แนวโน้มระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ ใช้เทคโนโลยี “สีเขียว” ในปี 2551

โดย นายฮิว โยชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

1. การตระหนักถึงความบกพร่องของระบบการจัดเก็บข้อมูล จากกระแสการตื่นตัวของ “เทคโนโลยี สีเขียว” (Green Tech) ทำให้เกิดการตระหนักมากขึ้นถึงระบบการจัดเก็บข้อมูล (สตอเรจ)ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ในด้านประโยชน์การใช้สอยต่ำ จัดสรรเกินจริง ระบบจัดเก็บข้อมูลตกค้าง และเกิดการคัดลอกข้อมูลซ้ำซ้อนในจำนวนที่มากเกินไป ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลต่ำ การค้นหาไม่มีประสิทธิภาพ และการเคลื่อนย้ายตลอดจนการโยกย้ายข้อมูลทำให้การทำงานต้องหยุดชะงัก ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าการใช้ประโยชน์จริงของระบบจัดเก็บข้อมูลนั้นไม่ถึง 30% และอีก 70% ของข้อมูลมีอายุมากกว่า 60 วันที่ข้อมูลนั้นไม่ได้นำมาใช้ประโยชมากนัก การซื้อสถาปัตยกรรมแบบเดิมในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนั้นจะไม่ใช่ทางออกอีกต่อไป การซื้อตัวประมวลผลสตอเรจที่เร็วขึ้นพร้อมด้วยดิสก์ที่มีความจุมากขึ้นเช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมเก่าอายุ 20 ปีแบบดั้งเดิม จะไม่ใช่การแก้ปัญหาสตอเรจด้านที่ไร้ประสิทธิภาพ ดังนั้นสถาปัตยกรรมสตอเรจรูปแบบใหม่จะสามารถตอบสนองความต้องการการใช้งานระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

2. ชุดที่มีการเชื่อมระบบสตอเรจเสมือนจริง ด้วย การจัดสรรพื้นที่ของระบบการจัดเก็บข้อมูลให้สามารถใช้แอพพลิเคชั่นได้อย่างเพียงพอและทันเวลา(Thin Provisioning) จะได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวคิดเดียวที่นำไปสู่ระบบสตอเรจเสมือนจริงที่สามารถเพิ่มประโยชน์การใช้งาน ตลอดจนกำจัดการจัดสรรทรัพยากรเกินจริง โดยที่พื้นที่ที่จัดสรรนั้นไม่ได้รับการใช้งาน ฟื้นฟูระบบจัดเก็บข้อมูลที่ตกค้าง ลดการทำสำเนาข้อมูลซ้ำซ้อน เพิ่มความเร็วในการเข้าถึง และเอื้อต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลในระบบจัดเก็บแบบหลายชั้น การโยกย้ายและการจำลองแบบเป็นไปอย่างราบรื่น แนวคิดที่ใช้ชุดควบคุมในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดระบบเสมือนจริงที่สามารถใช้ฟังก์ชั่นทั้งหมดของชุดควบคุมและจัดเตรียมให้เป็นบริการที่เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในชั้นจัดเก็บต่างๆ ที่มีอยู่เดิมด้วยต้นทุนที่ต่ำลง และใช้ความจุน้อยลงด้วยแนวคิดนี้จะสร้างแพลตฟอร์มที่ทรงประสิทธิภาพโดยที่การบริการของระบบการจัดเก็บข้อมูลจะ ถูกรวมและนำส่งไปยังสตอเรจต่างชนิดกันและรองรับแอพพิลเคชั่นต่างๆ ได้ตามต้องการ

