ลัดดา กรุ๊ป รุกธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเกษตร ชูนวัตกรรมเทคโนโลยีเจาะตลาด ตั้งเป้าขาย 1,200 ล้านบาท

ท่ามกลางวิกฤติอาหาร ตลาดผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรของประเทศไทยมีมูลค่าปีละกว่า 19,000 ล้านบาท ลัดดา กรุ๊ป องค์กรกลุ่มบริษัทด้านธุรกิจและบริการอะโกรบิสซิเนส ครบวงจรของคนไทยเติบใหญ่ด้วยก้าวย่างอันมั่นคง จนปัจจุบันขยายกิจการดำเนินงานเป็น 9 บริษัทในเครือครบวงจร ตั้งแต่การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เคมีเกษตร งานพัฒนาวิทยาการอารักขาพืช และเพิ่มผลผลิตการเกษตรของไทย งานวิจัยและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ บริการออกแบบและติดตั้งการจัดการระบบน้ำ การพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยี่อและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว ลัดดา กรุ๊ป ชูวิสัยทัศน์รุกตลาดด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรม ตั้งเป้ายอดขายปี 2554 นี้ 1,200 ล้านบาท เล็งอัตราเติบโตไม่ต่ำกว่า 15 -20 % เผยโครงการลงทุนวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่จากพืชพลังงานสบู่ดำ พร้อม แตกไลน์ธุรกิจใหม่ผลิตภัณฑ์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กำจัดแมลงและสัตว์พาหะโรคในอาคารและชุมชนเมือง

คุณวนิดา อังศุพันธุ์ (Ms.Vanida Angsuphan) กรรมการผู้จัดการ ลัดดา กรุ๊ป กล่าวว่า “ ลัดดา กรุ๊ป ก่อตั้งในปีพ.ศ. 2509 โดยคุณพิชัย มณีโชติ (Mr.Pichai Manichote) นักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญระดับสูงคนหนึ่งของไทย ด้วยประสบการณ์การบริหารอย่างมืออาชีพจนได้รับมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001: 2000 และระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2004 รวมทั้งกระบวนการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตที่ดี GMP จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข คุณค่าที่บริษัทฯยึดถือคือ ธรรมาภิบาลและจรรยาบรรณในการบริหารองค์กรและดำเนินงาน ลัดดากรุ๊ปเจริญก้าวหน้าแตกหน่อเป็น 9 บริษัทในเครือ ประกอบด้วย บริษัท ลัดดา จำกัด ผลิตและจำหน่ายแบรนด์ผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรที่มีคุณภาพมาตรฐาน ดำเนินการผลิตสินค้าและควบคุมคุณภาพ ตลอดจนดำเนินการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ตามที่กฏหมายกำหนด , บริษัท ลัดดา อินเตอร์เทรด จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทปุ๋ยและธาตุอาหารเสริมสำหรับพืช . บริษัท ไดนามิค อะโกรเซอร์วิส , บ.พาซาน่า (ประเทศไทย) จก.และ บ.อุตสาหเกษตรพัฒนา จก.โดยทั้ง 3 บริษัทนี้เป็นผู้จัดจำหน่ายขายปลีกผลิตภัณฑ์เพื่อการอารักขาพืช สารบำรุงพืช และสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช, บ. เบสซอ เอ็นจิเนียร์ (ประเทศไทย) จก.เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับระบบน้ำหยดและการจัดการน้ำทางการเกษตร ให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย ,ส่วน บ.ไดนามิคพันธุ์พืช จก. นำเข้าและจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพสูง เช่น ทานตะวัน กระเจี๊ยบเขียว ผักชี และสบู่ดำ รวมถึงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดอกปทุมมาพันธุ์ลัดดาวัลย์ ,อะโกลนีมา พันธุ์ไดนามิครูบี้ ที่ได้รับความนิยมกว้างขวาง ,บริษัท ไบโอเซฟเฟอร์ จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับการรักษาคุณภาพของผลผลิตการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว (Post- Harvest Technology) , และบ.ทีเอบี อินโนเวชั่น จำกัด ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมการเกษตร และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ลัดดากรุ๊ปมียอดขายรวมในปี 2553 ที่ผ่านมากว่า 1,000 ล้านบาท “

ในด้านกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการของ ลัดดา กรุ๊ป มุ่งเน้นนวัตกรรมที่ก้าวหน้าด้วยคุณภาพ แบ่งเป็น กลุ่มเคมีเกษตรป้องกันกำจัดศัตรูพืช (Pesticides) , กลุ่มเคมีเกษตร ควบคุมการเจริญเติบโตพืช (Plant Growth Regulator) , กลุ่มเคมี ธาตุอาหารพืชและสารบำรุงพืช (Plant Nutrition, Plant Growth Promoter & Plant Hormones ) , กลุ่มเคมีสำหรับสาธารณสุขและในบ้านเรือน (Public Health & Household Products) , กลุ่มผลิตภัณฑ์ สำหรับวิทยาการหลังเก็บเกี่ยว (Post Harvest Products) , กลุ่มเมล็ดพันธุ์พืช (Seeds) , กลุ่มอุปกรณ์ระบบน้ำเพื่อการเกษตร (Water System Equipments) และ กลุ่มพืชไม้ดอกไม้ประดับ (Ornamental Plants)

