ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (SMEs) กำลังไปได้สวยบนคลื่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) โลก แต่ความกังวลเรื่องโลจิสติกส์ยังคงเป็นตัวถ่วง

คาเร็น เรดดิงตัน ประธานบริษัท เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระบุ “รัฐบาลสามารถช่วยให้อีคอมเมิร์ซ (E-commerce) เติบโตได้ด้วยการแก้ไขนโยบายการค้าที่ออกมาก่อนยุคอินเทอร์เน็ตให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น”

ปัจจุบันการซื้อสินค้าออนไลน์กำลังได้รับความนิยมอย่างมากและยังคงเดินหน้าเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมูลค่าตลาดค้าปลีกออนไลน์ทั่วโลกแตะ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในอีกสี่ปีข้างหน้า 

ภูมิภาคเอเชียถือเป็นศูนย์กลางการปฏิวัติของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ที่ยึดผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นตลาดเกิดใหม่ในเวทีการค้าอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ข้ามพรมแดนในวันนี้ ทว่ามีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) จะเพิ่มขึ้นแตะที่ระดับ 1 ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. 2559 จากปัจจุบันที่มูลค่าตลาดอยู่ที่ 7.44 แสนล้านบาท[1] 

ด้วยอัตราการเติบโตมหาศาลขนาดนี้ที่ยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจทุกประเภทในภูมิภาคเอเชียจึงได้รับอานิสงส์เต็มๆ จากโลกอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ยุคใหม่ ว่ากันตามจริงแล้ว การเป็นเพียงปลาซิวตัวเล็กๆ ในโลกของธุรกิจขนาดใหญ่ไม่ถือว่าเป็นการเสียเปรียบในเรื่องขนาดอีกต่อไป 

งานวิจัยชิ้นใหม่ของบริษัทที่ปรึกษา ฟอร์เรสเตอร์ คอนซัลติ้ง[2] พบว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ข้ามพรมแดนกลายเป็นโอกาสในการสร้างรายได้หลักให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) แต่ผู้ประกอบการก็ยังมีสิทธิ์ขาดทุนได้จากความกังวลในเรื่องโลจิสติกส์ คำถามที่พวกเขาต้องหาคำตอบให้ได้ก็คือ เวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนมันคุ้มค่าพอสำหรับธุรกิจของเราไหม?

ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (SMEs) จำนวนมากในภูมิภาคนี้คว้าโอกาสนี้ไว้แล้ว จากรายงานของอีเบย์ที่ศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (SMEs) ในกลุ่มประเทศสมาชิก APEC พบว่าผู้ค้าโดยเฉลี่ยบนอีเบย์ได้ส่งออกสินค้าไปยัง 36 ประเทศ[3] 

ข่าวดีสำหรับผู้ผลิตก็คือ รายงานของฟอร์เรสเตอร์แสดงให้เห็นว่าสินค้าที่จับต้องได้ครองตำแหน่งผู้นำสินค้าที่มีการซื้อขายออนไลน์มากที่สุด โดยที่เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายได้รับความนิยมสูงที่สุด ขณะเดียวกันหนังสือ เทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภค เครื่องสำอางและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคลก็มีการซื้อขายกันบ่อยๆ

งานวิจัยชิ้นอื่นยังได้แสดงให้เห็นว่าผู้ค้าส่วนใหญ่และตลาดต่างๆ ถือเป็นแหล่งที่เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับนักช้อปออนไลน์ที่ต้องการซื้อเสื้อผ้าในประเทศจีนและญี่ปุ่น[4] ขณะที่ในประเทศเกาหลีใต้แอพพลิเคชันสำหรับสมาร์ทดีไวซ์กลายเป็นสินค้าหลัก เนื่องจากผู้ซื้อเสื้อผ้าออนไลน์จำนวนเกือบหนึ่งในสามได้ทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนของพวกเขา[5]

แต่ความรู้สึกสะดวกสบายในการซื้อสินค้าจากผู้ขายออนไลน์หรือเว็บไซต์ในประเทศของคุณเองไม่ได้หมายความถึงการซื้อสินค้าข้ามพรมแดนเสมอไป

ความกังวลของผู้บริโภคมักจะพุ่งเป้าไปที่ความน่าเชื่อถือ พวกเขาจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสินค้าที่สั่งซื้อไปมันเป็นอันเดียวกันกับที่โฆษณา? แล้วจะคืนสินค้าได้ไหมหากว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับตัวสินค้า? 

