ยูบีเอส เผยการคาดการณ์มุมมองทางเศรษฐกิจในเอเชียในปี 2008

มร. ดันแคน วูลริดจ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจประจำภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกของยูบีเอส กล่าวว่า เศรษฐกิจของเอเชียจะเติบโตช้าลงในปี 2550 ขณะที่ มร. ศักดิ์ ศิวา นักวิเคราะห์ด้านกลยุทธ์การลงทุนของศูนย์วิจัยการลงทุนยูบีเอสเชื่อว่า นักลงทุนต้องเข้าใจถึงกระแสเกี่ยวกับการลงทุน 4 ประการของภูมิภาคนี้ได้แก่ เงินที่มีค่าสูงกว่าพื้นฐานความเป็นจริง สภาพเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ในเซี่ยงไฮ้ การเปลี่ยนนโนบายจากการป้องกันเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นการส่งเสริมการส่งออก และการผลักดันของภาควัตถุ

มร. ดันแคน วูลริดจ์ กล่าวว่า “เศรษฐกิจในเอเชียจะเติบโตช้าลง แต่จะไม่ถึงกับทำให้เกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สิ่งที่จะกระทบต่อภูมิภาคไม่ใช่การชะลอตัวทางการเติบโตในสหรัฐอเมริกา แต่มาจากเศรษฐกิจในทวีปยุโรปที่ชะลอตัวลงมากกว่า”

มร. วูลริดจ์ เชื่อว่า ทั่วทั้งทวีปเอเชียรู้สึกได้ถึงการอ่อนตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา แต่การส่งออกของภูมิภาคไปยังทวีปยุโรปอาจได้รับผลกระทบจากความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่างรวดเร็วและดัชนีชี้นำอันเป็นข้อมูลที่สามารถบอกแนวโน้มทางเศรษฐกิจในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม มร. วูลริดจ์ ให้ความเห็นต่อว่า “ผลกระทบจากการชะลอตัวด้านการส่งออกจะส่งผลต่อเอเชียน้อยกว่าช่วงที่เกิดสภาวะการชะลอตัวครั้งล่าสุดในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2544 เนื่องมาจากเมื่อพิจารณาสภาวะทางเศรษฐกิจของเอเชียในวันนี้ พบว่าระดับหนี้ในประเทศต่างๆค่อนข้างต่ำ ตลอดจนไม่มีสภาวะฟองสบู่จากการให้สินเชื่อที่เด่นชัดในภูมิภาค ขณะที่ราคาของอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ได้ลดลงในระยะยาว”

ด้านประเทศจีนดูเหมือนจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากการชะลอตัวในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และยังคงจะรักษาระดับการเติบโตที่อัตราร้อยละ 10 โดยยูบีเอสเห็นว่าการชะลอตัวในจีนส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดลงของการส่งออกสุทธิ เนื่องจากความต้องการในสินค้านำเข้าของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักเริ่มลดน้อยลง แต่การผลักดันขีดความสามารถในการผลิตให้ไปสู่จุดสูงสุดของจีนก็นำไปสู่การนำเข้าวัตถุดิบที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งหมายความว่าการส่งออกของจีนจะชะลอตัวลงในขณะที่การนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น

มร. ศักดิ์ ศิวา กล่าวถึงกลยุทธ์การลงทุนในหลักทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียว่า “เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2543 ที่เอเชียจะเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นของปีที่จะต้องเผชิญกับการประเมินสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าเงินที่สูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและสภาวะทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งเรากำลังมองถึงผลตอบแทนในระดับตัวเลขหลักเดียวในปี 2551 ซึ่งผลตอบแทนในระดับดีมาจากภาคการส่งออกและผลตอบแทนที่ติดลบเป็นผลมาจากการดำเนินธุรกิจและระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ”

มร. ศิวา เชื่อว่าในแนวคิดที่สำคัญสำหรับภูมิภาคในปี 2551 ที่ว่า ไม่ว่าสภาวะฟองสบู่ในเซี่ยงไฮ้จะเบาบางและคลี่คลายลงหรือไม่ ประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียจะหลุดพ้นจากภาวะค่าเงินที่สูงกว่าพื้นฐานความเป็นจริง เพราะการประเมินค่าเงินนั้นได้ถูกทำให้ถูกต้องตามพื้นฐานความเป็นจริงจากเศรษฐกิจในประเทศจีนแล้ว

