SEAC รีเฟรมธุรกิจ รับมือหลังวิกฤต ปรับมุมคิดพลิกมุมมองด้วย Outward Mindset

 

  • วิกฤตเป็น “ตัวเร่ง” ให้ SEAC ต้องรีเฟรมแบบติดสปีด ปรับ Business Model เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
  • พร้อมลุยยุทธศาสตร์การเป็นผู้เล่นหลักใน Education Technology (EdTech) Ecosystem ในประเทศไทยและอาเซียน
  • เดินหน้า YourNextU เต็มแรงหลังเปิดตัวมาแล้ว 1 ปี อัดแน่นด้วย Essential Skills และ Technical Skills ที่เป็นที่ต้องการของตลาด
  • โชว์แนวความคิด “Outward Mindset” คือหัวใจหลักที่ SEAC และองค์กรชั้นนำอีกมากมาย ใช้เป็นเครื่องมือปลดล็อคเร่งสร้างความสำเร็จให้องค์กรหลังวิกฤต

ผลจากวิกฤตการณ์ช่วงที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าอนาคตเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยาก ไม่มีใครมีคำตอบแน่ชัด สิ่งที่ทำได้คือการโอบกอดความไม่แน่นอน แล้วปรับตัวให้ทัน จนอาจเรียกได้ว่าวิกฤตนี้เป็นเสมือน “ตัวเร่ง” ให้ SEAC (เอสอีเอซี) ต้องรีเฟรมแบบติดสปีด ปรับ Business Model เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมเรียนรู้จากเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามา เร่งมองหานวัตกรรมและกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงตามสภาวะการณ์อย่างทันท่วงที  ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าส่งเสริมให้คนไม่หยุดที่จะเรียนรู้ เพื่อเติมเต็มเป้าหมายในทุกมิติของชีวิต พร้อมชี้ชัดว่าหลังจากวิกฤตยิ่งเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนและองค์กรต้องเปลี่ยนแปลงไม่จำกัดแค่เฉพาะ “คนในองค์กร” แต่รวมถึง “คนในสังคม” ทั่วโลก

วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาส่งผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในภาครวมธุรกิจอย่างมาก มีทั้งธุรกิจที่ต้อง “ปิดตัว” และ “เกิดใหม่” ในทุกอุตสาหกรรม เกิดอัตราการว่างงานที่ไต่ระดับเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยมีสถิติชี้ว่า มีผู้ถูกเลิกจ้างสูงถึง 8.4 ล้านคน ไม่รวมกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรี – โท ที่กำลังเตรียมเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกกว่า 5.2 แสนคน ซึ่งอาจกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงว่างงาน ส่งผลให้เกิดการแย่งชิงตำแหน่งงานในตลาดอย่างเข้มข้นจนเกิดเป็นคำถามของทั้งองค์กรและนักศึกษาที่กำลังจะจบว่า “ทักษะที่เรียนมาพอเพียงต่อการทำงานหรือไม่ ทำให้ไปต่อได้หรือเปล่า?” ในขณะที่บางองค์กรที่ไม่มีนโยบายลดคน ก็จะมองว่าต้องติดสปีดในการพัฒนาคนที่ทำงานอยู่อย่างไรในช่วงนี้ เพื่อให้พวกเขาเป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าต่อ และไปได้ไกลกว่าเดิมเมื่อวิกฤตคลี่คลาย

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “สำหรับ SEAC กับช่วงวิกฤตการณ์ที่ผ่านมานี้ บริษัทฯ ก็ไม่หยุดยั้ง ในการพัฒนาและยกระดับศักยภาพของคนไทย ภายใต้พันธกิจ EMPOWER LIVES THROUGH LEARNING ที่เร่งสร้างทักษะผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อตอบทุกเป้าหมายของการใช้ชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบ ควบคู่กับการวางกลยุทธ์และโรดแมปในการรุกตลาดการเรียนรู้ผ่าน 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ Organizational and People Transformation  ที่ยังเน้นการให้คำปรึกษาและโซลูชั่นที่มีบริบทเฉพาะตัวเหมาะสมกับแต่ละองค์กรที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถสู่การแข่งขันในตลาดระดับสากลผ่านการพัฒนาผู้นำและบุคลากร Workforce Capability Development  คือ การเดินหน้า Reskill และ Upskill ทั้งเรื่องของวิธีคิด (Mindset) และทักษะที่จำเป็น (Skillset) ให้กับกลุ่มคนทำงานผ่าน YourNextU โมเดลการเรียนรู้แบบ Subscription รวมถึงพร้อมต่อยอดวิสัยทัศน์ให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต และบิสสิเนสโมเดลใหม่ตอบโจทย์ New Generation Capability Development ขยายธุรกิจ สู่กลุ่มเด็กและเยาวชน แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปสำหรับครั้งนี้คือ เรามีการรีเฟรม (Reframe) โมเดลธุรกิจรูปแบบการนำเสนอสินค้าและบริการ เพื่อให้สนองต่อสถานการณ์ ความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป”

