ศิลปะแห่งความเชื่อ

– รูป สักยันต์หรือสักคาถา
– ความเชื่อ อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดปลอดภัย นิยมในกลุ่มนักรบชายไทย สมัยอดีตนับร้อยปี ปัจจุบันยังมีชายไทยและต่างชาตินิยมสักยันต์คาถาอยู่บ้าง ตามความเชื่อของแต่ละคน

– รูป หนุมาน
– ความเชื่อ มีพลังอำนาจมหาศาล ฟันแทงไม่เข้า อยู่ยงคงกระพัน เป็นลายสักที่นิยมมากในหมู่ชาวตะวันตก

– รูป เสือ
– ความเชื่อ มีอำนาจ ยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม มีพละกำลังคงทนต่อศาสตราวุธ

– รูป มังกร
– ความเชื่อ นิยมในกลุ่มคนเชื้อสายจีน เชื่อว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภของชาวจีน การสืบทอดตระกูลของคนจีน

– รูป ลิงลม
– ความเชื่อ ว่องไว เฉลียวฉลาดดุจพญาวานร

5 ตำแหน่งยอดนิยมบนเรือนกาย
ชาย อันดับ 1 หัวไหล่ ไล่มาถึงบริเวณกล้ามแขน
อันดับ 2 บริเวณแขน
อันดับ 3 ข้างใบหู
อันดับ 4 แผ่นหลัง
อันดับ 5 หน้าขา

หญิง อันดับ 1 ท้องน้อย
อันดับ 2 หน้าอก
อันดับ 3 สะโพกด้านหลัง ก่อนถึงบั้นท้าย
อันดับ 4 แผ่นหลัง
อันดับ 5 ข้อเท้า

กระแสโลก วัฒนธรรมรอยสัก

ไทย
รอยสักมีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามความเชื่อว่า การสักยันต์บนร่างกายของชายไทยในยุคนั้น ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากศาสตราวุธ อยู่ยงคงกะพัน ความเชื่อดังกล่าวถูกถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันภาพลักษณ์ของผู้ที่นิยมสักในสังคมไทยไม่ค่อยได้รับการยอมรับนัก พวกที่นิยมสักตามร่างกายจะถูกมองว่าเป็นนักเลงหัวไม้ หรือโจร อาชญากร

ญี่ปุ่น
แดนอาทิตย์อุทัย ถือเป็นแหล่งแฟชั่นรอยสักที่มีประวัติมาช้านาน มีการค้นพบว่ามีอายุถึง 5,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช การสักในอดีตถูกใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อชี้ตัวอาชญากร และผู้ที่ถูกเนรเทศ ซึ่งจะสักบนแขนรูปกากบาท

ฮาวาย
ชนพื้นเมืองของฮาวาย ใช้ลวดลายจากธรรมชาติมาใช้ในการสัก เช่น ฟันฉลาม, หอยเม่น ลวดลายการสักของฮาวายมักมีความหมายลึกซึ้ง มีความหมายเฉพาะตัว

มาเลเซีย
ชาวบอร์เนียว เป็นชนเผ่าทางประเทศมาเลเซีย ที่มีประวัติการสักมานานนับพันปี การสักแบบใช้เข็มจุ่มหมึก ตอกไปบริเวณเนื้อ เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ดำรงสืบต่อมา และยังเป็นที่นิยมของการสักจวบจนปัจจุบัน