10 ปรากฏการณ์ สะเทือนตลาดปี 2560

ในทุกปีมีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นในแวดวงธุรกิจการตลาด ที่มีทั้งเรื่องราวของแบรนด์ สินค้า ที่สร้างปรากฏการณ์ตลาดจนผู้ต้องร้องว้าว! คู่แข่งต้องหันมามอง นักการตลาดต้องหยิบมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อที่จะรียนรู้ ปรับใช้ และปรับตัวในปีต่อ ๆ ไป หากจะมองว่า กระแส หรือกิจกรรมตลาดไหนบ้างที่ “ร้อนแรง” ในปี 2560

1. ตูน Phenomenon 

ถ้าหากจะพูดถึงบุคคลแห่งปีที่ผู้คนทุกวงการต้องเกาะติด ตั้งแต่การเมือง การตลาด สังคม กีฬา สารพัดฯ ต้องยกให้คนนี้ “ตูน บอดี้สแลม” ที่ลุกมาทำโครงการ “ก้าวคนละก้าว” ออกมาวิ่งจากเบตง ถึงเชียงรายระยะทาง 2,000 กว่ากิโลเมตร(กม.) เพื่อระดมทุน 700 กว่าล้านบาท ไปช่วยเหลือ 11 โรงพยาบาล ผลของการทำกิจกรรมด้วยใจจริง ทำให้แบรนด์ต้องหันมาศึกษา และยกเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์ควรนำไปทำตาม ทั้งความจริงใจ มีความ Real Marketing ไม่ Fake เพราะการทำอะไรปลอมๆ ที่สุดแล้ว ก็จะกลายเป็นหอกกลับมาทิ่มแทงทำลายแบรนด์ให้พังได้

นอกจากนี้ สิ่งที่ตูนทำ ยังก่อให้เกิดคนรักทั้งประเทศ ซึ่งในเชิงการตลาด เป้าหมายสูงสุดที่แบรนด์ต้องการไปให้ถึงคือ Build Brand Love เพราะหากผู้บริโภคนรักแบรนด์ได้ จะก่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อแบรนด์นั้นเป็นแบรนด์แรก อีกทั้งหากมีใครกล่าวร้ายแบรนด์ ผู้บริโภคจะออกมาปกป้องทันที

2. ครีมหน้าเด้งของก้อย รัชวิน ที่ทุกคนถามหา 

นอกจากพี่ตูน บอดี้สแลมจะเป็นที่สนใจของทุกคน แต่จะไม่พูดถึงคนนี้ไม่ได้ “ก้อย รัชวิน” แฟนสาว ที่ร่วมออกวิ่งกับตูน ตั้งแต่ต้นจนจบ แต่สิ่งที่หลายคนสงสัย คือ “ใช้ผลิตภัณฑ์อะไร” ที่ยังคงสภาพผิว ใบหน้าให้สวดสดใสได้ตลอด จนมีบางแบรนด์มาเกาะกระแสขายสินค้า

ภาพจาก : facebook.com/rachwinwong

ขณะที่ก้อย บอกเพียงวิธีการดูแลผิวพรรณ ด้วยการใช้ครีมกันแดดในตอนกลางวัน หลังวิ่งเสร็จต้องลงอโลเวร่า ตบด้วยมาร์กหน้าตอนกลางคืน ส่วนก่อนเมคอัพให้สวยผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่จำเป็นทั้ง อายครีม มอยเจอร์ไรเซอร์ เซรั่ม ต้องลงหมด

3. ไมโลคิวบ์ ไอเทมสุดฮิต 

ที่ทุกคนควานหา การออกสินค้าใหม่มาชิมลางในตลาด การแจ้งเกิดได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ไมโลคิวบ์ จะไม่ได้เปิดตัวโดยตรงจากเจ้าของแบรนด์อย่าง “เนสท์เล่” แต่เมื่อมี “ขาหิ้ว” นำเข้ามาขาย จนโด่งดัง ก็เป็นจังหวะดีที่แบรนด์กลับมามอง เพื่อปูพรมทำการตลาด หาโอกาสใหม่ๆเอง

ความดังของไมโลคิวบ์ อย่างแรกเกิดจากตัวผลิตภัณฑ์(Product)ที่แตกต่างจากตลาดอย่างแท้จริง เพราะเวลานั้นไม่มีคู่แข่งรายใดที่ทำช็อคโกแลตมอลต์อัดเม็ดออกมาจำหน่าย ส่วนการทำตลาดแน่นอนของดีเลยทำให้ “ผู้บริโภคบอกต่อ” เป็น Word of Mouth เป็นตัวกลางที่สื่อสารให้แบรนด์ซัคเซส โดยไม่ต้องลงทุนโฆษณาใดๆ

4. ชากุหลาบ โปรดักท์จุดพลุให้ชาตรามือ 

อีกหนึ่งสินค้าที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้ สำหรับ “ชาตรามือ” ที่มีสินค้าพระเอกของปีคือ “ชากุหลาบ” กลายเป็น Buzz Marketing รัวๆ เพราะใครที่ลองสินค้านี้แล้ว มีการบอกต่อกันอย่างมากในโลกออนไลน์ ถึงคุณสมบัติบางประการ และนั่นทำให้ผู้บริโภคต่อคิวซื้อสินค้ายาวเป็นหางว่าว

ชากุหลาบ ยังช่วยปลุกชีพแบรนด์ที่ดูบ้านๆ มีสินค้าจำหน่ายเป็น Kiosk เล็กๆ ตามสถานีรถไฟฟ้า หรือจุดต่างๆ จนสลัดภาพไปทำตลาด เปิดช็อปให้บริการในศูนย์การค้าสยามพารากอนอย่างสวยหรู ในโซนที่เต็มไปด้วยแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มไฮโซ

5. Louis Vuitton X Supreme สุดยอดแบรนด์ปัง 

ปีนี้ถ้าจะพูดถึงการ Collaboration แบรนด์ทรงอิทธิพลจนผู้บริโภคต้องร้องว้าวต้องยกให้แบรนด์ไฮเอนด์จากฝรั่งเศสอย่างหลุยส์ วิตตอง ที่ลุกมาร่วมมือกับแฟชั่นสตรีทแวร์ดังจากเมืองมะกัน สุพรีม ออกคอลเล็กชั่นพิเศษทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ผ้าพันคอ ฯ มาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคตลาดบน

เมื่อสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ต้องยอมรับว่าอิทธิฤทธิ์ของทั้ง แบรนด์ทำให้เหล่าแฟชั่นนิสต้าไปตั้งตารอซื้อที่สยามพารากอนตั้งแต่เที่ยงคืน จนเกิดกระแสดราม่าพอสมควร เพราะสนนราคาสินค้าไม่ใช่ไก่กา แต่ราคาตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงแสน แพงหูฉี่ยังมีสาวกไปเฝ้านั่นเอง

6. ตลาดเหล้าขาวเจ้าสัวเจริญ ถูกลูบคม โดยนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ “เสถียร เศรษฐสิทธิ์” 

วงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเมืองไทย ถูกครอบครองโดยผู้ประกอบการน้อยราย(Oligopoly) หลักๆช้าง สิงห์ ไฮเนเก้น ยิ่งไปดูเหล้าขาว มีเพียง “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” ที่กินรวบส่วนแบ่งกว่า 97% และมียอดขาย 109,297 ล้านบาท กำไรสุทธิ 20,420 ล้านบาท   

 แต่ปี 2560 “คู่แข่ง” ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อ เสถียร เศรษฐสิทธิ์” และผองเพื่อนแห่งคาราวบาวแดง ผ่านด่านการทำประชาพิจารณ์จนสร้างโรงงานมูลค่า 3,000 ล้านบาท นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ที่เหล้าขาวมีคู่แข่งรายใหญ่พอตัว

