หญิงเอเชีย…พลังตลาดใหม่

เอเชียยุคผู้หญิงครองเมือง ทั้งในแง่สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยที่ผู้หญิงในทุกวงการทวีความสำคัญมากขึ้น ทั้งการศึกษา การทำงานในระดับสูง มีบทบาทต่อการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากกว่าเดิม ส่งผลให้ผู้หญิงเอเชียกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลัก ดังนั้น การทำตลาดในเอเชีย คือ การทำการตลาดกับผู้หญิง

มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชียแปซิฟิก สิงคโปร์ ทำวิจัยล่าสุด และเผยแพร่ให้สาธารณชนรับรู้ในหัวข้อ Master Index of Women Advancement โดยเน้นวัดการพัฒนาของผู้หญิงใน 4 ด้าน ได้แก่ การใช้แรงงาน การศึกษา ระดับของตำแหน่งหน้าที่การเงิน และรายได้เฉลี่ย

การจัดทำดัชนี Miwa สำรวจจาก 13 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม

การจัดทำดัชนี Miwa เป็นส่วนหนึ่งของการทำวิจัยเกี่ยวกับผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ดทั้งหมด เพราะให้ความสำคัญกับตลาดเอเชียแปซิฟิก และเชื่อว่าดัชนี Miwa จะเป็นประโยชน์ต่อการเข้าใจถึงการข้อมูลสถิติของเพศหญิงและการคาดการณ์แนวโน้มได้มากขึ้น

หญิงไทยนำ-ทำงานมีส่วนร่วม

ในบรรดาประเทศที่ได้สำรวจนั้น ไทยทำคะแนนสูงลิ่วอันดับหนึ่ง มีคะแนนรวม 92.3 โดยในการมีส่วนร่วมในสังคมทำงานนั้น คะแนนของไทยอยู่ที่ 82.9 สะท้อนว่าผู้หญิงไทยก็เป็นผู้ใช้แรงงานและทำงานนอกบ้านมากขึ้นไม่แพ้ผู้ชายไทย

ขณะที่ด้านการศึกษาไทยมีคะแนน 131.9 เป็นแนวโน้มที่เห็นชัดขึ้นตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 ว่า ผู้หญิงไทยมีการศึกษาที่สูงขึ้น ในด้านการมีส่วนร่วมในตำแหน่งผู้บริหารนั้น ไทยได้คะแนน 73.2 แม้จะเป็นการสำรวจจากความเห็นของผู้หญิงที่รับผิดชอบงานที่ตนเองทำอยู่ ในลักษณะ Self-reporting

ด้านรายได้เฉลี่ยสูงด้วย มีคะแนน 81.3 สะท้อนว่าผู้หญิงไทยเชื่อว่ารายได้เฉลี่ยของตนเองเกือบจะเท่าเทียมกับผู้ชายแล้ว ไทยอัตราใช้แรงงานค่อนข้างสูง การศึกษาสูงมาก และเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นมานานแล้ว

ค่อนข้างน่าแปลกใจ สำหรับออสเตรเลีย แม้ว่าอัตราการทำงานของผู้หญิงจะสูงที่ 81 และระดับการศึกษาอยู่ที่ 103.4 แต่ในแง่การทำงานในระดับผู้บริหารกลับต่ำเพียง 30.4 และรายได้เฉลี่ยก็มีคะแนนเพียง 55.5

สำหรับผู้หญิงมาเลเซีย ในด้านการมีส่วนร่วมในตำแหน่งผู้บริหารนั้นทำคะแนนได้สูงสุดถึง 82.4 แม้การใช้แรงงานไม่สูง สะท้อนว่าผู้หญิงในมาเลเซีย มีความเชื่อว่าในงานที่รับผิดชอบนั้น พวกเธอมีตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงกว่าผู้ชาย และยังเป็นผู้บริหารต่องานที่รับผิดชอบด้วย นอกจากนี้ผู้หญิงมาเลเซียยังเชื่ออีกว่า งานที่ทำนั้นส่งผลให้เธอมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าผู้ชายอีกด้วย

สำหรับจีนนั้น ผู้หญิงมีคะแนนในการมีส่วนร่วมในระดับบริหารค่อนข้างสูง แต่ที่แปลกใจคือในฮ่องกง ที่การมีส่วนร่วมในตำแหน่งงานระดับสูงของผู้หญิงและรายได้เฉลี่ยค่อนข้างต่ำ ทั้งๆ ที่ฮ่องกงเป็นสังคมที่พลเมืองโดยเฉลี่ยมีรายได้สูง และมีการพัฒนาที่สูงในภูมิภาคนี้

1.Woman on top
ประเทศ คะแนนรวม*
– ไทย 92.3
– มาเลเซีย 86.2
– จีน 68.4
– ออสเตรเลีย 67.6
– ใต้หวัน 66.4
– ฮ่องกง 65.1
– เวียดนาม 63.7
– สิงคโปร์ 61.3
– ฟิลิปปินส์ 57.8
– นิวซีแลนด์ 54.6
– ญี่ปุ่น 54.5
– อินโดนีเซีย 52.5
– เกาหลี 45.5
รวมทั้งภูมิภาค 67.7

