ถึงจะ Shop Online แต่ขอจ่ายเงินกับมือ

“พฤติกรรมช้อปปิ้งออนไลน์ของคนไทย เน้นเรื่องความปลอดภัยในการชำระเงินมาก” อลิสเตอร์ เทย์เลอร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด กล่าวถึงลักษณะของคนไทยที่เป็นกังวลมากกับการทำธุรกิจออนไลน์ เป็นข้อมูลจากการที่ท็อปส์ ได้จากการทดลองเปิดให้บริการช้อปปิ้งออนไลน์มานาน 2 ปีก่อนจะเปิดระบบช้อปปิ้งออนไลน์อย่าเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา

แต่ไม่ว่าระบบช้อปปิ้งออนไลน์จะพัฒนาและสร้างความมั่นใจในการจ่ายเงินมากขนาดไหน หรือเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศที่ใช้กันเป็นเรื่องปกติ (ชมคลิป Tops Shop Online) แต่สำหรับเมืองไทย การจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านระบบออนไลน์เมื่อตัดสินใจซื้อสินค้ายังเป็นเรื่องลังเล

“ตอนนี้คนที่ช้อปออนไลน์เลือกที่จะจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตกับพนักงานเมื่อสินค้าไปส่งถึงบ้าน 75% ที่เหลือ 25% จ่ายผ่านออนไลน์” อลิสเตอร์ชี้ให้เห็นตัวเลขที่แตกต่าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้จะวางระบบช้อปปิ้งออนไลน์ดีอย่างไร แต่ท็อปส์ก็ต้องโพรไวด์ระบบจ่ายเงินที่ผู้บริโภครู้สึกสบายใจที่สุดให้ด้วย นอกจากบัตรเครดิตผู้บริโภคสามารถจ่ายเป็นเงินสดเมื่อซื้อสินค้าไปก็ได้เช่นกัน 

บริการ Tops Shop Online แบ่งเป็นการให้บริการช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทางเว็บไซต์ tops.co.th และผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android เพื่อหวังจะให้การช้อปปิ้งเป็นกิจกรรมที่เข้าไปแทรกซึมอยู่ในทุกช่วงเวลาของชีวิต และให้ผู้บริโภคช้อปปิ้งได้ทันทีที่ต้องการ ทุกระบบที่ให้บริการออนไลน์เป็นอินเตอร์แอคทีฟที่ผู้บริโภคสามารถฟีดแบ็กกลับไปที่ท็อปส์ได้ รวมทั้งเมื่อสั่งซื้อและเลือกเวลาส่งไว้แล้วก็จะมีพนักงานท็อปส์โทรกลับไปคอนเฟิร์มอีกครั้งก่อนจัดส่ง

ที่ขาดไม่ได้คือการมีเฟซบุ๊กช่วยขาย เป็นทั้งคอมมูนิตี้ให้กับกลุ่มลูกค้าท็อปส์ด้วยกันเอง เพื่อคอยแนะนำแลกเปลี่ยนและแชร์ข้อมูลสินค้าที่ช้อป โดยเฉพาะการแบ่งปันรายการหรือแชร์บาร์โค้ดให้เพื่อนช้อปให้สะดวกขึ้น ตอนนี้มีเฟซบุ๊กท็อปส์มีแฟนประมาณ 17,000 คน และมีจำนวนคนกดไลค์เพิ่มขึ้นประมาณ 20% ต่อเดือน

การช้อปปิ้งออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าช้อปที่บ้านของช้อปครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างจุดขายใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหาจุดอ่อนของท็อปส์ลงด้วย เพราะค้าปลีกต้องอยู่ใกล้ลูกค้าให้มากที่สุด เหมือนที่เซเว่นประสบความสำเร็จทุกวันนี้เพราะเข้าไปใกล้จนลูกค้าชนิดเดินไม่กี่ก้าวก็หาเจอ

ก่อนจะขยายและเพิ่มสาขาท็อปส์เดลี่ ซึ่งยังคงยึดโพสิชั่นนิ่งความเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็กโดยยืนยันว่าท็อปส์ไม่ใช่ร้านสะดวกซื้อ ท็อปส์เคยวางโพสิชั่นนิ่งเป็นค้าปลีกขนาดกลาง ที่มีแค่ซูเปอร์มาร์เก็ตธรรมดา ซึ่งในยุคหนึ่งท็อปส์เองก็เคยตั้งคำถามกับตัวเองว่า “แล้วจะอยู่รอดได้อย่างไร”