อย่างไรก็ตาม การทำตลาดเหล้าขาวไม่ง่าย เพราะขุมข่ายพลังทางการค้า เอเย่นต์ ที่ขายสินค้าของเจ้าสัวมานานมีมากมาย การจะยอมให้แบรนด์ใหม่ไปแทรกแย่งตลาดย่อมยาก ดังนั้นเกมนี้ต้องจับตาดูกันยาวๆ ว่าเสถียร์ จะฝ่าด่านอรหันต์ไปได้หรือเปล่า

7. ตู้กดเบียร์สดในร้านสะดวกซื้อ ไปไม่รอด 

การทำตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย ดูจะกลายเป็น “ยาขม” สำหรับเจ้าของแบรนด์สินค้าไปซะแล้ว เพราะไม่ว่าจะลุกมาทำอะไร ก็ถูกสังคมจับจ้อง และค้านสายตาบรรดาผู้ที่ต่อต้าน ส่วนในมุมผู้บริโภค ย่อมมีทั้งปิดรับเปิดค้านสลับกัน

นี่ถือเป็นความพยายามของผู้ประกอบการ ค่ายใหญ่ “สิงห์-ช้าง” ที่ต้องการขยายตลาดเบียร์สดหรือ Craft beer ให้ใหญ่มากขึ้น เพื่อหาโอกาสการเติบโตใหม่ๆ เพราะหากยังวนเวียนเล่นแต่ตลาดลาเกอร์เบียร์ ซึ่งทุกปีอัตราการเติบโตต่ำมาก ย่อมไม่ดีต่อธุรกิจ ดังนั้นการหาน่านน้ำสีคราม(Blue Ocean)ใหม่ๆ จึงจำเป็น แต่การทดลองวางตลาดเบียร์สดในร้านสะดวกซื้อก็เกิดขึ้นสั้นๆ เพราะแรงเสียดทานจากสังคม ทำให้อวสานเบียร์สดเร็วมาก

8. ดราม่ามาร์เก็ตติ้ง เสียงติงจากผู้บริโภค 

การทำตลาดไม่ได้มีแต่เรื่องราวดีๆ แต่ที่ “ดราม่า” ก็มีให้เห็นเยอะ โดยเฉพาะเมื่อแบรนด์ออกมาทำกิจกรรมตลาดแล้วทำลายความคาดหวังของผู้บริโภคจนพังดราม่าหนักๆในปีนี้นอกจากตู้กดเบียร์สดในร้านสะดวกซื้อ สินค้าความงามก็โดน เมื่อสาวๆที่รอโปรโมชั่นแรง จาก EVEANDBOY ร้านมัลติแบรนด์ดังใจกลางสยาม ใช้กลยุทธ์ลดราคาแรงมาจูงใจผู้บริโภค จนความต้องการพุ่งปรี๊ด ต่อคิวกันยาวเหยียด แต่ปรากฎว่าสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ และยังมีบล็อกเกอร์ได้อภิสิทธิ์ช้อปปิ้งก่อนโดยไม่ต้องเข้าคิว ไหนจะบรรดาแม่ค้าแม่ขายที่รับหิ้ว แห่ไปกวาดสินค้าจนหมด สุดท้ายแบรนด์โดนด่าเละ!

แต่นั่นไม่ทำให้เจ้าของแบรนด์เข็ด เพราะตราบใดที่ยอดขายยังดี การทำตลาดแบบนี้ ยังคงถูกมาใช้อย่างต่อเนื่อง เพราะล่าสุดการลดราคาของ EVEANDBOY กระแสก็ซาลงอย่างเห็นได้ชัด

ภาพจาก : facebook.com/eveandboy

ดราม่ามาร์เก็ตติ้ง ไม่ได้มีแค่นี้ เคสอื่นๆที่เกิดขึ้นล่าสุด คือกรณีการจัดกิจกรรมระดับโลก Harry Potter Christmas in the Wizarding World ที่สยามพารากอน เพราะพลังการตลาดโปรโมทงานอลังการ แต่จัดงานจริงเล็ก สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ จัดคิวไม่ดี งานนี้ห้างเลยโดนเต็ม แต่ผู้จัดงานรอดเสียงติซะงั้น

