เฟซออฟ! สยามดิสคัฟเวอรี่ ปรับสู่ไฮบริดรีเทลสโตร์

สยามพิวรรธน์ ได้ปรับโฉมห้างสยามดิสคัฟเวอรี่ สู่การเป็น ไลฟ์สไตล์สเปเชียลตี้สโตร์ ถือเป็นพลิกเกมส์ครั้งยิ่งใหญ่ด้วย เงินลงทุน 4,000 ล้านบาท ใส่อีโมชั่นแนล เน้นสร้างประสบการณ์ รับเทรนด์ลูกค้า ไม่ยึดติดแบรนด์ แต่สร้างสูตรผสมเฉพาะตัวว่า ‘นี่คือสไตล์ของฉัน
 
โจทย์การทำห้างสรรพสินค้านับวันก็ยิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ ไหนจะแข่งขันคู่แข่งขันเพิ่มขึ้นมากมาย ขยายวงกว้างออกไปในหลากหลายทำเล  แถมไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยนไป สลับซับซ้อนมากขึ้น  ไม่ชอบทำตามผู้อื่น มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น  
 
ไหนจะต้องแข่งขันกับโลกออนไลน์ มีจำนวนไม่น้อยนิยมหันไปช้อปออนไลน์ จะอยู่ที่ไหนก็ช้อปได้ตลอด 24 ชั่วโมง 
 
การจะขายของแบบเดิมๆ  โดยเน้นสินค้า เน้นแบรนด์ และบริการครบวงจรแบบในอดีต จึงไม่สามารถตอบตอบโจทย์ลูกค้าความต้องการยุคนี้ ได้อีกต่อไป แต่ต้องตอบโจทย์เรื่องของการสร้าง “ประสบการณ์ และอารมณ์ร่วม” ที่ต้องเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุด 
 
และนี่คือ โจทย์ใหญ่ของการพลิกโฉมห้างดิสคัฟเวอรี่ ไปสู่การเป็น “ไลฟ์สไตล์สเปเชี่ยลตี้สโตร์” ที่ต้องเน้นการอารมณ์  และการสร้างประสบการณ์ร่วมให้กับลูกค้า เน้นการขายสินค้าแบบมีเรื่องราว หรือ สตอรี่เทลลิ่ง และกิจกรรม เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่แปลกใหม่ร่วมกับผู้อื่น 
 

 
“เรากำลังพลิกวิธีการค้าปลีกรูปแบบเดิมๆ ในอดีตให้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากที่เคยเป็นการจัดวางสินค้าตามประเภทและตามแบรนด์ ให้กลายเป็นการนำเสนอด้วยการผสมผสานหลายกลุ่มสินค้าตามเรื่องราวและความสนใจของผู้คน ความสนุกสนานในการค้นหา เป็นคอนเซ็ปต์ค้าปลีกรูปแบบใหม่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทยและในสเกลที่ใหญ่ระดับนี้  ซึ่งเราคาดว่าจะช่วยทำให้รายได้ต่อตารางเมตรของสยามดิสคัฟเวอรี่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าภายในระยะเวลา 1 ปี” ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าว
 
 
 
ผ่าแผนพลิกโฉม “สยามดิสคัฟเวอรี่” สู่ไฮบริดรีเทลสโตร์
 
– ใช้เงินลงทุน 4,000 ล้านบาทในการปรับโฉมบนพื้นที่ 4 หมืนตารางเมตร 
 
-ถือเป็นพลิกเกมครั้งยิ่งใหญ่ เปลี่ยนจากจัดวางสินค้าตามประเภทและตามแบรนด์ให้ครบวงจรในอดีต ให้เป็นการบริหารจัดการตามประสบการณ์ อารมณ์ และความต้องการของลูกค้า 
 
-กลุ่มเป้าหมาย คนทุกเพศทุกวัยที่มีไลฟ์สไตล์ในแบบคนรุ่นใหม่ (Millennial Generation) 
 
-ต้องการตอบโจทย์ อินไซท์คนรุ่นใหม่ไมยึดติดกับแบรนด์สินค้า และจะสร้างสูตรผสมเฉพาะตัว ที่เป็นไลฟ์สไตลของตัวเอง ไม่ทำตามคนอื่น ไม่ถูกครอบงำโดยแบรนด์สินค้า
 
-ผสมผสานหลายกลุ่มสินค้าตามเรื่องราวและความสนใจของผู้คน เน้นมิกซ์แอนด์แมตช์สินค้าจากหลากหลายแบรนด์และหลากหลายประเภท และกิจกรรมต่างๆ 
 
– เน้น Storytelling บอกเล่าเบื้องหลังการสร้างแบรนด์หรือนวัตกรรมของสินค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ 
 
-ให้เป็นศูนย์กลางพบปะ แลกเปลี่ยน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน แบ่งปันประสบการณ์ Start Up ก่อให้เกิดคอมมูนิตี้ของกลุ่มคนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักออกแบบ นักกีฬา นักสะสม นักอนุรักษ์นิยม และนักเดินทาง   รวมถึงกลุ่มคนที่มีจิตสาธารณะ
 
-เป็นสนามทดลองให้ลูกค้า ค้นหาและค้นพบสินค้าและบริการต่างๆ จากเรื่องราวที่แต่ละคนสนใจ ทดลองทำผลิตภัณฑ์บางอย่างด้วยตนเอง 
 
– มีสินค้าวางขายหลายระดับราคา 5,000 แบรนด์ ทั้งใช้ในชีวิตประจำวัน, สินค้านำเทรนด์ ดีไซน์แปลกใหม่  สินค้าสิ่งแวดล้อม (Sustainability) สินค้าในรูปแบบคอลลาโบเรชั่น ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างแบรนด์หรือองค์กรชื่อดังที่สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยเฉพาะ และสินค้าลิมิเต็ดเอดิชั่น ขายสยามดิสคัฟเวอรี่เท่านั้น
 
 
– เนนโดะ (นายโอกิ ซาโตะ) ดีไซเนอร์ระดับโลก เข้ามาเป็นหัวหน้าที่ปรึกษางานออกแบบอาคารและงานออกแบบตกแต่งภายใน 
 
 
-บริษัท เออร์เบิ้น อาร์คิเทค จำกัด รับหน้าที่ออกแบบสถาปัตยกรรมของโครงการ 
 
-เปิดให้บริการ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 
 
-คาดว่าปีแรก จะมีคนเดินห้าง100,000 คนต่อวัน ชาวไทย 65% และเป็นชาวต่างชาติ 35%
 
– คาดว่าจะสร้างรายได้ต่อตารางเมตรของสยามดิสคัฟเวอรี่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าภายในระยะเวลา 1 ปี