3. การใช้ที่เพิ่มขึ้นของการจัดเก็บข้อมูลถาวร (Archiving) – ข้อมูลที่มีอายุมากกว่า 60 วัน ในระบบการผลิตจะถูกระบุว่าเป็นของเสีย ข้อมูลที่มีประโยชน์ เช่นฐานข้อมูลและข้อมูลกึ่งมีประโยชน์ เช่น อีเมล์และข้อมูลด้านการจัดการเอกสาร กำลังเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ได้รับความต้องการให้จัดเก็บมากขึ้นและยาวนานขึ้นด้วยเหตุผลทางด้านกฎข้อบังคับ ขณะที่การกำหนดอีเมล์ขององค์กรจะเพิ่มขึ้นจากไม่ถึง 200 เมกะไบต์ เป็น 2 กิกะไบต์ เพื่อรองรับพนักงานที่มีความรู้ใหม่ๆ และต้องแข่งขันกับการให้ฟรีเมล์บอกซ์ ของกูเกิลและเอโอแอล ส่วนข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์จำนวนมหาศาลจะถูกผลักดันด้วยการใช้แท็กอาร์เอฟไอดี สมาร์ทการ์ด และเซ็นเซอร์ที่จะตรวจสอบทุกสิ่งตั้งแต่อัตราการเต้นของหัวใจไปจนถึงการข้ามเขตแดน ความกดดันทั้งหมดเหล่านี้จะผลักดันให้เกิดความต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลถาวรเพื่อลดชุดการทำงานของการผลิตข้อมูล การลดชุดการทำงานดังกล่าวจะช่วยลดความต้องการในด้านความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลที่ใช้พลังงานสูงได้ด้วย เมื่อข้อมูลเหล่านี้เข้าไปอยู่ในที่จัดเก็บข้อมูลถาวรที่สามารถจัดการได้ ก็จะสามารถลดความซ้ำซ้อน ทำการคัดลอกเมื่อเขียน มีการหมดอายุ และสามารถลบทิ้งได้ สิ่งนี้จะส่งผลให้เกิดความต้องการในระบบจัดเก็บถาวรชนิดใหม่ที่สามารถปรับขนาดได้เป็นระดับเพตาไบต์และให้ความสามารถในการค้นหาเนื้อหาที่มีรูปแบบต่างชนิดกันได้

4. การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่หรือจ้างผลิต: กว่าครึ่งของค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในศูนย์ข้อมูลถูกใช้ไปเพื่อสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งส่วนใหญ่ถูกสร้างมาตั้งแต่เมื่อ 10 หรือ 20 ปีที่แล้ว ก่อนที่จะมีความกังวลและจำกัดเรื่องค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ความเป็นกังวลที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ซึ่งจะผลักดันให้เกิดกฎระเบียบต่าง เพื่อลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ดังนั้นเราจะพบว่าศูนย์ข้อมูลจำนวนมากจะถูกแทนที่หรือหันมาว่าจ้างศูนย์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การแทนที่ศูนย์ข้อมูลในลักษณะดังกล่าว จะมีความต้องการเทคโนโลยีการจำลองแบบที่ไม่ขัดจังหวะการทำงาน เช่น ระบบ Universal Storage Platform ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (เอชดีเอส) ที่มีการจำลองแบบสากล ส่วนการว่าจ้างศูนย์ข้อมูลนั้น บริษัท เอชดีเอส จะเป็นพันธมิตรกับบริษัท ดาต้า ไอแลนเดีย ซึ่งเป็นผู้จัดหาบริการจัดเก็บถาวรข้อมูล โดยใช้ Hitachi Content Archive Platform (HCAP) ในศูนย์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานในไอซ์แลนด์ โดยศูนย์ข้อมูลของบริษัท ดาต้า ไอแลนเดีย พร้อมใช้งานพลังงานความร้อนจากใต้พื้นดินและพลังงานไฟฟ้าจากพลังน้ำ ตลอดจนเทคนิคระบายอากาศแบบธรรมชาติ ที่จะให้บริการจัดเก็บข้อมูลถาวรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้ บริษัท เอชดีเอส และบริษัท ดาต้า ไอแลนเดีย ได้พัฒนา “ดาต้าสกูเตอร์” (Data Scooter) เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังส่วนบริการของศูนย์ข้อมูลนี้แล้ว