นอกจากนั้นแล้ว ความกังวลที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐอเมริกาที่ลดลง ทำให้ยูบีเอสเชื่อว่าการเปลี่ยนแผนการตลาดแบบป้องกันเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น ในจีนและอินเดีย เป็นการส่งเสริมการส่งออก เช่น ในประเทศเกาหลีและอินโดนีเซีย เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งนำไปสู่ความแข็งแรงและแข็งแกร่งทางระบบเศรษฐกิจได้

ภาควัตถุดิบยังคงจะรักษาระดับการเติบโตที่ดีไว้ได้ ซึ่ง มร. ศิวาอธิบายไว้ว่า “เหตุผลประการแรก คือ มันยังคงเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ราคาถูกที่สุดด้วยส่วนลดร้อยละ 48 ส่วนประการที่สอง เราเชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมนี้จะมีการเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 ในทุกประเทศทั่วเอเชีย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น เนื่องมาจากการใช้จ่ายในระบบสาธารณูปโภคในอีกห้าปีข้างหน้า และเหตุผลประการสุดท้ายคือการเข้าสู่กลยุทธ์ทางเศรษฐกิจแบบ “Next Billion” ที่หวังเจาะกลุ่มคนจำนวนนับพันล้านที่นำมาจากรัสเชีย”

ในส่วนของประเทศไทย มร. คีธ เนรูดา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์สำหรับประเทศไทยของยูบีเอส กล่าวว่า “เรามั่นใจและมีมุมมองแบบ Bullish ต่อตลาดหลักทรัพย์ของไทยในปี 2551 และตั้งเป้าดัชนี ณ สิ้นปีของปีไว้ที่ 1,083 จุด เพิ่มจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 1,034 จุด โดยการชะลอตัวทั่วโลกซึ่งถูกคาดการณ์ไว้แสดงถึงความเสี่ยงที่มีผลต่อราคาสินค้ามากกว่าภาคธนาคารและภาคอุตสากรรมอื่นๆ ในประเทศ แม้ในปี 2550 ประเทศไทยประสบกับ “สภาวะถดถอย” ในภาคเอกชน แต่ก็มีสัญญาณที่บ่งบอกว่าภาวะดังกล่าวได้เบาบางลงแล้ว นอกจากนั้น เรายังคาดหวังเสถียรภาพทางการเมือง อำนาจการต่อรองราคาที่เพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและคงที่ ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวของภาคเอกชนทั้งในแง่ของการบริโภคและลงทุนในปี 2551 ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน ทั้งนี้ เราเชื่อว่าการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ ส่งผลในแง่ความเสี่ยงทางสภาพเศรษฐกิจหรือตลาดหลักทรัพย์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะไม่ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเป็นใครก็ตาม การเข้ามาแทนที่รัฐบาลชุดปัจจุบันโดยผู้ที่มาจากการเลือกตั้งน่าจะเพิ่มความมั่นคงทางนโยบาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนได้”

ยูบีเอส (UBS) เป็นหนึ่งในสถาบันชั้นนำระดับโลกที่ให้บริการแก่ลูกค้าทุกประเภททั่วโลก ทั้งนี้ในฐานะองค์กร ยูบีเอส ได้ผสานจุดแข็งทางด้านการเงินกับวัฒนธรรมนานาชาติซึ่งพร้อมเสมอสำหรับการเปลี่ยนแปลง นอกจากนั้น ในฐานะบริษัทที่มีการให้บริการแบบครบวงจร ยูบีเอสได้สร้างมูลค่าเพิ่มด้านการให้บริการแก่ลูกค้าด้วยการนำเอาทรัพยากรที่ผสมผสานและความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจมาเป็นจุดดึงดูด

ยูบีเอส ถือเป็นผู้จัดการทรัพย์สินรายใหญ่ที่สุดในโลก เป็นบริษัทหลักทรัพย์และผู้ให้บริการด้านวาณิชธนกิจชั้นนำ รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้จัดการสินทรัพย์ (Asset Manager) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ยูบีเอสเป็นผู้ให้บริการทางด้านการเงินชั้นนำสำหรับลูกค้ารายย่อยและเชิงพาณิชย์ทั่วไป

ยูบีเอส ตั้งอยู่ในศูนย์กลางทางด้านการเงินที่สำคัญทั่วโลก โดยมีสำนักงานอยู่ใน 50 ประเทศ และมีพนักงานจำนวน 39% ที่ทำงานในอเมริกา, 36% ในสวิสเซอร์แลนด์, 16% ในยุโรป และอีก 8% ในแถบเอเชีย- แปซิฟิก ทั้งนี้ ยูบีเอสมีพนักงานที่ทำงานด้านการเงินมากกว่า 75,000 คนทั่วโลก หุ้นยูบีเอสได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สวิสเซอร์แลนด์ (SWX) ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (TSE)