7-11 ญี่ปุ่นถูกตราหน้าเป็น “องค์กรหน้าเลือด” ประจำปี 2015

ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง 7-11 ถูกจัดอันดับเป็น “องค์กรหน้าเลือด” ประจำปี 2015 โดยกลุ่มผู้ประเมินจากสื่อมวลชน,นักวิชาการและตัวแทนองค์กรแรงงานของญี่ปุ่น เนื่องจากการเลือกจ้างแต่พนักงานชั่วคราว รวมทั้งบีบคั้นผู้ซื้อแฟรนชายส์ให้รับภาระต้นทุนสินค้าที่ขายไม่หมด
 
“องค์กรสีดำ” เป็นการจัดอันดับองค์กรธุรกิจที่แสวงหาผลกำไรแบบเห็นแก่ได้จนเกินควรและใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม โดยคณะกรรมการผู้คัดเลือกประกอบด้วยสื่อมวลชน,นักวิชาการและตัวแทนองค์กรแรงงานของญี่ปุ่น โดยมีการจัดอันดับมาตั้งแต่ปี 2008
 
คณะกรรมการผู้คัดเลือก ระบุว่า องค์กรธุรกิจของญี่ปุ่นเริ่มเข้าข่าย“องค์กรหน้าเลือด” มากขึ้น โดยเฉพาะการจ้างงานแบบพนักงานชั่วคราว ซึ่งทุกวันนี้มีสัดส่วนมากถึง 40% ซึ่งพนักงานชั่วคราวเหล่านี้แทบไม่มีหลักประกันในการทำงาน ,สวัสดิการที่น้อยนิด รวมทั้งงานอย่างหนักจนถึงขนาดตายในหน้าที่ก็มี
 
หลักเกณฑ์ประเมิน“องค์กรสีดำ” นอกจากเรื่องการจ้างงานแล้ว ยังรวมถึงการคุกคามทางเพศ, เจ้านายใช้อำนาจคุกคามลูกน้อง, ไม่จ่ายค่าล่วงเวลา, งานล่วงเวลามีมากเกินไป, สภาพแวดล้อมในการทำงานย่ำแย่ รวมถึงการเลือกปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรรมต่อพนักงาน ซึ่งลูกจ้างส่วนใหญ่ไม่กล้าปริปากวิจารณ์หรือร้องเรียนบริษัทของตนเอง เนื่องจากกลัวว่าจะมีต่อหน้าที่การงาน ทำให้องค์กรพัฒนาเอกชนต้องประกาศรายชื่อ “องค์กรสีดำ” เพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้และพิจารณา
 

พนักงานของ 7-11 ส่วนใหญ่เป็นพนักงานชั่วคราว
 
ในปี 2015 ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง 7-11 ถูกจัดอันดับเป็น “องค์กรหน้าเลือด” ด้วยเหตุผลหลักคือ การจ้างพนักงานพาร์ทไทม์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังบีบคั้นผู้ซื้อแฟรนชายส์ให้แบกรับต้นทุนค่าสินค้าที่ขายไม่หมด
 
ทั้งนี้สินค้าประเภทอาหารที่จำหน่ายใน 7-11 จะมีอายุสั้น ทำให้ผู้ซื้อแฟรนชายส์หลายรายมีแนวคิดที่จะลดราคาสินค้าที่ใกล้หมดอายุ ซึ่งซุปเปอร์มาเก็ตและร้านสะดวกซื้อหลายแห่งในญี่ปุ่นก็ทำเช่นนี้ หากแต่ทาง 7-11 กลับไม่อนุญาตให้ลดราคา และยังให้ผู้ซื้อแฟรนชายส์ต้องแบกรับต้นทุนสินค้าที่ต้องทิ้งไปเพราะหมดอายุ
 
 
นอกจาก 7-11 แล้ว “องค์กรธุรกิจหน้าเลือด” รายอื่นที่ติดอันดับในปีนี้ ได้แก่ เครือข่ายร้ายขายรองเท้า ABC Mart, เครือข่ายโรงเรียนกวดวิชา Meikogijuku และบริษัทรับจ้างย้ายบ้าน Arisan No Hikkoshisha