2 ช่องสุดท้ายบีอีซี “ลาจอ” กสทช. สรุป 5 ปี “ทีวีดิจิทัล” ปิดฉาก 9 ช่อง “เลิกจ้าง” กระทบคนสื่อ-ครอบครัวเกือบ 15,000 คน

ปิดฉากลาจอทีวีดิจิทัลคืนใบอนุญาตตามมาตรา 44 กันครบทั้ง 7 ช่องหลังเที่ยงคืนวันนี้ (30 ..) “2 ช่องอำลาส่งท้าย เป็นคิวของกลุ่มบีอีซีช่อง 3 Family” และช่อง 3 SD” หากย้อนกลับไปนับตั้งแต่เริ่มต้นทีวีดิจิทัลปี 2557 มีผู้ประกอบการพ่ายสมรภูมิทีวีดิจิทัลรวม 9 ช่อง จาก 24 ช่องที่เปิดประมูลและเกือบทั้งหมด ขาดทุน

เส้นทาง “ทีวีดิจิทัล” กว่า 5 ปี นับจากเริ่มออกอากาศครั้งแรกในเดือน เม.ย. 2557 มาถึงวันที่รัฐdddเปิดทาง “คืนใบอนุญาต” ก่อนจบอายุใบอนุญาต 15 ปี ในปี 2572 ถึงวันนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะ “ขาดทุน” หนัก และนั่นเป็นสาเหตุให้ 7 ช่อง ที่ประกอบไปด้วย สปริงนิวส์ 19, สปริง 26, ไบรท์ทีวี, วอยซ์ทีวี, MCOT Family 14, ช่อง 3 Family และช่อง 3 SD ขอคืนใบอนุญาต ตามคำสั่ง คสช. มาตรา 44 เพื่อรับเงินชดเชย จากการใช้ใบอนุญาตไม่ครบตามอายุ

ก่อนหน้าในปี 2558 เพียง 1 ปี ในยุคทีวีดิจิทัล 2 ช่อง “ไทยทีวีและโลก้า” ของ พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” ได้บอกคืนใบอนุญาตเป็นรายแรก ปัจจุบันยังมีคดีฟ้องร้อง กสทช. ที่ศาลปกครอง สรุปช่วง 5 ปีแรก มีทีวีดิจิทัลปิดตัวรวม 9 ช่อง

ฐากร ตัณฑสิทธิ์

ช่องเยอะ-เทคโนโลยีดิสรัปชั่น

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หากย้อนกลับไปดูสถานการณ์ “ทีวีดิจิทัล” ก็ต้องยอมรับว่ามีช่องที่เปิดประมูล “จำนวนมาก” เพราะเพิ่มขึ้นจากยุคแอนะล็อก 6 เท่าตัว ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาทีวีไม่ได้เพิ่มขึ้น

สิ่งสำคัญที่หลายอุตสาหกรรมก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากทีวีดิจิทัล คือ “เทคโนโลยี ดิสรัปชั่น” ทำให้มีดิจิทัลแพลตฟอร์มใหม่ๆ มาเป็นตัวเลือกเสพสื่อและคอนเทนต์ เห็นได้จากแนวโน้มการใช้งานดาต้าในฝั่งโทรคมนาคมที่เพิ่มขึ้นทุกปี

พบว่าจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7% นับตั้งแต่ปี 2557 ที่เริ่มต้นออกอากาศทีวีดิจิทัล ตัวเลขผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถืออยู่ที่ 53.7 ล้านราย ปี 2562 อยู่ที่ 75.9 ล้านราย เช่นเดียวกับปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต หรือดาต้าผ่านมือถือ จากปี 2557 อยู่ที่ 4.9 แสน terabyte ปี 2561 เพิ่มเป็น 5.8 ล้าน terabyte หรือเพิ่มขึ้น 10 เท่า

บริการผ่านออนไลน์ที่เติบโตสูงคือ OTT (Over The Top) ทั้งโซเชียล มีเดีย, วิดีโอ สตรีมมิ่ง, Massaging ปี 2561 Facebook มี 61 ล้านบัญชี ใช้งาน 655 ล้านครั้งต่อเดือน, YouTube 60 ล้านบัญชี ใช้งาน 409 ล้านครั้งต่อเดือน และ Line 55 ล้านบัญชี ใช้งาน 126 ล้านครั้งต่อเดือน

“ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมสื่อเป็นเรื่องของเทคโนโลยีดิสรัปชั่น การเกิดขึ้นของ 3G 4G และปีหน้าจะมี 5G วันนี้ทั้งเฟซบุ๊กไลฟ์ ยูทูบไลฟ์ ดูได้สะดวก ทุกที่ทุกเวลา และเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของสื่อทีวี หากสื่อไม่มีการปรับตัว อนาคตข้างหน้าจะอยู่ยาก”

“เลิกจ้าง” กระทบเกือบ 1.5 หมื่นคน

สถานการณ์ทีวีดิจิทัลตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งการแข่งขันจากจำนวนช่องที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบจากเทคโนโลยีดิสรัปชั่น จะเห็นได้ว่าการเติบโตของสื่ออยู่ในฝั่ง “ออนไลน์” เป็นหลัก สะท้อนจากเม็ดเงินโฆษณาสื่อออนไลน์เติบโตทุกปี ปี 2562 คาดการณ์กันที่มูลค่า 20,000 ล้านบาท ส่วนโฆษณาทีวีดิจิทัลปีนี้ สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) ประเมินมูลค่าอยู่ที่ 64,680 ล้านบาท ติดลบ 2%

