ไทยก๊อบปี้สิงคโปร์

ศักยภาพของประเทศสิงคโปร์ที่วัดความสำเร็จจากการลงทุนในธุรกิจต่างๆ ไปทั่วโลก และความสามารถในการสร้าง ”แบรนด์สิงคโปร์” ให้กลายเป็น Globla Brand ยังทำให้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล ”ทักษิณ ชินวัตร” มีหลายอย่างสะท้อนถึงการเลียนแบบเส้นทางของรัฐบาลสิงคโปร์

เริ่มตั้งแต่การพยายามสร้างเสถียรภาพทางการเมือง ด้วยการพยายามกวาดที่นั่งในสภาผู้แทนให้ได้มากที่สุดในการเสนอตัวเข้ารับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 ของพรรคไทยรักไทย ด้วยสโลกแกน “คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน” พร้อมอัดแผนการ ”ตลาด” ในการหาเสียงด้วย ”นโยบายประชานิยม”

ผลการเลือกตั้งครั้งนั้นทำให้พรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียงในสภาผู้แทน 248 ที่นั่ง สูงกว่าพรรคเก่าแก่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคความหวังใหม่ และพรรคชาติไทย และในเวลาต่อมายังสามารถควบรวมพรรคการเมืองอื่นให้เข้ามาอยู่ภายใต้พรรคไทยรักไทย อย่างพรรคความหวังใหม่ พรรคชาติพัฒนา และพรรคเสรีธรรม

4 ปีในการบริหารประเทศภายใต้ ”ระบอบทักษิณ” มีนโนบายออกมาเป็นระยะ แม้จะไม่เหมือน แต่ก็ใกล้เคียงกับบางนโยบายของรัฐบาลสิงคโปร์ เช่น การประกาศเป็นศูนย์กลงทางการบิน ด้วยการเร่งก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ แข่งกับสนานชางฮี ของสิงคโปร์ ศูนย์กลางบริการทางสุขภาพ

ส่วนการแสดงศักยภาพทางด้านการเงินนั้น ระหว่างที่ประเทศอยู่ในภาวะฟื้นตัวภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้สถาบันการเงินต่างระมัดระวังในการปล่อยกู้ แม้ว่ารัฐบาลจะใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็ยังทำให้สภาพคล่องส่วนเกินในระบบสถาบันการเงินสูง ในที่สุดในช่วงต้นของรัฐบาลทักษิณ 1 จึงมีการจัดตั้ง ”กองทุนวายุภักษ์” โดยระดมทุนจากสถาบันการเงิน กระทรวงการคลัง และประชาชนบางส่วน เพื่อนำเงินเหล่านั้นหมุนกลับมาลงทุน เช่น หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ คล้ายกับกองทุนเทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์ ที่แม้เทียบขนาดกันไม่ได้ แต่นี่คือการเริ่มต้นของกองทุนในนามนามของรัฐบาลไทย

ในช่วงปลายของรัฐบาลทักษิณ 1 คนในรัฐบาลทักษิณบางคนได้ออกมาประกาศว่าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติดูแลอยู่นั้นมีสูง ซึ่งในช่วงปี 2548 อยู่ในระดับเกือบถึง 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเห็นควรนำมาใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันที่แบงก์ชาติเองก็กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาลงทุน โดยเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง คล้ายกับกองทุนของสิงคโปร์ที่เรียกกันว่า GIC (Government of Singapore Investment Corporation) แต่รัฐบาลไทยก็ยังไม่ทันได้คลอดกองทุนแบบ GIC ทักษิณ 1 ก็หมดวาระ

หลังอยู่ครบวาระ 4 ปี ก็มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ถล่มทลายด้วยประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้ง เทคะแนนให้พรรคไทยรักไทย 19 ล้านเสียง อันเป็นตัวเลขที่พ.ต.ท.ทักษิณอ้างอิงตลอดเวลา และสร้างความมั่นใจให้กับเสถียรภาพรัฐบาลอย่างยิ่ง

แต่ช่วงเวลาของทักษิณ 2 เพียง 1 ปี ก็เริ่มคลอนแคลน จาก ”สิงคโปร์” เป็นพิษ ผิดแผนไปหมด เพราะขายหุ้นในบริษัทส่วนตัว ”ชินคอร์ปอเรชั่น” ให้ “เทมาเส็ก” “ระบอบทักษิณ” จึงถูกต้านอย่างหนัก หลายนโยบายที่ค้างคาให้ “ไทยแลนด์” กลายเป็น ”สิง-แลนด์” เต็มรูปแบบจึงสะดุดลงอยู่เพียงเท่านี้

ตัวอย่างข้อมูลนโยบายเชิงแข่งขันและเลียนแบบ

สุขภาพ
ไทย
– แผนศูนย์กลางสุขภาพ
สิงคโปร์
– Singapore Medicine

การบิน
ไทย
-สนามบินสุวรรณภูมิลงทุน 1 แสนล้านบาท (คาดเปิดบริการภายในปี 2549)
– เปิดเสรีการบินกับบางประเทศ, อนุญาตเอกชน อนุญาตเอกชนบริการสายการบินต้นทุนต่ำ
สิงคโปร์
– ก่อสร้างอาคารหลังที่ 3 (Terminal 3) สนามบินชางงี ลงทุน 42,000 ล้านบาท เปิดบริการมีนาคม 2549
– เปิดเสรีการบินกับบาลประเทศ อนุญาตเอกชนบริการสายการบินต้นทุนต่ำ

แผนการสร้าง Entertainment
ไทย
– Complex (บ่อนกาสิโนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ)
สิงคโปร์
– บ่อนการพนัน 2 แห่ง
– รูปแบบ Integrated Resort – IR

ศูนย์พัฒนาความรู้
ไทย
– ศูนย์พัฒนาความรู้ Knowledage Base Society
-สร้างศูนย์การเรียนรู้ เช่น ทีเคปาร์ค และทีซีดีซี ส่งเสริมแอนิเมชั่น
-การดึงต่างชาติเข้ามาถ่ายทำหนังในไทย
สิงคโปร์
– ผลักดัน Creative Industries
– บริษัทลูคัส ฟิลม์ ของจอร์จ ลูคัส เปิดโรงถ่ายทำภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น

กองทุน
ไทย
-กองทุนวายุภักษ์
-แผนการใช้เงินทุนสำรองระหว่งประเทศ
สิงคโปร์
-เทมาเส็ก
-GIC