รวมวาทะสำคัญของผู้ร่วมงานเสวนา “การกอบกู้ความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย”

“รัฐบาลพยามส่งเงินให้ถึงมือคนที่ใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ และภาครัฐจะทำงานเชื่อมโยงกับภาคเอกชนมากขึ้น”

สิ่งที่รัฐบาลพยามทำไม่ใช่การพยายามปรับปรุงการอัดฉีดเงินเข้าระบบเพียงอย่างเดียว (money supply) แต่รัฐบาลพยามส่งเงินให้ถึงมือคนที่รัฐบาลเชื่อว่ามีหลักการในการใช้เงินที่ดี และหวังว่าเงินจะเข้าระบบเศรษฐกิจอย่างเร็วที่สุด นอกจากนี้ การตัดสินใจเชิงนโยบายมาจากการประสานงานกันของหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและกระทรวงการคลัง

ในการเสวนาวันนี้ ผมได้พูดถึงปัญหาเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ปัญหาของเศรษฐกิจของประเทศไทยเอง และปัญหาความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย โดยรัฐบาลต้องใช้เครื่องมือทุกอย่าง รวมถึงต้องเชี่อมโยงความร่วมมือกับภาคเอกชนให้มากขึ้น เพราะภาคเอกชนมีความสำคัญมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนในแง่ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก

ปัญหาหนึ่งตอนนี้คือการเข้าถึงสภาพคล่องของบริษัทเล็กมักจะสู้บริษัทใหญ่ไม่ได้ รัฐบาลต้องให้บริษัทเล็กเข้าถึงแหล่งเงินและแหล่งทุนได้

ในส่วนของภาคส่งออก เมื่อก่อนสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ พอเศรษฐกิจของประเทศนี้ตกต่ำเมื่อแปดปีก่อน ก็มีผลให้ภาคการส่งออกของไทยตกลงไปด้วย แต่ ณ วันนี้ตลาดส่งออกของประเทศไทยไม่ได้มีแค่สหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงญี่ปุ่น ยุโรป และตลาดอื่นๆ ด้วย เพราะฉนั้นความเสี่ยงของผู้ส่งออกที่ไปตลาดใหม่ๆ เหล่นี้ก็จะมีมากขึ้นด้วย ธนาคารจะลังเลในการให้สินเชื่อ

นอกจากนี้ ภาคธุรกิจขนาดย่อม (microfinance) ก็สำคัญมาก ถือเป็นความรับผิดชอบของภาครัฐที่ต้องรับผิดชอบในการจัดหาแหล่งทุนให้ภาคเอกชนเหล่านี้ ซึ่งตรงนี้จะทำให้ภาคเศรษฐกิจโดยรวมเดินหน้าไปได้ ขณะเดียวกันก็ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระยะยาว ถ้าประเทศไทยประสบความสำเร็จในการหล่อหลอมยุทธศาสตร์ของภาคเอกชนและภาครัฐมีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสถานการณ์ต่างๆ ก็จะทำให้เศรษฐกิจไปได้แน่นอน

นอกจากนี้ รัฐบาลจะใช้โอกาสการจัดงานการประชุมเรื่อง “กฏบัตรอาเซียน” ในปลายเดือน กุมภาพันธ์ แสดงให้โลกเห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมในด้านต่างๆ อย่างน้อยที่สุดก็ให้ผู้นำสิบประเทศในอาเซียน (บวกอีก 3 ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน ที่จะมาร่วมประชุม) ได้เห็น

ดีภัค ซี เจน
คณบดีวิทยาลัยการจัดการ Kellogg

“ผู้นำก็ต้องลงมือแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที และต้องมีมาตรการในการแก้ไขที่ชัดเจนและทำทันที สิ่งเหล่านี้จะทำให้ความวิตกกังวลของประชาชนและส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ ลดน้อยลงไป”