ตลาดเคมีเกษตรในประเทศไทย ปี 2553 มีมูลค่ารวมประมาณ 19,000ล้านบาท ลัดดา กรุ๊ปมียอดขายรวมในปี2553ที่ผ่านมากว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่ง 80 % มาจากกลุ่มเคมีเกษตร สำหรับป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น เคมีเกษตรป้องกันกำจัดวัชพืช (Herbicides) , เคมีเกษตรป้องกันกำจัดแมลง (Insecticides) , เคมีเกษตรป้องกันกำจัดโรคพืช (Fungicides) , เคมีเกษตรป้องกันกำจัดหนู (Rodenticides) , และ เคมีเกษตรป้องกันกำจัดหอย (Molluscicides) เป็นต้น ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ขายดี 5 อันดับแรกของบริษัทฯ ได้แก่ Cypermethrin technical materials , Paclobutrazol , Abamectin , Acetochlor , และ Ametryn ส่วนเป้าหมายยอดขาย และอัตราการเติบโตของ ลัดดา กรุ๊ปในปี 2554 ประมาณ 1,200 ล้าน คาดว่าจะมีอัตราเติบโต 10-30% แตกต่างไปตามกลุ่มผลิตภัณฑ์

คุณวนิดา อังศุพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ ลัดดา กรุ๊ป กล่าวถึง โครงการวิจัยพืชพลังงานสบู่ดำ ว่า “ ท่ามกลางภาวะขาดแคลนพลังงาน ลัดดา กรุ๊ปได้มุ่งมองศักยภาพของพืชสบู่ดำ ไม่แพ้ปาล์มน้ำมัน และจะเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกในอนาคตของไทย โดยดำเนินงานและลงทุนในการวิจัยโครงการพืชพลังงานสบู่ดำ ซึ่งประกอบด้วย 2 โครงการย่อย คือ 1. โครงการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำ เพื่อนำมาสกัดและผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ซึ่งนับเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผลิตคาร์บอนต่ำ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำให้ได้พันธุ์ดีและผลผลิตสูง , เพื่อหาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์สบู่ดำโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ , เพื่อหาต้นตอ (rootstock) ที่ดีในการขยายพันธุ์สบู่ดำ เพื่อศึกษาปริมาณสารพิษและวิธีการกำจัดสารพิษในเมล็ดสบู่ดำ เพื่อนำกากเนื้อในเมล็ดมาใช้เป็นโปรตีนอาหารสัตว์และอาหารบำรุงพืช ผลความก้าวหน้าของโครงการเป็นที่น่าพอใจ ได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตที่มากขึ้นเรื่อยๆ 800 – 900 กิโลกรัมต่อไร่ 2.โครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสบู่ดำและชักนำการกลายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ โดยลัดดา กรุ๊ปได้ทำการศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการสร้างยอดสบู่ดำ จากผลได้สูตรอาหารที่เหมาะสมในการสร้างยอดสบู่ดำ การศึกษาชักนำการกลายพันธุ์สบู่ดำโดยการใช้สารเคมีและฉายรังสี จากผลการวิจัยมีแนวโน้มไปในทางที่ดี รวมทั้งดำเนินการสกัดโปรตีนจากเมล็ดสบู่ดำเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร สามารถสกัดโปรตีนจากเนื้อในเมล็ดสบู่ดำ (seed kernel)

อีกโครงการเด่นของลัดดา กรุ๊ป คือ วิจัยพํฒนาผลิตภัณฑ์จากโครงการสารแคลเซียมฟอสโฟเนตในการควบคุมโรครากและโคนเน่าที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมการควบคุมโรคในพืชที่แปลกใหม่ สามารถไปยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคได้โดยฟอสไฟต์จะไปกระตุ้นให้พืชตอบสนองต่อ “การป้องกันตัวเอง “จากการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรค นับเป็นทางเลือกใหม่ที่ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้และผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้ ทำให้ลดการใช้สารเคมี ช่วยเกื้อกูลสิ่งแวดล้อม

