สุรยุทธ์-เศรษฐกิจพอเพียง ทักษิณ-ทุนนิยมสุดโต่ง

ด้วยที่มาจังหวะเวลา และเป้าหมายต่างกัน ทำให้นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” และนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 “พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์” มีภารกิจที่ต่างกัน

6 ปีที่ผ่านมาคนไทยคุ้นหูกับคำว่า “จีดพี” จากการผลักดันการส่งออก เพิ่มยอดนักท่องเที่ยว ประชาชนจะหายจน มีแผนการกระตุ้นการบริโภคด้วยโครงการประชานิยม เอื้อาทร และอื่นๆอีกมากมายที่สมบูรณ์แบบในฉบับทุนนิยมเพื่อสร้างความสุข จนกระทั่ง 6 ปีแห่งการซึมซับระบอบทักษิณ ก่อให้เกิดความ “ไม่เป็นธรรม” จนนำมาสู่สาเหตุการแตกแยกในสังคม โดยเฉพาะในระบบการเมือง และปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

แต่หลังพิธีรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถ้อยแถลงของพล.อ.สุรยุทธ์ ทำให้เห็นภาพว่านับจากนี้ไปอีกประมาณ 1 ปี ประเทศไทยจะมีเส้นทางที่รายล้อมไปด้วยบรรยากาศแตกต่างจาก 6 ปีที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเน้นความสมานฉันท์ และเศรษฐกิจพอเพียง ของนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของไทย ทำให้เห็นถึงความแตกต่างการบริหารประเทศ ที่เน้นความร้อนแรงของเศรษฐกิจ และการเน้นความผาสุกของประชาชนมากกว่าตัวเลข GDP

พลเอกสุรยุทธ์
อาชีพเดิม ทหารอาชีพ
วิถีชีวิต เป็นผู้นิยมชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย สมถะ นิยมการเดินป่าชมธรรมชาติ เป็นประธานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นที่ปรึกษากลุ่มเยาวชนรักษ์เขาใหญ่ในนาม “ลุงแอ๊ด” ของเด้กๆ
ที่มาของการเป็นนายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง
นโยบาย
– เน้นเศรษฐกิจพอเพียง วัดเป้าหมายจากความผาสุกของประชาชนมากกว่าจีดีพี
– แก้ปัญหาการเมืองและภาคใต้
– เลือกบุคคลที่เป็นกลาง มีความสามารถร่วมคณะรัฐมนตรี

พ.ต.ท.ทักษิณ
อาชีพเดิม นักธุรกิจอาชีพ
วิถีชีวิต นิยมเดินทางพักผ่อนต่างประเทศ รับประทานอาหารในโรงแรมหรู
ที่มาของการเป็นนายกรัฐมนตรี เลือกตั้ง
นโยบาย
– เร่งขยาเศรษฐกิจ ตั้งเป้าการเติบโตของ GDP
– บุคคลร่วมครม.ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ ตัวแทนนายทุนพรรค
– กำหนดกรอบเวลาทำงาน
– เน้นความเป็นธรรมในการบริหาร ให้ได้ตามเป้าหมายสไตล์ CEO ที่บริหารบริษัท