เราต้องดูภาวะผู้นำของในแต่ละเหตุการณ์ หลายประเทศก็มีปัญหากันหมด อย่างอเมริกาก็มีปัญหาเรื่องความมั่นใจ ถ้าผู้นำขาดความั่นใจแล้ว ก็คาดเดาได้เลยว่าจะมีปัญหาหลายๆ อย่างเกิดขึ้นแน่ๆ สิ่งที่ผู้นำต้องทำคือ ดึงความมั่นใจกลับมา ทันที่ที่มีปัญหา ผู้นำต้องลงมือแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที และต้องมีมาตรการในการแก้ไขที่ชัดเจนและทำทันที สิ่งเหล่านี้จะทำให้ความวิตกกังวลของประชาชนและส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ ลดน้อยลงไป

เรื่องของความไม่มีเสถียรภาพ (instability) นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วผู้นำไม่สามารถทำอะไรกับมันได้มาก แต่ว่าความกังวล (worry) เป็นสิ่งที่ผู้นำจัดการกับมันได้ หากจัดการได้ดี ประเทศก็จะสามารถต่อสู้กับความไม่มีเสถียรภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่สำคัญในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจคือการลงมือทำ เช่น การหามาตรการที่เข้มข้น ประกาศให้คนรู้ว่าจะแก้อย่างไรและลงมือปฏิบัติทันที ยกตัวอย่างของผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ เช่น เบน เบอร์นันคีย์ (Ben Benanke) การแก้ไขปัญหาเชิงจิตวิทยาของเขาคือการลงมือชี้ว่าปัญหาคืออะไร หามาตรการแล้วเอามาตรการมาปฏิบัติใช้โดยมีคนในสังคมรับรู้ ซึ่งทำให้แรงกดดันต่อสังคมและความหวาดผวาลดน้อยลง

นอกจากนี้ ประเทศจะไปได้ถ้ามีผู้นำที่ใส่ใจและห่วงใยในความเป็นไปของประเทศจริงๆ อย่างประเทศไทยก็มีในหลวงที่คอยห่วงใยดูแลประชาชน

ผู้นำต้องเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และควรจะคิดถึงการแบ่งปันความเจริญรุ่งเรืองให้กับคนรอบข้างด้วยเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมโดยรวม

ทุกคนต้องนึกถึงการเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก ว่าผู้บริโภคในแต่ละประเทศและแต่ลดซีกโลกเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างแล้ว ขณะเดียวกันก็กลับมาดูว่าประเทศไทยมีคนที่มีศักยภาพด้านไหนบ้างและพวกเขาเหล่านั้นอยู่ส่วนไหนของประเทศ แล้วไปสร้างความแข็งแกร่งให้แก่บุคคลเหล่านั้น ซึ่งตรงนี้ ทุกคนต้องกลับไปดูที่รากเหง้าทางวัฒนธรรมของของประเทศนั้นๆ (เช่น ประเทศไทยมีวัฒนธรรมของการปลูกข้าวและการทำการเกษตรมายาวนาน ดังนั้น หนึ่งในศักยภาพของไทยคือบุคลกรในอุตสาหกรรมการเกษตร)

ในตอนนี้ เอเชียเป็นอนาคตของการเติบโต โลกในปัจจุบันนี้แบ่งออกได้เป็นสองขั้ว คือ โลกของเศรษฐกิจยุคเดิม เช่น อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ประเทศเหล่านี้จะมีประชากรน้อยลง คนที่มีอยู่อายุยืนยาวไม่ได้อยู่ในวัยทำงาน แตกต่างจากโลกเศรษฐกิจใหม่ ที่จะมีคนมากขึ้น และมีคนในวัยทำงานและมีระดับการศึกษาเริ่มต้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ที่ถือได้ว่าเป็นอนาคตของเศรษฐกิจโลกอีกด้วย

ยกตัวอย่างของ อินเดีย ปัจจุบันมีประชากรมากมายและอยู่ในวัยทำงานมีการศึกษาสูงมากมาย ซึ่งแต่เดิม ประเทศนี้จะมีคนที่มีอาหารกินวันละหนึ่งมื้อโดยเฉลี่ย แต่อนาคตคนที่นี่จะมีอาหารกินวันละหนึ่งมื้อครึ่งสำหรับคนพันล้านคนโดยง่าย เพราะเศรษฐกิจดีขึ้นเรื่อยๆ