ที่มา : คัดลอกมาจากบทวิจัยจากบริษัท มาสเตอร์การ์ด สิงคฺโปร์ ในหัวข้อ MasterIndex of Woman Advancement (Miwa) (จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2548 ให้กับสื่อมวลชนทุกแขนง โดยวิธีคำนวณดัชนี-คะแนนรวม คิดจากเรื่องการใช้แรงงงาน การศึกษา ระดับของตำแหน่ง หน้าที่การเงิน และรายได้เฉลี่ยของผู้หญิงแต่ละประเทศและนำมาคำนวณดัชนี Miwa รวม)

*ความหมายคะแนน
เท่ากับ 100 แสดงว่าผู้หญิงประเทศนั้นทัดเทียมผู้ชาย
มากกว่า 100 แสดงว่า ผู้หญิงประเทศนั้นก้าวหน้ากว่าผู้ชาย
ต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้หญิงประเทศนั้นไม่เท่าเทียมผู้ชาย

2. ผู้หญิงเอเชียการใช้แรงงาน
ประเทศ การใช้แรงงาน*
– ไทย 92.3
– มาเลเซีย 56.8
– จีน na
– ออสเตรเลีย 81
– ใต้หวัน 68.8
– ฮ่องกง 73.6
– เวียดนาม na
– สิงคโปร์ 69.8
– ฟิลิปปินส์ 63
– นิวซีแลนด์ na
– ญี่ปุ่น 70.3
– อินโดนีเซีย 52.5
– เกาหลี 72.8

ที่มา : บทวิจัยจากบริษัท มาสเตอร์การ์ด สิงคฺโปร์

*ความหมายคะแนน
เท่ากับ 100 แสดงว่าผู้หญิงประเทศนั้นทัดเทียมผู้ชาย
มากกว่า 100 แสดงว่า ผู้หญิงประเทศนั้นก้าวหน้ากว่าผู้ชาย
ต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้หญิงประเทศนั้นไม่เท่าเทียมผู้ชาย

3. ผู้หญิงเอเชีย-การศึกษา
ประเทศ การศึกษา*
– ไทย 131.9
– มาเลเซีย n.a.
– จีน n.a.
– ออสเตรเลีย 103.4
– ใต้หวัน n.a.
– ฮ่องกง 88.6
– เวียดนาม n.a.
– สิงคโปร์ 85.3
– ฟิลิปปินส์ n.a.
– นิวซีแลนด์ n.a.
– ญี่ปุ่น 34
– อินโดนีเซีย n.a.
– เกาหลี 74.4

ที่มา : บทวิจัยจากบริษัท มาสเตอร์การ์ด สิงคฺโปร์

*ความหมายคะแนน
เท่ากับ 100 แสดงว่าผู้หญิงประเทศนั้นทัดเทียมผู้ชาย
มากกว่า 100 แสดงว่า ผู้หญิงประเทศนั้นก้าวหน้ากว่าผู้ชาย
ต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้หญิงประเทศนั้นไม่เท่าเทียมผู้ชาย

4. ผู้หญิงเอเชีย-ตำแหน่งงานระดับบริหาร
ประเทศ ตำแหน่งระดับผู้บริหาร*
– ไทย 73.2
– มาเลเซีย 119.4
– จีน 70.5
– ออสเตรเลีย 30.4
– ใต้หวัน 73.9
– ฮ่องกง 43.9
– เวียดนาม 58.3
– สิงคโปร์ 51.1
– ฟิลิปปินส์ 65.1
– นิวซีแลนด์ 62.1
– ญี่ปุ่น 62.2
– อินโดนีเซีย 59.9
– เกาหลี 16.4

ที่มา : บทวิจัยจากบริษัท มาสเตอร์การ์ด สิงคฺโปร์

*ความหมายคะแนน
เท่ากับ 100 แสดงว่าผู้หญิงประเทศนั้นทัดเทียมผู้ชาย
มากกว่า 100 แสดงว่า ผู้หญิงประเทศนั้นก้าวหน้ากว่าผู้ชาย
ต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้หญิงประเทศนั้นไม่เท่าเทียมผู้ชาย

5.ผู้หญิงเอเชีย-รายได้เฉลี่ย
ประเทศ คะแนน*
– ไทย 81.3
– มาเลเซีย 82.4
– จีน 66.2
– ออสเตรเลีย 55.5
– ใต้หวัน 56.5
– ฮ่องกง 54.2
– เวียดนาม 69
– สิงคโปร์ 38.9
– ฟิลิปปินส์ 45.2
– นิวซีแลนด์ 46.7
– ญี่ปุ่น 51.3
– อินโดนีเซีย 33.3
– เกาหลี 18.2

ที่มา : บทวิจัยจากบริษัท มาสเตอร์การ์ด สิงคฺโปร์

*ความหมายคะแนน
เท่ากับ 100 แสดงว่าผู้หญิงประเทศนั้นทัดเทียมผู้ชาย
มากกว่า 100 แสดงว่า ผู้หญิงประเทศนั้นก้าวหน้ากว่าผู้ชาย
ต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้หญิงประเทศนั้นไม่เท่าเทียมผู้ชาย