ยังท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่กำลังทำตลาดออนไลน์บน Twitter อยู่ดีๆ “แอดมิน” คนเคยร่วมงานออกไปเล่ากลยุทธ์การตลาดใหม่ๆให้สื่อรับรู้ กลายเป็นการคลุกวงในของคนทำงานกันเอง จนต้องเบรกทำตลาดบนทวิเตอร์สักพัก ทั้งที่กำลังแจ้งเกิด สุดท้ายพอกลับมาทำตลาดอีกครั้ง เลยจืดสนิท กำลังปังแต่พังเพราะดราม่าแท้ๆ

9. เคเอฟซี-GMM25 ดีลแห่งปีจาก “เจ้าสัวน้อย ฐาปน” 

ภาพนักเทคโอเวอร์คงติดตานักบริหาร “หนุ่ม ฐาปน สิริวัฒนภักดี” ทายาทคนที่ ของราชันย์น้ำเมา “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” ไปเรียบร้อยแล้ว

หากพูดถึงดีลที่น่าสนใจ จาก “ฐาปน” ปีนี้ต้องยกให้การเข้าซื้อหุ้น 50% ในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ที่มีธุรกิจทีวี GMM25 เอไทม์มีเดียฯ ซึ่งการลงทุนดังกล่าวเกิดขึ้นในนามส่วนตัว ผ่านบริษัทลงทุนอย่าง “อเดลฟอส”  ซึ่งในอนาคตจะนำมาต่อยอดธุรกิจของเครือไทยเบฟอย่างแน่นอน ในฐานะที่บริษัทมีสินค้ามากมายทำ Music Marketing และ Sport Marketing ทั้งปีมากมาย

อีกดีลคือการซื้อกิจการสาขาร้านไก่ทอดเบอร์ ของโลกอย่าง KFC กว่า 1.13 หมื่นล้านบาท กลายเป็นสปริงบอร์ดสำคัญในการขยายเข้าสู่ธุรกิจอาหาร ให้ครบวงร จากที่มีร้านอาหารญี่ปุ่น อาหารจีน อาหารอาเซียน อาหารไทย ตั้งแต่ฟู้ดคอร์ทไปถึงหรูหรา(Fin Dining) แต่สิ่งที่ไทยเบฟจะได้จากการซื้อสาขาเคเอฟซี คือโนวฮาวการบริหารจัดการธุรกิจระดับโลกนั่นแอง

10. ศึกวันคนโสด สุดยอดกลยุทธ์การตลาดบนโลกออนไลน์ 

สมรภูมิค้าปลีกออนไลน์ ต้องบอกว่าแข่งขันกันเสือดลาด เพราะผู้ประกอบการทำตลาดหนักแค่ไหน ก็ยังแบกขาดทุนกันมโหฬารนั่นเอง

การทำตลาดออนไลน์ที่เขย่าวงการช้อปปิ้งสุดๆ ในปีนี้ ต้องยกให้กลยุทธ์การเปลี่ยนโจทย์วันคนโสด วันป๊อบๆของชาวจีน ให้เป็นวันช้อปปิ้งแห่งปี เพราะทั้ง LAZADA 11street Shopee  ออกแคมเปญ โปรโมชั่นเพื่อดวลศึกกันสนั่นวงการ กระตุ้นยอดขายกันเป็นวินาที จนทุบสถิติ ในไทยอาจไม่เปิดเผยตัวเลขนัก แต่เมืองจีนช้อปกันสะพัดมาก อย่างอาลีบาบา โกยยอดขายกว่า 8.6 แสนล้านบาท กันภายใน 24 ชั่วโมงแค่นั้นเอ๊ง!.