เศรษฐกิจ “ออสเตรเลีย” สะดุด COVID-19 เข้าสู่ภาวะ “ถดถอย” ครั้งแรกในรอบ 29 ปี

เศรษฐกิจของออสเตรเลียที่เติบโตมาต่อเนื่องเกือบ 3 ทศวรรษ มีอันต้องสะดุดเพราะพิษ COVID-19 นับว่าเป็นการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคครั้งแรก นับตั้งเเต่ปี 1991 หลังจีดีพีปีนี้หดตัว 2 ไตรมาสต่อกัน

สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไตรมาส 2 (ระหว่างเดือนเม.. ถึงมิ..) หดตัวลง 7%  ต่อจากไตรมาสเเรกที่หดตัว 0.3% ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคเป็นครั้งแรก หลังจากขยายตัวต่อเนื่องมาตลอด 29 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้ เศรษฐกิจออสเตรเลียเคยเเข็งเเกร่ง ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตใด ๆ แม้แต่วิกฤตการเงินโลก ในปี 2008-2009

โดยสถิติของจีดีพีในไตรมาส 2 ดังกล่าว ถือว่าหดตัวมากกว่าที่เคยประเมินไว้ว่าจะติดลบราว 5.9% ถือเป็นภาวะหดตัวของจีดีพีรายไตรมาสหนักหน่วงที่สุด ตั้งแต่ปี 1959

สาเหตุหลักๆ ที่สะเทือนเศรษฐกิจของออสเตรเลีย คือการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่รัฐบาลต้องบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ ทำให้เศรษฐกิจหดตัวมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ภาคครัวเรือนเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย การนำเข้าสินค้าลดลง 2.4% การส่งออกภาคบริการลดลงถึง 18.4% ขณะเดียวกัน ธุรกิจจำนวนมากต้องปิดกิจการ แม้ว่ารัฐบาลและธนาคารกลางจะมีมาตรการช่วยเหลือเเล้วก็ตาม นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังต้องเผชิญปัญหาภาวะแล้งยาวนานและไฟป่าครั้งใหญ่ด้วย

Gold Coast, Australia. (Photo by Chris Hyde/Getty Images)

ขณะที่อัตราการว่างงานในออสเตรเลีย พุ่งสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่าสองทศวรรษ ในช่วงการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยในเดือนมิ.อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจาก 7.1% เป็น 7.4% มีผู้ว่างงานเกือบ 1 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมดราว 25 ล้านคน ซึ่งถือเป็นอัตราว่างงานที่สูงที่สุดของประเทศ

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลคาดว่า เศรษฐกิจจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งในไตรมาส 3 เพราะเริ่มผ่อนคลายมาตรการจำกัดแล้ว เเต่ก็ต้องเจอกับการระบาดใหญ่ในเมืองเมลเบิร์น เมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศทำให้ภาคธุรกิจต่างๆต้องฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินไว้

อย่างไรก็ตาม เมื่อวัดกันตามตัวเลขจีดีพีเเล้ว นับว่าออสเตรเลียยังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจน้อยกว่าประเทศใหญ่ๆ อย่าง อังกฤษ ที่กำลังเผชิญกับ “ภาวะถดถอยทางเทคนิค” ครั้งเเรกในรอบ 11 ปีเช่นกัน หลังตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 2 หดตัวถึง 20.4%

การที่รัฐบาลอังกฤษบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ ระหว่างช่วงเดือน เม.. – มิ.ซึ่งถือว่า “ช้ากว่า” ประเทศอื่นในยุโรปที่ดำเนินการมาก่อนหน้า มีผลทำให้ในช่วงไตรมาส 2 อังกฤษกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจหนักที่สุดในยุโรป รุนแรงกว่าเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี 

ขณะที่จีดีพีของสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ติดลบมากถึง 32.9% ต่ำที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ด้านประเทศดาวรุ่งในอาเซียนอย่างสิงคโปร์ ตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 2 ก็หดตัวถึง 42.9% ส่วนเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 นั้นถดถอยที่ -12.2% แย่ที่สุดในรอบ 22 ปี 

 

ที่มา : BBC , AFP