ปัจจัยหลักๆ ที่ผู้นำต้องลงทุนคือ:
1. ทรัพยากรบุคคล – ผู้นำต้องลงทุนกับการสร้างคนก่อนเป็นอันดับแรก ประเทศไทยมีคนที่มีความสามารถแต่ต้องมีการผลักดันพวกเขาขึ้นมา ซึ่งรัฐบาลต้องมีส่วนร่วมด้วย
2. การริเริ่มทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร
3. การท่องเที่ยวเชิงแพทย์
4. การสร้างการเชื่อมโยงกั้นระหว่างพื้นที่ต่างๆ – การที่ประเทศไทยจะสร้างการแบรนด์ให้ไปไกลถึงระดับโลกได้นั้น ไทยต้องแข็งแกร่งในแง่ของแบรนด์ท้องถิ่นก่อน

ความท้าทายที่อยู่เบื้องหน้า ไม่ได้ใหญ่มากนักหากดูถึงกำลังสนับสนุนที่อยู่เบื้องหลัง ถ้าผู้นำได้รับการสนับสนุนจากเบื้องหลังที่ดี ก็ไม่ตร้องหวั่นเกรงว่าจะไม่สามารถฝ่าฟันความท้าทายที่อยู่เบื้องหน้าได้

ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
ประธาน บริษัท เอสซีบี Asset Management จำกัด

“ผู้นำต้องสร้างความมั่นใจบนพื้นฐานของความเป็นจริง การมองโลกในแง่ดีหรือการมองโลกในแง่ร้ายนั้นอาจเป็นอันตรายได้”

ถ้ามองทั่วโลก สถานการณ์การส่งออกและตลาดในประเทศต่างๆก็มีปัญหากันทั้งสิ้น
สิ่งที่ผู้นำต้องทำคือจะทำอย่างไงเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ไม่มีใครสามารถทราบได้ว่าเมื่อใดสถานการณ์จะดีหรือเมื่อใดสถานการณ์จะแย่ เมื่อใดประเทศไทยจะดีขึ้น ดังนั้นผู้นำควรจะต้องวางแผนสำหรับการแก้ไขสถานการณ์ที่แย่ที่สุด(ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้)อยู่เสมอ

ในภาพรวมของเศรษฐกิจโลก หลายธนาคารกำลังเริ่มไปได้ดีหลังจากที่รัฐบาลของหลายประเทศเข้าไปช่วย แต่ในประเทศไทยนั้น ธนาคารหลายแห่งเริ่มจะเข้าสู่ภาวะกดดันจากการปล่อยกู้ของภาคเอกชนและการดำเนินการเพื่อให้เกิดการบริโภค

อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินของโลกหลายแห่งทั้งธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟก็ยินดีที่จะให้ประเทศไทยกู้อยู่แล้วเพื่อช่วยเหลือภาคเอกชนของไทย

อีกปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้ก็คือ รายรับของรัฐบาลในปีนี้จะต่ำลงเพราะรัฐต้องการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจประกอบกับรัฐจะจัดเก็บเงินได้น้อยลงจากรายได้ของประชาชนโดยรวมไม่ค่อยดี และหากว่าเงินรายรับต่ำลง จะทำให้รัฐมีรายได้น้อยและไม่สามารถที่จะช่วยเหลือระบบได้มากอย่างที่คิดไว้

ศาสตราจารย์ พอล ทิฟฟานี
อาจารย์อาวุโส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบอร์กลีย์

“ภาวะความเป็นผู้นำของรัฐบาลที่สามารถควบคุมสถานการณ์และสามารถนำพาประเทศชาติให้ฝ่าฟันอุปนสรรคมไปได้เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ”

เราต้องตั้งเป้าก่อนว่าใครคือผู้ที่ “เสียความเชื่อมั่น” ในเศรษฐกิจไทย แล้วไปสร้างความเชื่อมั่นที่ตรงนั้น ซึ่งนอกจากชุมชนนานาชาติแล้ว นักธุรกิจไทยเองก็ถือเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญไม่แพ้กัน

