“อัลตร้าบุ๊ก” มาช้าดีกว่าไม่มา

ความแรงของ “แท็บเล็ต” ทำให้ “โน้ตบุ๊ก” ถูกแย่งความสนใจจากลูกค้าไปไม่น้อย ทำให้ผู้เล่นหลักในตลาดนี้คือ “อินเทล” ผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์รายใหญ่ ที่ตกขบวนชิปในแท็บเล็ต ยังไม่ยอมแพ้ ได้พยายามหาทางรอดด้วยสินค้าใหม่ล่าสุดคือ “อัลตร้าบุ๊ก” ที่ “อินเทล” ออกแรงมากที่สุดนับตั้งแต่ทำตลาด “เซนทริโอ” เมื่อ 8 ปีที่แล้ว

แต่คำถามมีมากมายสำหรับ “อัลตร้าบุ๊ก” ตั้งแต่ สินค้าดี น่าสนใจ มีความใหม่ แต่มาถูกจังหวะ เวลา และราคานั้นใช่ในสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการหรือไม่ และที่สำคัญ “แท็บเล็ต” ไม่ได้หยุดอยู่กับที่

นี่คือความท้าทายว่า “อินเทล” และพันธมิตรค่ายผู้ผลิตโน้ตบุ๊กจะสำเร็จตามเป้าหมายหรือแค่ซื้อเวลาเท่านั้น เพราะบทเรียนที่ผ่านมามีแล้ว เมื่อช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากับความพยายามทำตลาด “เน็ตบุ๊ก” แต่ความแรงของ “ไอแพด” และ “แท็บเล็ตกลุ่มแอนดรอยด์” ก็ได้ฆ่า “เน็ตบุ๊ก” จนตายสนิทไปแล้ว

เป้าหมายของอินเทลตั้งไว้สูง คือทำให้ “อัลตร้าบุ๊ก” มีส่วนแบ่งในตลาดโน้ตบุ๊กทั่วโลกถึง 40% ในปี 2011 โดยดึงกลุ่มที่ตั้งใจซื้อ “แท็บเล็ต” ให้มาถือ “อัลตร้าบุ๊ก” แทน แน่นอนว่าเป้าหมายนี้อินเทลในประเทศไทยก็ต้องไปให้ถึง

 

4 ปฎิบัติการ “อัลตร้าบุ๊ก” บุกไทย

“สนธิญา หนูจีนเส้ง”  ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย ) จำกัด เล่าถึง 4 ปฎิบัติการเพื่อทำให้ “อัลตร้าบุ๊ก” เข้าไปอยู่ในใจของกลุ่มเป้าหมายในไทยให้ได้ ดังนี้ 

1.อินเทลได้ร่วมกับพันธมิตรผู้ผลิตโน้ตบุ๊ก อย่างเช่นกับ “เอเซอร์” ที่เปิดตัวเป็นแบรนด์แรก เป็นการทำงานอย่างใกล้ชิด โดยให้ความรู้กับพนักงานขาย สนับสนุนมาร์เก็ตติ้งแคมเปญ  

2.ผู้จัดจำหน่ายของอินเทลเอง เช่น ไอทีซิตี้ ที่ทำเครื่องมือช่วยขาย ดึงความสนใจกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาในร้าน เน้นการทำความเข้าใจกับเจ้าของร้าน เจ้าหน้าที่ในร้าน พนักงานขายในร้าน ด้วยข้อความทางการตลาดที่เน้นย้ำกับกลุ่มเป้าหมายว่าทำไมเขาต้องใช้ “อัลตร้าบุ๊ก”

3.การสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมาย จะเน้นที่ร้าน ณ จุดขายมากกว่าการทำ Above the line มี Experience Zone เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กลุ่มเป้าหมายได้ลองใช้งาน ลองเล่น โดยจะมีงานใหญ่คืองานคอมมาร์ต ที่อินเทลลงทุนเพื่อสร้างการรับรู้และประสบการณ์ให้กลุ่มเป้าหมาย

