เปิด 10 กลยุทธ์ “หัวเว่ย” ดันแบรนด์จีนชิงตลาดนอกเแดนมังกร

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายปีที่ผ่านมา “สินค้าจีน” ตีตลาดไปแล้วทั่วโลก และมีหลายแบรนด์ที่ “ผงาด” อยู่ “แนวหน้า” หนึ่งในนั้นคือสินค้าเทคโนโลยี “สมาร์ทโฟน” มียี่ห้อ “HUAWEI” หรือ หัวเว่ย ที่ก้าวเป็นเบอร์ 2 ของโลก ไล่หลังเบอร์ 1 อย่างซัมซุง และแซง iPhone ได้ช่วงกลางปี 2560 ที่ผ่านมา มือถือมีส่วนแบ่งทางการตลาดในโลก 11.3% ขึ้นจาก 9.9% มีรายได้ทั่วโลก 75,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนในประเทศไทยครึ่งปีแรก มีรายได้เชิงมูลค่าเติบโต 400% ยอดขายเชิงปริมาณของมือถือโต 720% หรือราว 7 เท่าตัว มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 10.7% จาก 1.2% ภายในปี 2563 HUAWEI ตั้งเป้าเป็นเบอร์ ให้ได้ การจะไปถึงตรงนั้น Positioning พาไปดูโรงงานผลิตสมาร์ทโฟนหัวเว่ย (HUAWEI Manufacturing Center) ที่เมืองตงก่วน (Dongguan) ตลอดจนสำนักงานใหญ่หัวเว่ย (HUAWEI HQ) ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน

1. โรงงานที่เมืองตงก่วน มีกำลังการผลิตสมาร์ทโฟนระดับ Hi-end จำนวน 1.3 ล้านเครื่องต่อเดือน

2. ใน ไลน์การผลิตสมาร์ทโฟน จะใช้คน 26 คน ผลิตสินค้าได้ 2,600 เครื่องต่อวัน

3. กระบวนการผลิตสมาร์ทโฟนในส่วนที่ประกอบตัวเครื่อง ยังใช้แรงงานคนแทนเครื่องจักร เนื่องจากการทำงานที่ซับซ้อนบางอย่าง คนมีประสิทธิภาพกว่าเครื่องจักร เช่นเดียวกับการทดสอบคุณภาพเครื่องครั้งสุดท้าย (Final Test) ทั้งระบบเสียง หน้าจอ จะใช้คนดำเนินการ

4. การทดสอบสมาร์ทโฟน จะเกิดขึ้น ส่วน ได้แก่

  • 4.1 ส่วนที่เป็น Testing Lab เมื่อดีไซน์ผลิตภัณฑ์แล้วจะต้องทดสอบคุณภาพ ความคงของเครื่องรอบด้าน เช่น การตกกระแทก (Drop Test) ทุกมุมความสูง เมตร เฉลี่ย 1,000 ครั้ง และสูงสุดจนกว่าเครื่องจะมีปัญหา, การทดสอบ Adapter เฉลี่ย 10,000 ครั้ง และขั้นสูงเพื่อเก็บสถิติระยะเวลานานแค่ไหนจนกว่ามือถือจะพัง 
  • 4.2 การทดสอบในกระบวนการผลิตสินค้าจริง
Testing lab หัวเว่ยที่สำนักงานใหญ่ เมืองเซินเจิ้น

วิดีโอการตกกระแทกสมาร์ทโฟนความสูง เมตร จำนวน 1,000 ครั้ง

5. เทรนด์ของสมาร์ทโฟนในอนาคต หัวเว่ย มองเป็นยุคเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI สำหรับผู้บริโภคทุกคน 

6. เทคโนโลยี AI จะกลายเป็นเสมือนผู้ช่วยของผู้บริโภคในอนาคตมากขึ้น และนำไปสู่การ “ลดช่องว่าง” ระหว่างความเป็นมืออาชีพในหลายด้าน เช่น ผู้ที่เล่นกีฬาเก่ง แต่ถ่ายรูปไม่สวย AI จะทำหน้าที่คำนวณ โฟกัสการถ่ายรูป การกำหนดชัตเตอร์สปีด รูรับแสง (F) และอีกหลายอย่างแทนคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. ด้านการทำตลาดสมาร์ทโฟน บริษัทจะเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม Why หรือทำไม มากขึ้น เพื่อให้แบรนด์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้สูงสุด จากที่ผ่านมาแบรนด์จะเริ่มจากการขายอะไร What และสินค้ามีดียังไง How นับเป็นการมองจากมุมผู้บริโภคกลับเข้ามายังแบรนด์ หรือ Outside in มากกว่า Inside out

8. ความเชื่อเรื่องสินค้าแบรนด์จากจีน ไม่พรีเมี่ยม นวัตกรรมยังไม่เทียบเท่าฝั่งตะวันตก หน้าที่ของหัวเว่ยคือการส่งมอบสินค้าและบริการ ตลอดจนประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น สุดท้ายให้ “สินค้าป็นตัวตัดสินใจเอง” และปัจจุบันแบรนด์จีนจำนวนมากพิสูจน์ว่ามียอดขายเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แย่งส่วนแบ่งทางการตลาดในระดับโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนการยอมรับจากตลาดและผู้บริโภคดีขึ้น

Huawei Industry Solutions Exhibition Briefing Center ณ สำนักงานใหญ่

9. บริษัทมีการจดสิทธิบัตรแผนการพัฒนาสินค้าและบริการไว้ 62,000 แบบทั่วโลก เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต

Enterprise ICT Solutions Exhibition Hall ณ สำนักงานใหญ่หัวเว่ย

10. หัวเว่ย เน้นกลยุทธ์ผนึกพันธมิตรเพื่อชนะในการเสริมแกร่งให้ธุรกิจ เช่น PORSCHE DESIGN กล้อง Leica ผลิตสินค้าตอบสนองความต้องการผู้บริโภคและทำให้เหนือคู่แข่ง หวัง Win-Win-Win 3 ฝ่ายร่วมกัน ได้แก่ บริษัท, พันธมิตร คู่ค้า และสุดท้ายผู้บริโภค