‘เป๊ปซี่โค’ ส่งมอบฝายน้ำล้น ‘ฝายปู่แซ’ กักเก็บน้ำและแก้ปัญหาน้ำหลากแก่เกษตรกร 3 จังหวัด

บริษัท เป๊ปซี่ โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวชั้นนำ อาทิ มันฝรั่งทอดกรอบเลย์ และขนมมัลติเกรนอบกรอบซันไบท์ จัดกิจกรรมสร้างฝายน้ำล้น ฝายปู่แซ ภายใต้โครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบน้ำ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรเครือข่ายเป๊ปซี่โค ร่วมกับ มูลนิธิรักษ์ไทย  นำทีมผู้บริหารและพนักงานจิตอาสาจำนวน 50 ชีวิต พร้อมด้วยกลุ่มเกษตรกรในเขตอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ที่อาศัยน้ำในระบบชลประทานในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว โดยการสร้างฝายน้ำล้น เพื่อเก็บกักน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรกรรม อุปโภค บริโภคและแก้ปัญหาน้ำหลากซึ่งสร้างความเสียหายต่อระบบชลประทานและพื้นที่เกษตรกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาและสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับพนักงาน

นางสาววรรณภร วัฒนาเกษมสัตย์ ผู้จัดการอาสุโส ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เป๊ปซี่ โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า พิธีส่งมอบฝายน้ำล้น ฝายปู่แซ ในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบน้ำ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรเครือข่ายเป๊ปซี่โค และเป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัท เป๊ปซี่ โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด และ มูลนิธิรักษ์ไทย” ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ แล้ว โดยมีเป้าหมายในระยะยาวเพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ที่อาศัยน้ำในระบบชลประทานในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวให้มีรายได้ที่มั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการพัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตรในครั้งนี้ รวมถึงส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาและสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับพนักงาน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของเป๊ปซี่โคที่เรียกว่า ผลงานดี สำนึกดี’ (Winning with Purpose) เป๊ปซี่โคพยายามที่จะขับเคลื่อนบริษัทฯ ให้ดียิ่งขึ้นโดยการบูรณาการเป้าประสงค์นี้ไว้เป็นแกนหลักในการประกอบธุรกิจและแบรนด์ของตน ตลอดจนแบ่งปัน ร่วมอุทิศสร้างสรรค์สังคมเพื่อประชาชนและโลกใบนี้ โดยกิจกรรมนี้สอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืนในด้านเกษตรกรรม คือความพยายามที่จะยกระดับมาตรฐานการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสิทธิของแรงงานภาคเกษตรกรรมทั่วโลก และด้านน้ำ ซึ่งเป๊ปซี่โคได้ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำในภาคเกษตรกรรมและการผลิตที่มีความเสี่ยงสูงต่อทรัพยากรน้ำ เน้นการใช้มาตรฐานและความชำนาญของตนในการวางนโยบายและแนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อปกปักรักษาลุ่มน้ำในชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรน้ำได้อย่างปลอดภัย

นายชวาลา วงศ์ใหญ่ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร บริษัท เป๊ปซี่ โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง กล่าวว่า เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในช่วงที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เพื่อการผลิตอย่างรวดเร็วและขาดการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าต้นน้ำ เสื่อมโทรม เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะการตกของฝนจากภาวะโลกร้อน เกิดการกัดเซาะพังทะลายของหน้าดิน น้ำป่าไหลหลาก สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สินและระบบการจัดการน้ำของชุมชนต่างๆ เป๊ปซี่โคร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย ได้เข้ามาให้การสนับสนุนในการปรับปรุงและพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำร่วมกับชุมชน โดยผลลัพธ์ของโครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบน้ำ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรเครือข่ายเป๊ปซี่โค ที่เกิดขึ้น ได้แก่

1.       แผนการบริหารจัดการน้ำ ที่ครอบคลุมการป้องกัน และบรรเทาปัญหาน้ำป่าไหลหลากใน พื้นที่รับน้ำของฝายที่โครงการสนับสนุนการซ่อมแซม

2.       เกษตรกรในพื้นที่ อำเภอ จำนวน 385 ครอบครัว มีน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อปลูกข้าว และพืชเศรษฐกิจที่เพียงพอ

3.       พื้นที่ทางการเกษตรจำนวน 1,785 ไร่ มีน้ำสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

4.       ฝ่ายชะลอน้ำจำนวน 100 ฝาย สร้างขึ้นจากการมีมีส่วนร่วมของเกษตรกรและภาคีช่วยฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ ลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย เพื่อป้องกันความเสียหายของฝายหลัก

ด้าน นายวรยุทธ เนาวรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนผู้รับมอบฝายในครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณ บริษัท เป๊ปซี่ โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง ที่มีนโยบายดีดีและเป็นยังประโยชน์อย่างยิ่งให้กับชาวบ้านในเขตอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะพืชไร่เป็นหลัก ซึ่งปัญหาหลักๆ เลยคือปัญหาขาดแคลนน้ำ แม้ว่าในพื้นที่เหล่านี้จะมีฝายอยู่เดิมหลายฝายแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นฝายที่สามารถใช้ประโยชน์ได้เพียงแค่ระยะเวลาหนึ่ง สักพักก็ชำรุดทรุดโทรมจนใช้การไม่ได้ในปัจจุบัน ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องก็พยายามหาแนวทางแก้ไขมาโดยตลอด การที่เป๊ปซี่โคฯ มีโครงการที่เข้ามาช่วยปรับปรุงและพัฒนาระบบน้ำนั้นเป็นความช่วยเหลือที่สำคัญยิ่งสำหรับชาวบ้าน การที่ฝายที่ชำรุดทรุดโทรมลงไปสามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกนอกจากจะยังประโยชน์ในด้านการเกษตรแล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษาสภาพแวดล้อม ดูแลระบบนิเวศน์ และแก้ปัญหาไฟป่าอีกด้วย สุดท้ายนี้ขอฝากให้ชุมชนคนใช้น้ำช่วยกันดูแลฝายให้อยู่ในสภาพที่ดีและใช้งานได้สูงสุดและยั่งยืน