4.การสนับสนุนงบเพื่อให้พันธมิตรผู้ผลิตพัฒนาอุปกรณ์ตัวเครื่องได้ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด อย่างล่าสุดลงทุนเพิ่ม 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการพัฒนาแบตเตอรี่ และตัวเครื่องให้ใช้งานได้นานและบางเบามากที่สุด

 

ราคาลด -Mainstream ถึงเพิ่ม

เสียงวิจารณ์เรื่องราคาที่ “อินเทล” กำหนดไว้ให้ผู้ผลิตโน้ตบุ๊กต้องขายไม่เกิน 1,000 เหรียญสหรัฐ หรือไม่เกิน 30,000 บาท จะเป็นอุปสรรคของ “อัลตร้าบุ๊ก” ในการทำยอดขายในช่วงแรก แต่ “สนธิญา” บอกว่าในปี 2012 เมื่อมียอดผลิตมากขึ้น เข้าสู่เฟสที่สองของอัลตร้าบุ๊กจะทำให้ราคาลดลง อยู่ในระดับ 20,000 บาทต้นๆ ซึ่งเป็นราคาที่กลุ่ม Mainstream ในไทยยอมซื้อ

ด้วยคุณสมบัติที่ “อินเทล” เชื่อว่าจากดีไซน์ที่ลูกค้ารู้สึกว่าต้องมีไว้ และคุณสมบัติความเป็นไฮบริดระหว่าง “แท็บเล็ต” และ “โน้ตบุ๊ก”

ทั้งหมดนี้ตอบโจทย์ที่ “อินเทล” มีข้อมูล Consumer Insight ว่าลูกค้านั้นต้องการอะไร ซึ่ง “สนธิญา” บอกว่าสิ่งที่พบคือ ลูกค้าต้องการประสบการณ์เรื่องคุณภาพของสินค้า เรื่องความง่ายในการใช้งาน ที่ไม่ต้องเปิดคู่มือก็สามารถใช้งานได้  และเป็นสินค้าที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย หรืออุปกรณ์ที่ต้องมี เป็น Emotional Personal Collection นี่คือความเปลี่ยนแปลงของวงการ จากอดีตที่สินค้าจะออกแบบมาจากความสามารถของเทคโนโลยี นำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้าในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่อัลตร้าบุ๊กเริ่มต้นจากความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง

นี่คือผลที่ทำให้ “สนธิญา” มั่นใจว่าในปีหน้า “อัลตร้าบุ๊ก” จะมีส่วนแบ่งในตลาด “โน้ตบุ๊ก” 40% และเมื่อราคาลดลง ถูกใจกลุ่ม Mainstream จะมีส่วนแบ่งถึง 70% ตามสัดส่วน “โน้ตบุ๊ก” ในระดับราคาเกือบ 20,000 บาทในปัจจุบัน

 

คนลังเลซื้อ “แท็บเล็ต” สูงกว่า “อัลตร้าบุ๊ก”

แม้จะมีเสียงวิจารณ์ว่าแท็บเล็ตกระแสแรงมาก แต่สิ่งที่ “อินเทล” พบคือ ปัจจุบันอัตราการเติบโตของ “แท็บเล็ต” ไม่เร็วเท่าไรนัก เพราะถึงอย่างไรคนซื้ออุปกรณ์ไอทีเครื่องแรก ก็ยังเลือกที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ก่อน จึงทำให้ “โน้ตบุ๊ก” ในไทยยังเติบโตในระดับ 20-30% ต่อปี นี่เป็นโอกาสของ “อัลตร้าบุ๊ก” ที่จะรักษาตลาดให้ “โน้ตบุ๊ก” แม้ “แท็บเล็ต” จะเติบโตสูงกว่า แต่ก็เป็นเพราะ “แท็บเล็ต” เพิ่งมา และฐานเดิมยังน้อยอยู่

