8 แนวทางช่วย ‘ร้านออนไลน์’ สร้างความ ‘มั่นใจ’ ให้ลูกค้าในช่วง COVID-19

จากสถานการณ์ COVID-19 ที่แพร่ระบาด ส่งผลให้การขนส่งโดยเฉพาะสินค้าระหว่างประเทศต้องหยุดชะงักลง ลูกค้าเองก็ย่อมมีความกังวลต่อการจัดส่งสินค้า และหากนักช้อปออนไลน์มีความกังวลก็มักจะชะลอการสั่งซื้อหรือเปลี่ยนไปอุดหนุนร้านค้าอื่นแทน ดังนั้นร้านค้าออนไลน์ต้องทำให้ลูกค้ามั่นใจว่า ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายนี้ ธุรกิจและการให้บริการของคุณยังคงดำเนินการอย่างเป็นปกติ ดังนั้นนี่คือ 8 แนวทางเพื่อช่วยให้ร้านค้าออนไลน์ดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในช่วงสถานการณ์นี้

1.แจ้งรายละเอียดที่สำคัญบนหน้าโฮมเพจ

หน้าโฮมเพจหรือปักหมุดบนเฟซบุ๊กเพจของร้านควรมีรายละเอียดครบทุกขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า ตั้งแต่กดยืนยัน ดำเนินการ บริการส่งสินค้าช่วงสถานการณ์ COVID-19 หลายร้านมีแท็บข้อมูลในการแจ้งโปรโมชั่นการตลาดต่าง ๆ เช่น ส่งสินค้าฟรีเมื่อซื้อสินค้าครบ 2,000 บาทขึ้นไป, เวลาให้บริการลูกค้าตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 1 ทุ่ม, ยินดีรับคืนสินค้าภายใน 90 วัน ฯลฯ

ควรมีแท็บสำหรับติดต่อสื่อสารกับลูกค้า เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณใส่ใจลูกค้าในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ และอาจเลือกใช้คำที่เหมาะสม อาทิ “เราอยู่เคียงข้างคุณเสมอ” “สินค้าทุกชิ้นปลอดภัยด้วยกระบวนการส่งที่ปลอดภัย”

LONDON, UNITED KINGDOM – 2019/12/26: Home page of Harrods is seen on a computer as online Boxing Day sales starts. (Photo by Dinendra Haria/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

2.บอกข้อมูลที่ครบถ้วน

บ่อยครั้งที่ผู้เยี่ยมชมเพจพุ่งสายตาไปที่แท็บประเภทของสินค้า หรือเพจที่ให้รายละเอียดข้อมูลผลิตภัณฑ์ ดังนั้น คุณสามารถนำรูปภาพผลิตภัณฑ์หรือใส่ข้อความเพิ่มใกล้ปุ่มสั่งซื้อ หรือแจ้งกำหนดการส่งของแก่ลูกค้าพร้อมข้อความสั้น ๆ และได้ใจความ เช่น “ส่งสินค้าตามปกติในช่วง COVID-19” เพื่อย้ำว่ากระบวนการสั่งซื้อยังเป็นไปตามปกติ

3.แจ้งข้อมูลการส่งสินค้าผ่าน Shopping Cart

ใช้โอกาสนี้ในการ สื่อสารกับลูกค้าผ่าน Shopping Cart ว่าร้านมีบริษัทขนส่งเพื่อจัดส่งสินค้าช่วง COVID-19 ได้ทันทีในพื้นที่ที่อยู่ในเขตให้บริการ และถ้าสินค้าจัดส่งช้ากว่ากำหนด คุณควรแจ้งให้ลูกค้าทราบอย่างตรงไปตรงมาเช่นกัน เพราะปกติบริษัทขนส่งจะแจ้งเวลาจัดส่งสินค้า พื้นที่ที่จัดส่งสินค้าบนหน้าโฮมเพจหรือทาง eDM ซึ่งร้านควรให้ความสำคัญและติดตามข้อมูลอัพเดตจากบริษัทขนส่งอย่างใกล้ชิด และอัพเดตข้อมูลเหล่านั้นในร้านออนไลน์ของคุณเพื่อให้ลูกค้าคุณได้รับข้อมูลที่ตรงกัน

4.สร้าง Meta tag ข้อความบนเสิร์ชเอนจิ้น Google

กูเกิลเสิร์ชเป็นอีกช่องทางที่ดึงผู้สนใจให้เข้ามาเยี่ยมชมร้านค้าออนไลน์ ดังนั้น ถ้าเพิ่มข้อความใน Meta Tag ที่โชว์ในหน้าค้นหาของกูเกิล เช่น “พร้อมส่งช่วง COVID-19” วิธีนี้จะช่วยเพิ่มทราฟฟิกให้กับร้านออนไลน์ได้ เพราะผลลัพธ์การค้นหาสามารถตอบคำถามที่ลูกค้าส่วนใหญ่อยากรู้ในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ

5.สร้าง FAQ หรือคำถามที่พบบ่อย

ในสถานการณ์แบบนี้ย่อมมีคำถามมากมายจากลูกค้า ดังนั้นควรรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ที่หน้า FAQ

6.แจ้งข้อมูลการติดต่อ

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกค้าสามารถติดต่อร้านได้จากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะทางโทรศัพท์หรือโซเชียลมีเดีย หลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ทำให้ลูกค้าสับสนในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เพราะจะเป็นการทำลายความไว้วางใจของลูกค้า

7.สื่อสารลูกค้าผ่าน eDM หรือ E-Newsletter

เมื่ออัพเดตข้อมูลในร้านค้าออนไลน์และช่องทางการติดต่อต่าง ๆ แล้ว ควรทำการตลาดผ่าน eDM หรือ E-Newsletter เพราะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยอัพเดตข้อมูลอื่น ๆ ให้ลูกค้าปัจจุบันทราบว่าแบรนด์มีความเคลื่อนไหวอะไรบ้าง เช่น คุณสามารถอ้างอิงคำถามที่ทางร้านได้รับบ่อย ๆ ในช่วงโควิด-19 แสดงรูปภาพพนักงานที่กำลังทำงานในคลังสินค้า ข้อความรีวิวจากลูกค้าที่มีความรู้สึกดีกับการให้บริการของคุณ แชร์ข้อมูลการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็วและตรงเวลา ฯลฯ

8.ใช้โซเชียลมีเดียสร้างภาพจำให้แบรนด์หรือร้านค้า

ไม่ว่าร้านจะโพสต์รูปคลังสินค้าบนอินสตาแกรม ลงคลิปทีมงานที่กำลังตอบคำถามลูกค้าในเฟซบุ๊ก สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าที่มีต่อร้านของคุณ และความน่าเชื่อถือก็เป็นสิ่งที่ลูกค้าของคุณกำลังมองหาในช่วงเวลาแบบนี้ด้วย

Beautiful asian woman blogger is showing how to make up and use cosmetics. In front of the camera to recording vlog video live streaming at home.Business online influencer on social media concept.

ทั้งนี้ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ได้รวบรวม 6 สินค้าที่นิยมส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ได้แก่ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลร่างกาย ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาหารแห้ง ผลไม้แปรรูป และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน รวมถึงเอกสารที่สำคัญที่จำเป็นต้องส่งถึงมือผู้รับในต่างประเทศ