ผลวิจัยของ DDI ชี้ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการบริหารบุคลากรที่มีความสามารถ แต่ยังทำได้ไม่ดีนัก

ผลวิจัยของ DDI ชี้ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการบริหารบุคลากรที่มีความสามารถ แต่ยังทำได้ไม่ดีนัก

ผลการศึกษาของ DDI ชี้ว่า ผู้บริหารระดับอาวุโสให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับการบริหารบุคลากรที่มีความสามารถ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากยังทุ่มเทไม่พอ

รายงานล่าสุดที่ ดีเวลล็อปเมนท์ ไดเมนชั่นส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Development Dimensions International หรือ DDI) ได้จัดทำร่วมกับหน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ (Economist Intelligence Unit หรือ EIU) แสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารระดับอาวุโสจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งคาดว่าผลการดำเนินการของบริษัทของพวกเขาจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากบริษัทขาดบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสม

รายงานเรื่อง “Growing Global Executive Talent: High Priority, Little Progress” พบว่า แม้ว่าการบริหารบุคลากรที่มี

ความสามารถจะเป็นสิ่งที่องค์กรต่างๆให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก แต่บริษัทเหล่านี้ก็ยังทำได้ไม่ดีพอที่จะตอบสนองความต้องการของธุรกิจ

สาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากผู้บริหารระดับอาวุโสยอมรับว่าบุคลากรที่มีความสามารถมีอิทธิพลต่อความสำเร็จและต่ออนาคตของบริษัทและแผนกงานต่างๆ แต่ผู้บริหารเหล่านี้ก็ไม่ได้ลงมือทำในสิ่งที่สมควรจะทำ

แมทท์ เพส รองประธานฝ่าย Executive Solutions ของ DDI กล่าวว่า ผู้บริหารมองเห็นโอกาส พวกเขาพูดคุยถึงเรื่องนี้ และลงทุนในเรื่องนี้ แต่การบริหารบุคลากรที่มีความสามารถนั้นเป็นงานที่ต้องการให้ผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง และกลับกลายเป็นว่าบรรดาผู้บริหารไม่มีทักษะหรือประสบการณ์ที่จะลงมือทำด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้บริหารเหล่านี้เล็งเห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจหากพวกเขาไม่มีบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

ผลการศึกษาดังกล่าวมาจากการสำรวจผู้บริหารระดับอาวุโสจำนวน 412 คนในยุโรป อเมริกาเหนือ เอเชีย และออสเตรเลีย ที่หน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ จัดทำขึ้นในนามของ DDI ในเดือนก.ย.และต.ค. 2550 เนื่องด้วยการสำรวจครั้งนี้มีเป้าหมายในเชิงปริมาณ จึงได้มีการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับ C หรือเทียบเท่า อีกจำนวน 8 คน เกี่ยวกับมุมมองในเรื่องการบริหารบุคลากรที่มีความสามารถ ผลการสำรวจที่สำคัญๆมีดังนี้

การบริหารบุคลากรที่มีความสามารถจากระดับบนสู่ระดับล่าง
ผลการสำรวจพบว่า ซีอีโอ 85% มีความเห็นว่า การบริหารบุคลากรที่มีความสามารถมีความสำคัญหรือมีความสำคัญมากกว่างานด้านอื่นๆ แต่มีผู้บริหารเพียง 2 คนใน 10 คนเท่านั้นที่กล่าวว่า พวกเขาใช้เวลาค่อนข้างมากในการบริหารบุคลากรที่มีความสามารถ และมีผู้บริหารเพียงคนเดียวใน 10 คนนี้ที่มักจะพิจารณาทบทวนเรื่องดังกล่าวกับบอร์ดของบริษัท
เพส กล่าวว่า ผู้บริหารหลายคนไม่คิดว่า การมีส่วนร่วมของพวกเขาในการบริหารบุคลากรที่มีความสามารถจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลกับองค์กร ซึ่งแนวคิดเช่นนี้ถือเป็นการสูญเสียโอกาสสำหรับทีมผู้บริหารเหล่านั้น

