงสร้างพื้นฐานที่เรามีอยู่ให้มากขึ้น

รศ.ยืนกล่าวต่อว่า การจัดงานสัมนาครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ได้สร้างโอกาส ได้ชี้แนวทาง ชี้นำประเด็น หรือจุดประกายในบางเรื่องให้ศึกษาเรียนรู้ต่อ ซี่งเราคิดว่าวิธีการอย่างนี้มันเป็นวิธีการที่จะปูฐานของคนให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

“โลกเริ่มเปลี่ยนไปมากแล้ว เห็นได้จาก อีเมลไม่ได้อยู่ในเครื่องที่เราเป็นเจ้าของ พอเราส่งออก ก็ไม่รู้ว่าไปอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ใหน เพราะฉะนั้นข้อมูลต่างๆจะอยู่ในเครือข่าย เครือข่ายจึงเป็นแพลทฟอร์ม หรืออยากทำอะไรก็สามารถดึงโปรแกรมต่างๆจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ได้เองเลย จุดนี้เป็นสิ่งที่บอกได้ถึงการเปลี่ยนแปลง เราเริ่มไม่เรียกว่า เครือข่ายหรือเน็ตเวิร์กเแล้ว แต่เรียกว่าเป็นแพลทฟอร์ม เพราะว่ามันเหมือนเป็นฐานแล้วเอาอะไรมาวางต่อ คือ เน็ตเวิร์คเป็นฐาน ที่มี ดาต้า โปรแกรม และทุกๆ สิ่งอยู่ในนั้นทั้งหมด ในที่สุดแล้วจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ แม้กระทั่งสังคม ในอนาคต โลกจะมีสังคมเดียว ก็คือ มีวัฒนธรรมเหมือนกัน วัฒนธรรมที่อยู่บนเครือข่าย

คล้ายกับว่าเด็กที่เกิดมาอยู่ในเจเนอรเรชั่นใหม่หรือ ในโลกแห่งไซเบอร์สเปซ ไม่ใช่เกิดมาในบ้าน ในหมู่บ้าน หรือในเมือง แต่ทั้งโลกอยู่ในนั้นทั้งหมด ก็เลยจะเหลือสังคมเดียว” รศ.ยืนกล่าว

ไฮไลต์เด่นที่หัวข้อสัมมนา
นายไพบูลย์ ชีวินศริวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เดอะ คอมมูนิเคชั่น โซลูชั่น จำกัด (TCS) กล่าวว่าการดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพและให้บริการทางด้านเครือข่าย ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพ ล้วนเกี่ยวโยงกับเทคโนโลยีใหม่ที่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ทั้งรูปแบบการประยุกต์ใช้งาน ความต้องการที่หลากหลายและเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ที่เกี่ยวข้องทางเทคโนโลยีจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเทคโนโลยี พร้อมทั้งติดตามความเคลื่อนไหวตลอดเวลา NETDAY 2007 จึงเป็นทางเลือกที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี โดยจะจัดขึ้นวันที่ 17-19 ธันวาคม 2550 ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

“NETDAY 2007 ปีนี้น่าสนใจมาก โดยเฉพาะหัวข้อสัมมนาซึ่งจัดเป็นไฮไลต์ทีเดียว อาทิ หัวข้อบรรยายพิเศษ เรื่อง บทบาทของพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ต่อประเทศไทย, หัวข้อเสวนา เรื่องกลียุคเมื่อเน็ตเป็นอัมพาต, หัวข้อสัมมนา อาทิ เมื่อ file ฉันอยู่บนเครื่องคนอื่น, ทำอย่างไรให้ระบบไร้สายของคุณปลอดภัย, เมื่อเครือข่ายมาจ่อปากประตู ข้อมูลส่วนตัวออกหน้าต่าง, ชีวิตนักท่องเน็ตบนแบ็กโบน 10 Gigabit, ทิศทางและการประยุกต์ใช้ IPv6 ฯลฯ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ku.ac.th/netday2007