วิธีแก้ของท็อปส์ตอนนั้นคือ ทำอย่างไรให้ลูกค้าเพิ่มการช้อปปิ้งกับท็อปส์เพิ่มขึ้น เริ่มจากสปอต รีวอร์ด การ์ด ที่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2549 วันที่ท็อปส์มีแค่ 48 สาขา 

วันนี้แม้ท็อปส์จะขยายสาขาเท่าไร โดยเฉพาะการขยายสาขาจำนวนมากจากท็อปส์เดลี่ แต่ก็ยังเทียบไม่ได้กับจำนวนสาขาของเซเว่นที่มีเกือบ 7,000 แห่ง การเปิดตัวช้อปปิ้งออนไลน์อย่างเป็นทางการครั้งนี้จึงเหมือนท็อปส์เริ่มมีความหวังใหม่จากโอกาสที่สร้างขึ้นก่อนใคร เพราะเชื่อว่านี่คือระบบการช้อปที่อยู่ติดกับตัวลูกค้าตลอดเวลา ไม่รู้จะทำอะไรอยากจะช้อปเมื่อไรก็ทำได้ทันที

ท็อปส์ ลงทุนพัฒนาระบบรองรับการช้อปปิ้งออนไลน์ไปทั้งสิ้น 7 ล้านบาท ขณะที่มีงบสำหรับการขยายสาขารูปแบบต่าง ๆ รวม 350-400 ล้านบาทในปีนี้ โดยมีเป้าหมายว่าภายในสิ้นปี 2555 ท็อปส์จะมีสาขารวมทั้งสิ้นจำนวน 250 สาขา 7 เดือนที่ผ่านมาเปิดไปแล้ว 11 จากสาขา ณ สิ้นปี 2554 จำนวน 211 สาขา แบ่งเป็น เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ 7 สาขา ท็อปส์ มาร์เก็ต 41 สาขา ท็อปส์ ซูเปอร์ 52 สาขา ท็อปส์ เดลี่ 111 สาขา

งานนี้ไม่รู้เซเว่นว่าอย่างไร เพราะถึงท็อปส์จะสาขาน้อยกว่า แต่การเข้าถึงผู้ใช้อินเตอร์ซึ่งมีจำนวนถึง 24% จากประชากรทั้งประเทศ ก็เหมือนกับมีสาขาที่พร้อมให้คน “Click ถึง” ได้ทุกเวลา เห็นทีความใกล้ของค้าปลีกยุคใหม่ต้องวัดกันเป็นวินาทีเสียแล้วสำหรับโลกยุคนี้

 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

Tops by
Number สมาชิกสปอตรีวอร์การ์ด
(ลอยัลตี้การ์ดของท็อปส์) 5.2 ล้านราย
(รวมวันการ์ดของเครือเซ็นทรัลประมาณ 9 ล้าน) มีความถี่ในการซื้อทุกเดือนประมาณ

85% สินค้าในฟู้ดฮอลล์ 50,000 SKU ขึ้นไป สินค้าในท็อปส์เดลี่ 3,500 SKU สินค้าในออนไลน์ 10,000 SKU (เพิ่มจาก 5,000
SKUในช่วงทดลอง)

style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>

รูปแบบการจ่ายเงินของผู้ช้อปออนไลน์

75%
จ่ายด้วยบัตรเครดิตเมื่อสินค้าไปส่งถึงบ้าน 25%
จ่ายเงินออนไลน์ ผู้ซื้อออนไลน์เป็นสมาชิกสปอตรีวอร์ดการ์ด 97% ยอดขายออนไลน์เฉลี่ย 8 แสนต่อเดือน คาดว่าจะเพิ่มเป็น
2.5 ล้านต่อเดือนหลังเปิดตัว ยอดซื้อออนไลน์ 2,500 บาทต่อบิล (1,500
บาทขึ้นไปส่งฟรีใน 24 ชม.ไม่ถึงคิด 150บาท) ยอดซื้อเฉลี่ยของฟู้ดฮอลล์

2,500-2,000 บาทต่อบิล ยอดซื้อเฉลี่ยของท็อปส์เดลี่ 200 บาทต่อบิล สิ้นปีนี้คาดว่าจะมีส่วนแบ่งยอดขายจากออนไลน 3-5%