ในด้านผลงานวิจัยที่ด้านไม้ดอกไม้ใบ มีอยู่ 3 ชนิดที่กำลังออกสู่ตลาด คือ ปทุมมาลัดดาวัลย์ (Curcuma Laddawan) และ ว่านอะมาริลลิส (Amaryllis) , และ อโกลนีมา (Aglaonema) , สำหรับ ปทุมมาลัดดาวัลย์ นั้นเราได้พันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการนำพันธุ์ท้องถิ่นของไทยมาผสมกัน เป็นไม้ตัดดอกที่มีสีสดสวยมากกว่าพันธุ์ท้องถิ่นและมีอายุการปักแจกันนานขึ้น ส่วนไม้ใบอะโกลนีมา เราจดสิทธิบัตรไว้ที่อเมริกา 2 พันธุ์ มีชื่อเรียกว่า Bangkok Ruby และ Siam Majesty , สำหรับว่าน อะมาริลลิส (Amaryllis ) นั้นทาง ลัดดากรุ๊ป ได้ร่วมทุนกับบริษัท ซาอัด-อัสซาฟ ( Saad-Assaf )จากประเทศอิสราเอล โดยนำพันธุ์จากต่างประเทศมาทดลองปลูกในเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยจำนวน 6 สายพันธุ์ เป็นเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ หัวว่านมีขนาดใหญ่ตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งงานทดลองจะต้องทำต่อไป ก่อนที่ขยายผลออกไปในเชิงพาณิชย์เพื่อส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรป “

คุณภัชราพร เจียรวุฑฒิ (Ms.Patcharaporn Jiaravudthi) ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศและทะเบียนผลิตภัณฑ์ กล่าวถึง ปัจจัยที่ทำให้ราคาวัตถุดิบเคมีเกษตรผันผวน ว่าเนื่องจาก DEMAND และ SUPPLY ของวัตถุดิบเคมีเกษตรในตลาดโลกมีความผันผวนมากในบางช่วงอันเป็นผลกระทบจากการใช้สินค้าเคมีเกษตรทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าช่วงไหนมีการระบาดของโรคพืชและแมลงเกิดขึ้นมาก การใช้สารเคมีเกษตรก็จะมากด้วย แต่ถ้าช่วงไหนเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในตลาดโลก ราคาก็จะปรับตัวสูงขึ้น อีกประการหนึ่ง อัตราแลกเปลี่ยนของทั้งประเทศอเมริกา ประทศในยุโรป และจีนมีความผันผวนมากซึ่งมีผลกระทบต่อราคาของวัตถุดิบทั้งสิ้น ไตรมาสสุดท้าย เดือน ตค.-ธค.ปี 2553 ราคามีการปรับตัวสูงขึ้นจากเดิม เนื่องจากภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกและค่าครองชีพในประเทศจีนมีการปรับตัวสูงขึ้น ส่วนในปี 2554 ช่วงไตรมาสแรก ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในส่วนของสารกำจัดแมลงและสารป้องกันโรคพืช (Insecticides and Fungicides) เนื่องมาจากความต้องการของสินค้าในตลาดค่อนข้างสูง ส่วนสารกำจัดวัชพืช (herbicide) ราคาคงที่

คุณชื่นจิตต์ มีโพธิ์สม (Ms.Chuenjit Meeposom) ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “บ.ลัดดา กรุ๊ป ได้แตกไลน์กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ( Environmental Health) ภายใต้แบรนด์ “ลัดดา” โดยผลิตภัณฑ์ที่ขายดี ได้แก่ผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุง เทมีการ์ด 1%เอสบี, ผลิตภัณฑ์กำจัดยุง แบบฉีดพ่นหมอกควัน เดลต้าเมทริน 1% EC , ผลิตภัณฑ์กำจัดปลวก – ฟิโปรนิล 5% SC .ผลิตภัณฑ์กำจัดหนู – โบรมาดิโอโลน 0.005%แว๊กซ์บล็อก ,ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงทั่วไป – ไซเพอร์เมทริน 10%EC เป็นต้น โดยในปี 2553 มียอดขายเติบโต มากกว่า 100 % หลังจากเริ่มทำตลาดอย่างจริงจังในระยะ 1-2 ปีที่ผ่าน โดยในปี 2554 เราตั้งเป้าหมายไว้ที่ 40 ล้านบาท หรือที่อัตราเติบโต 40% ส่วนแผนงานการตลาด ยังคงเน้นที่การจัดหาและแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายในทุกเขตพื้นที่ เพื่อผลักดันสินค้าเข้าไปในตลาดให้ได้มากที่สุดโ ดยที่ลัดดาจะให้การสนับสนุนทั้งในด้านผลิตภัณฑ์และ ข้อมูลวิชาการ รวมถึงสนับสนุนโปรโมชั่นต่างๆ ให้กับตัวแทนจำหน่าย”
—————————–
www.ladda.com
PR Agency : BrainAsia Communication
Tel : ประภาพรรณ 081-899-3599 ,นภาพร 086-341-6567 , 02-911-3282 Fax : 02-911-3208
Email : brainasia@hotmail.com