นับตั้งแต่ทีวีดิจิทัลเริ่มต้นในปี 2557 เม็ดเงินโฆษณาก็ไม่ได้เติบโตจากยุคแอนะล็อก เพียงแต่เม็ดเงินก้อนเดิม ย้ายจากช่องฟรีทีวีเดิมไปยังทีวีดิจิทัลช่องใหม่ และมีส่วนที่ไหลไปยังสื่อออนไลน์ด้วยเช่นกัน ขณะที่ทีวีดิจิทัลเป็นสื่อที่ลงทุนสูง เมื่อรายได้ไม่คุ้มต้นทุน ตลอดช่วง 5 ปีนี้ จึงเห็นหลายช่องทยอย “ลดต้นทุน” ด้วยการ “เลิกจ้าง” พนักงานมาต่อเนื่อง และสุดท้ายมาจบลงที่การคืนใบอนุญาตของ 7 ช่องทีวีดิจิทัล

จากการรวบรวมตัวเลขของสำนักงาน กสทช. ฐากร บอกว่า ทีวีดิจิทัลส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะ “ขาดทุน” นับตั้งแต่ 2 ช่อง “ไทยทีวีและโลก้า” ปิดตัวในปี 2558 และมีการเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด พบว่าแต่ละสถานีจะมีพนักงาน ช่องละ 200 คน มีพนักงานประจำราว 30 – 40% ที่เหลือเป็นการจ้างผลิตหรือเอาท์ซอร์ส

การปิดตัวของทีวีดิจิทัล 9 ช่อง ทั้ง “ไทยทีวีและโลก้า” และ 7 ช่องคืนใบอนุญาต มีพนักงาน “ทางตรง” ที่เป็นพนักงานประจำและส่วนที่เอาต์ซอร์ส ทั้งผู้ผลิตรายการอิสระ ธุรกิจตัดต่อ ผู้ผลิตโฆษณา ได้รับผลกระทบจากการ “เลิกจ้าง” จำนวน 3,472 คน อีกทั้งยังมีผลกระทบทางอ้อม” จากครอบครัวคนที่ถูกเลิกจ้างอีก จำนวน 11,458 คน รวมผู้ที่ได้รับผลกระทบ 14,930 คน

โดยทั้ง 7 ช่องที่คืนใบอนุญาต กสทช.จ่ายเงินชดเชยให้จำนวน 2,933 ล้านบาท ในจำนวนผู้ประกอบการนำไปจ่ายเป็นเงินเยียวยาเลิกจ้างพนักงานตามกฎหมายแรงงานและบวกเพิ่มให้ รวม 1,400 ล้านบาท แต่ก็บพบว่ากลุ่มที่เป็นลูกจ้างเอาต์ซอร์ส ได้รับผลกระทบเพราะไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน เมื่อมีการยกเลิกประกอบกิจการจึงไม่ได้รับสิทธิการจ่ายเงินค่าเลิกจ้าง ซึ่งมีการส่งเรื่องร้องเรียนมาที่ กสทช.จำนวนมาก

“วันที่ 30 ก.ย. นี้ หลังเที่ยงคืน ทีวีดิจิทัล 2 ช่องสุดท้าย คือ ช่อง 3 Family และ ช่อง 3 SD จะยุติออกอากาศ ครบทั้ง 7 ช่องที่คืนใบอนุญาต หลังจากนี้จะเหลือทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจ 15 ช่อง และทีวีบริการสาธารณะอีก 4 ช่อง ที่ต้องขอให้ทุกช่องโชคดีในการทำทีวีดิจิทัลต่อไป”

2 ช่องกลุ่มบีอีซี “ลาจอ”

วันนี้ (30 ก.ย.) หลังเที่ยง เป็นคิวของทีวีดิจิทัล 2 ช่องของกลุ่มบีอีซี หรือช่อง 3 ที่จะยุติออกอากาศ คือช่อง 3 Family และ ช่อง 3 SD

สำหรับ ช่อง 3 Family ประมูลมาด้วยมูลค่า 666 ล้านบาท ในกลุ่มเด็ก เยาวชนและครอบครัว ออกอากาศหมายเลข 13 ช่วงแรกเน้นซื้อรายการลิขสิทธิ์มาออกอากาศ ทั้งซีรีส์ต่างประเทศ การ์ตูนเด็ก และละครรีรันช่อง 3 จากนั้นเริ่มผลิตรายการข่าว วาไรตี้ รายการการแข่งขันกีฬาถ่ายทอดสด และปล่อยเช่าเวลา แต่ด้วยการแข่งขันสูงและข้อจำกัดการลงโฆษณาของรายการเด็ก ทำให้รายได้โฆษณา แต่ละปีอยู่หลักร้อยล้านบาทเท่านั้น ตลอดช่วง 5 ปีทำรายได้รวม 636 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.083 ในปี 2558 และต่ำสุด 0.012 ปี 2557

ส่วนช่อง 3 SD ประเภทช่องวาไรตี้ SD หมายเลข 28 ประมูลมาด้วยมูลค่า 2,275 ล้านบาท ช่วงเริ่มต้นใช้คอนเทนต์รีรันจากช่อง 3 หลังจากนั้นเติมรายการข่าวและวาไรตี้ เข้ามาในผัง แต่รายการที่ทำเรตติ้งได้ดี คือ ละครรีรัน ช่อง 3 ทำให้เรตติ้งขึ้นมาอยู่ในกลุ่มท็อปเท็น ตลอด 5 ปี ทำรายได้รวม 1,930 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.279 ในปี 2560 และต่ำสุด 0.011 ปี 2557


ข่าวเกี่ยวเนื่อง