พฤติกรรมผู้บริโภคที่พบคือถ้าจะซื้อ “โน้ตบุ๊ก” เป็นอุปกรณ์ไอทีเครื่องแรกจะไม่มีใครลังเล แต่ถ้าคิดจะซื้อ “แท็บเล็ต” เป็นเครื่องแรกจะลังเล ส่วนใหญ่ “แท็บเล็ต” จึงเป็นอุปกรณ์เครื่องที่สองมากกว่า โดยเฉพาะผู้บริโภคไทยที่รายได้ไม่สูงเมื่อเทียบกับราคาสินค้าไอที และเทียบกับรายได้ของผู้บริโภคในประเทศที่พัฒนาแล้ว แม้ราคาคอมพิวเตอร์จะลดลงเรื่อยๆ แล้วก็ตาม 

นี่คือครั้งสำคัญที่ “สนธิญา” เองก็บอกว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในการใช้คอมพิวเตอร์ของเขาตั้งแต่รุ่นเก่า แล็บท็อป จนมาถึงเซนทริโน่ ที่ทำให้การใช้ “โน้ตบุ๊ก” ทำงานระหว่างเคลื่อนที่ได้ แต่ “อัลตร้าบุ๊ก” คือสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคถือเครื่องเดียวก็ใช้งานได้หลายอย่าง 

เช่นเดียวกับการทำหน้าที่ของเขาที่เปลี่ยนไป จากเมื่อก่อนที่ต้องแปลเทคโนโลยีให้เป็นคำพูดง่ายๆ ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจ แต่ “อัลตร้าบุ๊ก” มาด้วยข้อความทางการตลาดที่เป็นความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง 

สิ่งที่เปลี่ยนไปในช่วง 11 ปีหลังนี้ ผู้บริโภคไม่ได้สนใจว่าเป็นเทคโนโลยีอะไร แต่ขอให้ใช้งานได้ตามที่ตัวเองต้องการ ทั้งการทำงาน อัพเดตข้อมูล เข้าโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค มีความต้องการเปลี่ยนไปจากการใช้เพื่อทำงาน แต่ตอนนี้ใช้เพื่อส่วนตัว ความบันเทิงด้วย ความเปลี่ยนแปลงนี้จึงทำให้ผู้ขายต้องปรับตัวตลอดเวลา

ความทุ่มเทรอบนี้ของ “อินเทล” กับ “อัลตร้าบุ๊ก” ณ ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงเทกออฟ ที่ยังดูไม่ต่างจากสิ่งที่มีอยู่แล้วในตลาดอย่าง “แม็คบุ๊กแอร์” ของแอปเปิล หรือ “โน้ตบุ๊ก” แบบบางเบาที่หลายแบรนด์พยายามทำตลาดอยู่ แม้จะมีเสียงวิจารณ์ว่าการรุกครั้งนี้ไม่ได้เรียกเสียงซี้ดจากกลุ่มเป้าหมายเท่าไหร่นัก แต่สำหรับ “อินเทล” แล้ว  การเริ่มทำแบรนด์ให้คนรู้จักก่อน ถือว่ายังดีกว่าไม่ทำอะไร เพื่อที่ว่าเมื่อถึง ปี 2013 ที่ “อัลตร้าบุ๊ก” รุ่นสมบูรณ์แบบออกมาทำตลาด จะได้เสียงฮือฮาที่ดังกว่าเดิม

ถ้าไม่เปลี่ยนชื่ออาจไม่เกิด

“อัลตร้าบุ๊ก” เป็นกลยุทธ์การใช้ชื่อใหม่ของ “อินเทล” เพื่อทำใหผู้บริโภครู้ว่าเป็นของใหม่ มากกว่าที่จะพูดว่า “โน้ตบุ๊ก” บางเบา  ทำให้ผู้บริโภคสนใจ สะดุดได้เร็วที่สุด เหมือนที่เคยใช้ชื่อจากเดิม “แล็บท็อป” ที่เป็นเครื่องขนาดใหญ่ จนมีขนาดเล็กลงเรียก “โน้ตบุ๊ก” และ “เน็ตบุ๊ก” 