นางอริญญา กล่าวต่อไปว่า “สำหรับช่วงวิกฤตกับการเข้ามาเป็นผู้เล่นหลักใน Education Technology (EdTech) Ecosystem ที่นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเรียน-การสอนของ SEAC เราพบว่า มี 3 เทรนด์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น 1. พฤติกรรมของลูกค้าสะท้อนภาพความต้องการเรียนรู้แบบ Just in Time Learning เพื่อนำไปใช้แบบ Just In Time หรือ รูปแบบการเรียนรู้ที่เรียนวันนี้ใช้วันถัดไปกันมากขึ้น หรือ เรียนตอนนี้ คืนนี้ เอาไปใช้พรุ่งนี้ได้เลย มุ่งเน้น How-to ที่ตอบสนอง Emergent Needs ของคนที่ต้องเผชิญกับรูปแบบธุรกิจ การบริการและการทำงานที่เปลี่ยนไปได้ทันที 2. การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นเป้าหมาย (Purpose-driven) เมื่อคนมองเห็นความไม่แน่นอน คนเริ่มมองไปไกลขึ้นว่า หากอยากจะทำอาชีพนี้ต่อ มีเป้าหมายด้านการทำงานแบบนี้ ต้องทรานส์ฟอร์มตัวเองอย่างไร ต้องอัพเกรดทักษะไหนบ้างเพื่อไปต่อในโลกใหม่ 3. การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Truly Blended) เพราะกลัวตนเองจะตกงานและสูญเสียรายได้ ทำให้การเรียนรู้มีมิติมากกว่าในอดีต ในช่วงที่มีการปิดเมืองจีน กว่า 70% ของประชากรในประเทศจีนตื่นตัวในการเรียนรู้และมองหาเรื่อง Blended Learning เช่นเดียวกันคือกว่า 68% ของคนในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ลุกขึ้นมาหาคอร์สพัฒนาทักษะเรียนรู้แบบผสมผสาน แบบที่คนไม่จำเป็นต้องนั่งเรียนออนไลน์อย่างเดียวแล้ว แต่ในวันนี้ มีแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่รวมรูปแบบการเรียนหลากหลายทั้ง ห้องเรียนเสมือนจริง แบบ Webinars ตลอดจนสามารถทำแบบประเมินวัดความเข้าใจออนไลน์ มีการโค้ชติวตัวต่อตัว ที่แม้จะอยู่บ้าน แต่ก็สามารถสัมผัสประสบการณ์การเรียนได้ไม่ต่างจากการไปเรียนในห้องเรียน เพราะในโลกดิจิตัล การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดแค่เรียนในห้องเรียนอีกต่อไปแล้ว แต่คนมองหาการเรียนรู้แบบ Multichannel และเข้าถึงรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายได้ที่ทำให้คนรู้สึกมีส่วนร่วมและสนุกไปกับการเรียนรู้”

“เทรนด์เหล่านี้คือโจทย์ที่ SEAC นำมา Reframe ธุรกิจ ยกตัวอย่างช่วง Lockdown เราเองก็ได้ยกห้องเรียนทั้งหมด ไปอยู่บนออนไลน์แพลตฟอร์มหรือการสอนแบบ “Virtual Classroom” ที่ยังเน้นเรื่องการกระตุ้นผู้เรียนให้เกิด Engagement และ Participation จนเกิดเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่การเรียนแบบ One-way ในภาพเดิมๆ พร้อมกันนี้เรายังได้คัดสรรหลักสูตร Essential Skills หรือ ทักษะที่จำเป็นและสอดคล้องกับความต้องการในสถานการณ์ปัจจุบัน จำนวนมากเข้ามาช่วย Reskill และ Upskill คนไทยให้เกิดความพร้อม เพื่อให้สามารถอยู่รอดท่ามกลางโลกปัจจุบัน โดยล่าสุด YourNextU มีหลักสูตรทั้งหมดมากกว่า 300 หลักสูตรจากการร่วมมือสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ”

นางสาวนิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล Executive Director SEAC กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในส่วนของเยาวชนไทย  SEAC ได้คำนึงถึงว่า EdTech มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา ดังนั้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการมีส่วนร่วมเรื่องการยกระดับการศึกษาไทย SEAC ได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำต่างๆ เพื่อศึกษาและวิจัยแนวทางในการพัฒนาทรัพยากร “คน” โดยใช้ YourNextU เป็นตัวนำร่องเพื่อ Reskill & Upskill เติมเต็มทักษะสำคัญ Essential Skills หรือ “กึ๋น” ในการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง สู่การยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถของคนไทยให้เทียบเท่าระดับสากล ส่วนหนึ่งคือการดำเนินการผ่าน General Education หรือ GenEd เพื่อสร้างคุณภาพของเยาวชนไทยให้สามารถปรับตัวต่อยุคปัจจุบันได้ทันท่วงที ไม่ว่าเยาวชนไทยจะวางแผนดำเนินธุรกิจของตัวเอง ทั้งสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี การรับช่วงต่อจากธุรกิจครอบครัว หรือการเข้าทำงานในองค์กรต่างๆ โดยปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับภาคการศึกษา เพื่อพัฒนาและยกระดับศักยภาพการศึกษาและคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ทั้งคนในองค์กร นักศึกษา นักวิจัย และคนทั่วไป (Non-Degree) ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งองค์กร Research University Network (RUN) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มนักวิจัยไทยจาก 8 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย และเร็วๆ นี้จะมีการร่วมมือกับอีกหลากหลายสถาบันทั่วประเทศ”

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าแนวคิดที่เข้ามาช่วยให้ SEAC ฝ่าฟันวิกฤต และกลับมองว่ายิ่งมีวิกฤต ยิ่งทำให้แข็งแกร่งได้นั้นเป็นเพราะ Outward Mindset ที่ช่วยทำให้พนักงานในองค์กรทุกคนร่วมกันผนึกกำลัง ร่วมกันทำงานแบบ Collaboration ต่างฝ่ายต่างยินดีให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน คือเป้าหมายขององค์กร ร่วมกันคิดค้นหาหนทางที่จะช่วยให้องค์กรเดินไปข้างหน้าได้ด้วยกัน เพื่อช่วยกันปลดล็อคศักยภาพที่มีอยู่และเปลี่ยนเป็นผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการได้อย่างยั่งยืน ซึ่ง Outward Mindset นี้เองเป็นแนวคิดที่หลากหลายองค์กรทั่วโลกได้ให้ความสนใจ และนำมาใช้ อาทิ Apple, IBM, Google, Harley-Davidson Motor Company, Nestle, Intel, Nokia, Panasonic, Nike, Unilever, Microsoft, FedEx, Boeing และ Shell เป็นต้น

ในประเทศไทย SEAC เป็นตัวแทนหนึ่งเดียวของสถาบัน Arbinger ในการนำเสนอโปรแกรม Outward Mindset โดยที่ผ่านมามีบริษัทชั้นนำให้ความสนใจจัดโปรแกรม Outward Mindset ให้กับบุคลากรภายในองค์กรของตนมากมาย  อาทิ ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท แอมเวย์  บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และบริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด

นางอริญญา กล่าวสรุปว่า “สิ่งที่ SEAC ได้เรียนรู้ในการทำธุรกิจช่วงวิกฤตคือการเปลี่ยนแปลง และความท้าทายเกิดขึ้นได้เสมอ ความท้าทายในระยะสั้น คือ การ Reframe ธุรกิจ จะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ในยุคนี้ได้ ในขณะที่ยังต้องคงไว้ซึ่งมาตรฐานและคุณภาพในเชิงหลักสูตร ที่ต้องตอบโจทย์ความต้องการและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไป ส่วนความท้าทายในระยะยาวคือการสร้าง Learning Mindset ให้เกิดในสังคมไทย การขยายเครือข่ายความร่วมมือสร้าง Ecosystem ทางด้านการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นจริง มีการบูรณาการความสามารถของภาครัฐ และภาคเอกชนเพื่อประโยชน์ในการยกระดับความรู้ ความสามารถของคนไทย Upskill และ Reskill ให้ทัดเทียมระดับสากล”