“ดีแทค” เจอพิษ COVID-19 ลูกค้าหาย 1 ล้านราย เหลือ 19.6 ล้าน

ดีแทค รายงานผลประกอบการประจำไตรมาส 1 ปี 2563 พบกำไรสุทธิ และรายได้จากการให้บริการ ไม่รวมค่า IC เติบโตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเป็น 1.53 หมื่นล้านบาท แต่รายได้ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยฐานลูกค้าลดลงเหลือ 19.6 ล้านราย จาก 20.6 ล้านราย

ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า

“ก่อนการเกิดวิกฤต COVID-19 การดำเนินงานของบริษัทฯ ยังสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของดีแทค โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยว ลูกค้าใหม่ และบริการข้ามแดนอัตโนมัติในต่างประเทศ นอกจากนี้ สัญญาณเริ่มต้นของเศรษฐกิจถดถอยกำลังส่งผลต่อการปรับตัวด้านพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้าทุกกลุ่ม”

ดีแทค ได้ดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงการใช้โอกาสนี้ในการเร่งรัดการพัฒนาช่องทางดิจิทัลทดแทน และยังคงสร้างความแข็งแกร่งทางด้านโครงข่ายการใช้งานรวมทั้งการพัฒนา 5G อย่างต่อเนื่อง

“ด้วยสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เราจะพยายามปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อให้ดีแทคสามารถทำหน้าที่ช่วยเหลือลูกค้าทุกคนเชื่อมต่อสื่อสารกับสิ่งที่สำคัญที่สุด”

ช่วงสิ้นไตรมาส 1 ดีแทค มีฐานลูกค้าจำนวนทั้งสิ้น 19.6 ล้านราย ลดลง 1 ล้านราย จากการลดลงของจำนวนลูกค้าในระบบเติมเงินเนื่องมาจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น และผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 รวมทั้งการลดลงของจำนวนผู้ใช้บริการในระบบรายเดือน เนื่องมาจากการปรับปรุงวิธีการรายงานจำนวนผู้ใช้บริการในระบบรายเดือนในไตรมาสนี้

เปิดตัวเลขผลประกอบการ

รายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมค่าไอซี) 1.53 หมื่นล้านบาท ลดลง 1.6% จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้น 2.6% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่รายได้จากค่าบริการหลัก ลดลง 0.9% จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้น 4.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของรายได้ระบบรายเดือน และการเติบโตของรายได้จากกลุ่มลูกค้าองค์กร

EBITDA ปรับตัวดีขึ้น 4.5% จากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวปรับตัวดีขึ้น 4.5% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร กำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1/63 มีมูลค่าทั้งสิ้น 1.5 พันล้านบาท ปรับตัวไปในทิศทางเดียวกับ EBITDA

แม้ในช่วงระยะเวลาอันใกล้จะมีความท้าทาย แต่เมื่อมองไปข้างหน้า ดีแทคมองเห็นโอกาส ซึ่งรวมถึงการกลับมาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและแรงงานต่างด้าว การลดลงของการย้ายค่ายของลูกค้าเพื่อให้ได้มาซึ่งแพ็กเกจที่ดีขึ้นและการขายที่คุณภาพไม่ดี

โอกาสในการบริหารจัดการเงินชดเชยค่าเครื่องโทรศัพท์ที่เหมาะสมมากขึ้น และการเพิ่มขึ้นของการใช้งานผ่านช่องทางบริการตนเองและช่องทางดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ด้วยความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบในระยะยาว

Source