Consumer Insight อัลตร้าบุ๊ก :

– Emotional Personal Collection

– ประสบการณ์ที่มีคุณภาพ

– ใช้งานง่าย ไม่ต้องมีคู่มือ

Positioning แท็บเล็ต-โน้ตบุ๊ค-อัลตร้าบุ๊ค  

– โน้ตบุ๊ค สำหรับใช้ทำงาน และไม่อยากจ่ายแพง หรือไม่เกิน 2 หมื่นในปัจจุบัน

– อัลตร้าบุ๊ค ทำงานและการใช้งานเพื่อความบันเทิงส่วนตัว พร้อมจ่ายเกือบ 3 หมื่นในปัจจุบัน

– แท็บเล็ต เพื่อความบันเทิง 

รายได้คนไทย

รายได้โดยเฉลี่ยของคนไทยปัจจุบัน ต้องใช้เวลาทำงาน 5 สัปดาห์จึงจะซื้อคอมพิวเตอร์ได้ 1 เครื่อง จาก 5 ปีที่แล้ว ต้องใช้เวลา 12-13 สัปดาห์ เนื่องจากราคาคอมพิวเตอร์ลดลงต่อเนื่องเฉลี่ย 10- 20% และรายได้ประชากรสูงขึ้น

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>แบรนด์ที่เปิดตัวในไทยปี 2011

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>แบรนด์

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>เปิดตัว

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>กลุ่มเป้าหมาย

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>ราคา
(บาท)
เอเซอร์ S3 7 ตุลาคม Geek Trend
Setter 27,900 โตชิบา
Portege Z830 8 ธันวาคม นักธุรกิจ
กลุ่มไฮเอนด์ 42,900 เอชพี Foloio 22 ธันวาคม ลูกค้าองค์กร 39,990

 

ปี 2011 เจนเนอเรชั่นแรก โน้ตบุ๊กขนาดบาง 

– ชิปรหัส Sandy Bridge 

– แบตเตอรี่ใช้งานได้นาน 5-8 ชั่วโมง

– เปิดเครื่องเร็ว

– ความหนาของเครื่องน้อยกว่า 20 มิลลิเมตร

– น้ำหนักน้อยกว่า 1.4 กิโลกรัม

– ราคาสำหรับ Mainstream ต่ำกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐ

 

ปี 2012 (ครึ่งปีแรกของปี) เจนเนอเรชั่นที่สอง

– ชิปรหัส Ivy Bridge (เทคโนโลยีขนาด 22 นาโนเมตร)

– แบตเตอรี่ใช้งานได้นานขึ้น

– ระบบความปลอดภัยและความเร็วในการโอนข้อมูลดีกว่าเดิม

– ตั้งเป้าหมายเป็นจอสัมผัส ถอดจอออกเป็นแท็บเล็ต และใช้แบตเตอรี่ได้ทั้งวัน และเปิดทันที

 

ปี 2013 เจนเนอเรชั่นที่สาม

– ชิปขนาดเล็กภายใต้รหัส Haswell ที่อินเทลออกแบบให้ใช้พลังงานน้อยลงลงครึ่งหนึ่งจากปัจจุบัน

– เป็นอัลตร้าบุ๊กที่สมบูรณ์แบบที่อินเทลตั้งใจให้ล้ำเข้าไปในตลาดสมาร์ทโฟน แท็บแล็ตที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ว่าเมื่อต้องการแท็บแล็ต อัลตร้าบุ๊กก็ใช่ต้องกา่รพีซีก็ใช่อีก

– การใช้ท่าทางสีหน้าสั่งการทำงานผ่านกล้อง ใช้พลังงานลดลง