งานวิจัยของฟอร์เรสเตอร์พบว่าการส่งสินค้าและโลจิสติกส์ถือเป็นข้อกังวลอันดับแรกในใจผู้บริโภคเมื่อพูดถึงการซื้อสินค้าข้ามพรมแดน โดยข้อกังวลสองอันดับแรกได้แก่ค่าส่งสินค้า (51%) และเวลาในการขนส่งสินค้าที่ยาวนาน (47%)[6]  

หลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับโลจิสติกส์ของอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ล้วนเป็นผลมาจากการเลือกใช้นโยบายที่แสนจะรอบคอบของรัฐบาลของประเทศต่างๆ นั่นเอง ซึ่งรวมถึงอัตราภาษีที่สูง ขั้นตอนการนำเข้าที่ยุ่งยากหรือเครือข่ายการขนส่งที่ไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ได้ช่วยให้การขนย้ายสินค้าข้ามพรมแดนเกิดความง่ายและคุ้มค่าที่สุดกับเงินที่ต้องจ่ายไป   

ดังนั้น การปรับนโยบายการค้าที่ล้าสมัยทั้งหลายให้มีความทันสมัยทันเหตุการณ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง อีกหนึ่งประเด็นที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยการทำให้การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งหมายรวมถึงการปรับปรุงภาษีสินค้านำเข้าหรือส่งออกให้มีความทันสมัย จะสามารถช่วยแก้ปัญหาด้านโลจิสติกส์ในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ได้ อันเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคเบื่อหน่ายการซื้อสินค้าออนไลน์จากบริษัทต่างประเทศจนเลิกราไป

ยกตัวอย่างเช่น World Economic Forum ได้ประมาณการว่า ธุรกรรมการซื้อขายสินค้าข้ามพรมแดนโดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดจาก 60% มาอยู่ที่ 80% ในกรณีที่อุปสรรคห่วงโซ่อุปทานได้รับการแก้ไข

การปรับเพิ่มเกณฑ์ขั้นต่ำในการผ่อนปรนให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นมากๆ คือให้เหนือกว่าระดับภาษีศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับการยกเว้น จะถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญยิ่งในการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (SMEs) ทั้งนี้ อัตราเกณฑ์ขั้นต่ำในการผ่อนปรนในปัจจุบันในสหภาพยุโรปอยู่ที่ 22 ยูโรเท่านั้น[7] ขณะที่กลุ่มธุรกิจจำนวนมากแนะนำให้ปรับเพิ่มเกณฑ์ขั้นต่ำนี้ทั่วโลกให้มาอยู่ที่อัตราหลายร้อยเหรียญสหรัฐ แต่ไม่ให้เกิน 1 พันเหรียญ[8]

การเพิ่มชั่วโมงในการประมวลผลการขนส่งสินค้าในพิธีการศุลกากรให้เป็นตลอด 24 ชั่วโมง จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นและยังเป็นการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) อีกด้วย นอกจากนี้การเพิ่มบริการกรอกเอกสารทางศุลกากรและชำระเงินผ่านออนไลน์แบบเบ็ดเสร็จภายในจุดเดียวก็เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง

สรุปก็คือการอำนวยความสะดวกทางการค้ามีส่วนช่วยธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (SMEs) ได้จริงๆ โดยงานวิจัยของ European University Institute ที่ทำการศึกษาในปี 2556 ระบุว่า “บริษัททั้งขนาดใหญ่และเล็กต่างก็ได้รับประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นจากการอำนวยความสะดวกทางการค้า ส่งผลให้บริษัทต่างๆ ไม่จำกัดไซส์ส่งออกสินค้าได้มากขึ้นอันเป็นการตอบสนองต่อการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น”

เช่นเดียวกัน อุปสรรคต่างๆ ที่ธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (SMEs) กำลังประสบอยู่สามารถที่จะปรับลดลงหรือแม้แต่กำจัดให้หมดสิ้นไปได้ด้วยการเข้าถึงเทคโนโลยี เพราะมันช่วยเปิดประตูโอกาสทางการค้าไปสู่ตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น

จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าโอกาสทางธุรกิจของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (SMEs) นั้นมีอยู่แน่นอน และเห็นได้ชัดว่าอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ก็ได้หยิบยื่นโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (SMEs) ในการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดต่างประเทศ ทว่าระบบโลจิสติกส์ที่ดีคือกุญแจสำคัญที่จะทำให้โอกาสนั้นไม่หลุดลอยไป

การอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นบทบาทหน้าที่ของธุรกิจและรัฐบาลที่จะร่วมมือกันในการสร้างเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (SMEs) ในทั่วภูมิภาคให้เข้มแข็งพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปอย่างมั่นใจ

[1] Bangkok Post, E-commerce worth 744b and growing, Dec 16, 2014

[2] Forrester Consulting study “Seizing the Cross-Border Opportunity” conducted on behalf of FedEx, 2015

[3] “Enabling Grwoth for APEC SMEs”. November, 2014

[4] http://www.prnewswire.com/news-releases/global-clothing-b2c-e-commerce-m…

[5] http://www.prnewswire.com/news-releases/global-clothing-b2c-e-commerce-m…

[6] http://images.fedex.com/us/ecommerce/pdf/whitepaper.pdf

[7] https://smallbusiness.fedex.com/international/country-snapshots/france

[8] https://smallbusiness.fedex.com/international/country-snapshots/france