มาตรการในการปรับตัว ของภาคธุรกิจในช่วงที่ประสบปัญหาว่ามีอยู่หลายวิธีการ ได้แก่ การพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องทำหรือต้องมี (must have) ควรจะทำหรือต้องมี (nice to have) และไม่จำเป็นต้องทำหรือไม่ต้องมี (no need to have) เมื่อจัดลำดับแล้ว ให้เลือกทำเฉพาะสิ่งที่มีความจำเป็นสูงสุดก่อน เพราะ ณ เวลานี้ยังไม่มีใครรู้ว่า จะมีจุดต่ำลงไปกว่านี้อีกมากน้อยขนาดไหน

ประชาชนต้องการความรู้สึกของ “ความมั่นใจ” พวกเขาต้องการความเชื่อมั่นจากผู้นำว่าจะสามารถนำพาพวกเขาให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากนี้ไปได้ สำหรับภาคการเมือง ประเทศไทยต้องสร้างความเชื่อมั่นในแง่ของความปลอดภัยให้ได้อีกครั้ง ทั้งกับคนไทยด้วยกันเอง นักท่องเที่ยว และชาวโลก

รัฐบาลจะต้องมีแผนนโยบายการบริหารประเทศทั้งระยะกลางและระยะยาว ซึ่งทั้งสองแผนจะต้องสอดคล้องกัน รัฐบาลต้องแน่ใจว่านโยบายระยะสั้นจะต้องไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบาลระยะกลางและระยะยาว ไม่ใช่ออกนโยบายระยะสั้นเพื่อให้ประเทศไปได้ แต่พอในระยะยาว กลับมีปัญหาในการดำเนินการต่อ

ที่สำคัญ ในสถานการณ์เช่นนี้ ประเทศไม่สามารถแยกการเมืองออกจากเศรษฐกิจได้ ดังนั้น ภายในรัฐบาลเองจะต้องสร้างเสถียรภาพในการทำงาน และทำงานร่วมกันเพื่อสร้างนโยบายที่ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนไปได้ในภาพรวม

ผู้นำต้องลงมือทำอะไรสักอย่างแล้ว เพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่น รัฐบาลจะต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าจำนวนงานจะไม่ลดลงไปกว่านี้ และตัวรัฐบาลเองก็ต้องสร้างความแข็งแรงเพื่อดำเนินนโยบายไปได้อย่างราบรื่น

ช่วงเศรษฐกิจแบบนี้เป็นโอกาสทองในแง่ของ การบริหารงานบุคคล และ เรื่องการบริหารจัดการ ข้อมูลลูกค้า รวมถึงความสำคัญของภาวะผู้นำขององค์กร

สำหรับแง่การบริหารบุคคลแล้ว การตัดคนงานออกเป็นวิธีที่ง่ายแต่อาจจะไม่เป็นผลดี เพราะเมื่อ เศรษฐกิจกลับขึ้นมาอีกครั้ง บริษัทก็ต้องเสียเงินหาคนใหม่และฝึกคนเพิ่มเติมอีก วิธีที่ดีที่สุดคือ เก็บคนดีและสื่อสารกับคนเก่งให้ชัดเจนว่าองค์กรต้องการเขามากที่สุด โดยปกติในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ คนเก่งจะเป็คนกลุ่มแรกที่ออกจากองค์กร ดังนั้นต้องรักษาพวกเขาไว้

ในแง่ของลูกค้า ช่วงนี้เป็นช่วงที่คัดกรองลูกค้าได้ ผู้นำต้องทำสิ่งที่ตรงข้ามกับ Marketing นั่นคือ De-Marketing ซึ่งก็คือการตัดลูกค้าที่คุณภาพไม่ดีออกจากรายชื่อลูกค้าของตนเอง เช่น ลูกค้าที่ สร้างปัญหาให้องค์กรมาก หรือ เรียกร้องมาก

อีกส่วนคือ ความสำคัญของความเป็นผู้นำขององค์กรหากว่าผู้นำองค์กร นิ่งและแสดงออกซึ่งความวิตกกังวล จะทำให้ทั้งองค์กรซวนเซไปได้ ตามภาษาฝรั่งที่ว่า “อย่าให้คนเห็นว่าคุณเหงื่อตก” อยู่ แต่หากว่าผู้นำแสดงท่าทีมั่นใจแล้ว จะทำให้องค์กรเดินไปได้ตามทิศทาง