ซีอีโอและผู้บริหารระดับอาวุโสรายอื่นๆมีโอกาสที่จะกำหนดแนวทางการดำเนินงานของทั้งองค์กร ด้วยการที่พวกเขาเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยตัวเอง เดวิด โนวัค ซีอีโอของยัม แบรนด์ส มองว่า การบริหารบุคลากรที่มีความสามารถเป็นความรับผิดชอบในตำแหน่งงานของตนเอง และกล่าวว่า เขาได้ใช้เวลาทั้ง 100% ไปกับการบริหารบุคลากรที่มีความสามารถ เนื่องจากเป็นโอกาสที่เขาจะได้ให้การชี้แนะ พัฒนา แบ่งปันประสบการณ์ที่มีกับบุคคลอื่น รวมถึงได้รับรู้มุมมองของคนอื่น ประเมินศักยภาพของบุคลากร และประเมินว่าบุคลากรเหล่านี้จำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องใดบ้าง

โนวัค กล่าวว่า “ทุกๆครั้งที่ผมเข้าประชุม ผมมักจะดูที่บุคลากรเหล่านี้ และคิดว่าผมจะทำอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาพวกเขา ปรับปรุงทักษะ และให้คำชี้แนะที่จำเป็นสำหรับพวกเขา”

บุคลากรมีความสามารถ แต่ได้รับตำแหน่งหน้าที่ที่ไม่เหมาะสม
ผู้บริหารที่ร่วมตอบแบบสำรวจกล่าวว่า อุปสรรคสำคัญในการพัฒนากลยุทธ์การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จคือ การขาดบุคลากรที่มีความสามารถตรงกับตำแหน่งงาน สำหรับบางองค์กร เรื่องนี้หมายความถึงการตัดสินใจผิดในการเลื่อนตำแหน่งบุคลากร แต่สำหรับบางองค์กร อาจหมายถึงการขาดบุคลากรที่มีความสามารถซึ่งพร้อมที่จะรับบทบาทหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่ง

เพสกล่าวว่า “เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ขณะที่องค์กรต่างๆรับรู้ถึงความสำคัญของการบริหารบุคลากรที่มีความสามารถ แต่องค์กรเหล่านี้กลับไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะหาผู้บริหารคนใหม่มาแทนที่ผู้บริหารเดิมที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพ”

ความผิดหวังเมื่อรู้ว่าบางสิ่งไม่ดีอย่างที่หวังไว้
ผู้บริหารครึ่งหนึ่งที่ตอบแบบสำรวจ กล่าวว่า องค์กรของพวกเขากำลังทำงานได้ต่ำกว่าเกณฑ์ในเรื่องการพัฒนาผู้บริหารขององค์กร และผู้บริหารมากกว่าครึ่งกล่าวว่า บริษัทมีความสามารถในระดับปานกลางหรือต่ำในการแยกแยะบุคลากรที่มีความสามารถ

นอกจากนี้ 60% ขององค์กรไม่พอใจที่ บุคลากรที่มีความสามารถไม่สามารถเติบโตได้เร็วพอที่จะตอบสนองความต้องการทางธุรกิจที่สำคัญที่สุดได้

เพสกล่าวว่า “นี่เป็นเรื่องที่เกินจริง เพราะผลการสำรวจนี้บอกเราว่า ผู้บริหารเหล่านี้จัดลำดับตัวเองได้ไม่ดีนักในเรื่ององค์ประกอบพื้นฐาน 2 ประเด็นที่มีความสำคัญที่สุดในการบริหารบุคลากร ซึ่งได้แก่ การแยกแยะและการพัฒนาผู้บริหาร

เกี่ยวกับ DDI
DDI ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2513 Development Dimensions International เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลระดับโลกที่ได้ช่วยเหลือองค์กรต่างๆให้สามารถขจัดความแตกต่างระหว่างความสามารถของบุคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน กับสิ่งที่ต้องการจากบุคลากรเหล่านี้ในอนาคต ความเชี่ยวชาญของ DDI ยังรวมถึงการออกแบบและดำเนินการระบบการคัดเลือก ตลอดจนแยกแยะและพัฒนาผู้บริหารไปจนถึงบุคลากรที่มีความสามารถในระดับผู้นำ บริษัทมีพนักงานมากกว่า 1,000 คนในสำนักงาน 76 แห่ง ใน 26 ประเทศ บริษัทได้ให้คำแนะนำแก่บริษัทมากกว่าครึ่งหนึ่งที่ติดอันดับฟอร์จูน 500 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DDI กรุณาดูที่เว็บไซต์ http://www.ddiworld.com/aboutddi