โรบินสัน ผนึกกำลังรัฐฯ หนุนเศรษฐกิจชุมชน ดัน ‘ตลาดรวมใจ…ไทยช่วยไทย’ เปิดพื้นที่ขายสินค้าฟรี ช่วยคนไทยฝ่าโควิด สร้างรายได้ – สร้างอาชีพอย่างยั่งยืน

โรบินสัน ในเครือเซ็นทรัลรีเทล พร้อมผนึกกำลังภาครัฐ ดำเนินยุทธศาสตร์ Rebuild Thailand Rebuild Economy ตามนโยบายของกลุ่มเซ็นทรัล ร่วมฟื้นคืนเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ชุมชน SMEs และคนไทยอย่างยั่งยืน โดยเฟส 1 (มิ.ย.-ส.ค. 2563) สนับสนุนพื้นที่ให้เกษตรกร–ชุมชน นำสินค้ามาจำหน่ายกว่า 700 ครัวเรือน 17 จังหวัด คาดสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนรวมไม่ต่ำกว่า 8 ล้านบาท พร้อมลุยต่อเฟส 2 และช่องทางอีคอมเมิร์ซ ตอบรับกระแส New Normal  และเมื่อสิ้นสุดโครงการในเฟส 2 (สิ้นปี 2563) จะช่วยผลักดันให้มีรายได้สู่ชุมชน ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท และมีกลุ่มเกษตรกร-ชุมชน นำสินค้ามาจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 2,000 ครัวเรือน

นายสุรกิจ อารยรังษี  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายปฏิบัติการ บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลาดรวมใจ…ไทยช่วยไทย เป็นการผนึกกำลังของกลุ่มเซ็นทรัลและภาครัฐ ที่เล็งเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ในการช่วยสนับสนุนผู้ที่ได้รับได้รับผลกระทบจากโควิด โดยสำหรับโรบินสันได้ร่วมมือกับทางพาณิชย์จังหวัด และพัฒนาชุมชนจังหวัด  จัดกิจกรรม “ตลาดรวมใจ…ไทยช่วยไทย” ขึ้นในโรบินสัน 18 สาขา (รวม 17 จังหวัด ที่มีโรบินสันตั้งอยู่) สนับสนุนพื้นที่จำหน่ายสินค้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นช่องทางที่สร้างรายได้และมอบโอกาสให้ประชาชนได้มีอาชี  และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียนในแต่ละจังหวัด

สำหรับเฟสแรก เปิดตลาดที่ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2563 รวม 18 สาขา 17 จังหวัด ได้แก่

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ สุพรรณบุรี (มิ.ย. – 31 ส.ค. 2563)

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ ร้อยเอ็ด ทุกวันศุกร์–วันอาทิตย์ (มิ.ย.– 2 ส.ค. 2563)

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ ศรีสมาน ทุกวันศุกร์–วันอาทิตย์ (มิ.ย.– 31 ก.ค. 2563)

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ ปราจีนบุรี ทุกวันศุกร์–วันอาทิตย์ (มิ.ย.– 2 ส.ค. 2563)

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ มุกดาหาร (ก.ค. – ส.ค. 2563)

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ บุรีรัมย์ ทุกวันศุกร์ – วันอาทิตย์ (มิ.ย.– ส.ค. 2563)

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ ตรัง (มิ.ย. – ส.ค. 2563)

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ เพชรบุรี วันศุกร์–วันอาทิตย์ (มิ.ย. – ก.ค. 2563) **สัปดาห์ เว้น สัปดาห์**

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ สกลนคร วันศุกร์–วันอาทิตย์ (มิ.ย. – ก.ค. 2563)

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ ราชบุรี (มิ.ย. – ก.ค. 2563)

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ แม่สอด (มิ.ย. –  ส.ค. 2563)

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ ลพบุรี (มิ.ย. – ก.ค. 2563)

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ กำแพงเพชร วันศุกร์–วันอาทิตย์ (มิ.ย. – ก.ค. 2563)

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ ชลบุรี วันศุกร์–วันอาทิตย์ (มิ.ย. – ก.ค. 2563 )

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ ชัยภูมิ วันศุกร์–วันอาทิตย์ (มิ.ย. – ก.ค. 2563)

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ ลาดกระบัง (มิ.ย. – ก.ค. 2563 )

–        โรบินสันไลฟ์สไตล์ บ่อวิน (มิ.ย. – ก.ค. 2563)

–        และโรบินสันไลฟ์สไตล์ กาญจนบุรี (มิ.ย. – ก.ค. 2563) **ศุกร์–อาทิตย์ ต้นเดือนและปลายเดือน**)

ส่วนเฟสที่ 2 เราวางแผนจะขยายระยะเวลาไปจนถึงสิ้นปี และจะมีการเพิ่มจำนวนสาขาให้ครบ 24 จังหวัดที่มีโรบินสันไลฟ์สไตล์ตั้งอยู่ และนอกจากนี้ ในเฟสที่ 2 จะมีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าชุมชน และ SMEs ในช่องทาง e-commerce “โรบินสันออนไลน์” ด้วย เพื่อตอบรับกระแส New Normal และสร้างรายได้ สร้างอาชีพที่มั่นคงของเกษตรกร และผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิดในระยะยาว

สำหรับกลุ่มสินค้าที่จะเลือกมาจำหน่ายใน โรบินสันดอทคอม” ในเฟสที่สองนั้น จะเน้นการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจท้องถิ่น ประเภท งานหัตถกรรม งานฝืมือ งานช่างต่างๆ  เช่น เครื่องจักรสาน เฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งบ้านและสวน ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้ยังไม่มีจำหน่ายในโรบินสันดอทคอม ซึ่งสำหรับ SMEs ที่สนใจ สามารถติดต่อผ่านไปทางโรบินสันดอทคอมได้ ซึ่งในช่วงเริ่มต้น อาจจะต้องมีการทำงานร่วมกัน เกี่ยวกับเรื่องของมาตรฐานการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความร่วมสมัย  มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดดเด่น และมีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน  รวมถึงเรื่องของสต๊อกสินค้าและการจัดส่ง ก็จะต้องมีการควบคุมดูแลเพื่อสร้างมาตรฐานร่วมกันกับร้านค้าอีกครั้ง   ส่วนกลุ่มเกษตรกร หรือ SMEs ที่สนใจเข้าร่วมงาน “ตลาดรวมใจไทยช่วยไทย” ในโรบินสันไลฟ์สไตล์ ก็สามารถติดต่อไปยัง พาณิชย์จังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด เกษตรจังหวัด หรือ ติดต่อไปยังฝ่ายการตลาดของโรบินสันสาขาต่างๆ ที่ร่วมโครงการฯได้ หรือ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.centraltham.com/TaladRuamjai

ซึ่งเราคาดว่าการจัดกิจกรรม ตลาดรวมใจ…ไทยช่วยไทย ในพื้นที่ของโรบินสันไลฟ์สไตล์ ทั้งเฟส 1 และ เฟส 2 รวมถึงช่องทางอีคอมเมิร์ซ จะช่วยให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนในระยะยาว  และสามารถช่วยสนับสนุนเกษตรกร–ชุมชน ได้กว่า 2,000 ครัวเรือน และสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน ในชุมชนไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท